เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพ

โดย : นางสาวรุ่งทิพย์ ฟองโหย ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-25-16:11:09

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 

ประเทศไทย  4.0 หรือ Thailand 4.0 คือ วิสัยทัศน์เชิงนโยบายเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนไปด้วยนวัตกรรม  Thailand 4.0 เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี         ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็น ประชารัฐที่ผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”เป็นแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพื่อให้ประเทศสามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามในศตวรรษที่ 21 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)    ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้าง ความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล่ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนด นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 1 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้าง โอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับ ล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชน เข้มแข็ง และกระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้          กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ ในปี 2560  

กรมการพัฒนาชุมชน ได้มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้ชุมชนมีรายได้ เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ  และให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพ นำไปสู่การสร้างรายได้  โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ  ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง ต่อไป รวมทั้งได้   ดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบูรณาการ ความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการ ขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและ ซึ่งจังหวัดตรัง มีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน  266 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 10 อำเภอ

ในบทบาทของนักวิชาการพัฒนาชุมชน จะต้องส่งเสริมสนับสนุน ติดตามการดำเนินงานตามโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือน สัมมาชีพได้มีโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้” รวมทั้งทำให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน และสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์ของการสร้างสัมมาชีพบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ในการส่งเสริมการ สร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

1. เตรียมการความพร้อมในการดำเนินงานโดยให้อำเภอดำเนินการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการ สำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

2 แจ้งอำเภอดำเนินการคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการฝึกอบรมเป็น วิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน (ครูใหญ่) และให้ปราชญ์เข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการ

 3 วางแผนการดำเนินงานโดยการศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนและแจ้งอำเภอเตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชนเพื่อดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

 ๔. ร่วมดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชนและสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชนระดับหมู่บ้าน         โดย “ครูใหญ่” ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ และจัดทีม วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตาม ครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ  ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”  รวมทั้งให้หมู่บ้านเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทาง สัมมาชีพชุมชน โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบปะสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือน เป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรมทั้ง  20 คน

 5. ร่วมดำเนินงานสนับสนุนโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุน การส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพ

6.  ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน  โดยให้ปราชญ์ถอดบทเรียนองค์ความรู้ที่ประสบผลสำเร็จ 1 เรื่อง  ส่งให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การคัดเลือกผู้นำวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นผู้นำมีจิตอาสา มี ความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ เป็นปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จ หรือเชี่ยวชาญในอาชีพ และได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน

2. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่และรับผิดชอบการดำเนินการ      ตามโครงการใน ทุกขั้นตอน ประกอบกับผู้นำชุมชนให้การเอาใจใส่ และให้ความสำคัญการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน

 3. อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเองบนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับ กับทุนที่มีในชุมชน รวมทั้ง การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ที่สมัครใจมีความพร้อม และความตั้งใจจริงใน การฝึกอาชีพ

อุปกรณ์ ->

 1. ความพร้อมของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ต้องศึกษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชน ตามคู่มือแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปดำเนินการในระดับพื้นที่ให้ เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน และติดตามให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำในระยะแรกอย่างใกล้ชิด

 2. การคัดเลือกปราชญ์ชุมชน ต้องเป็นปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และคนใน ชุมชนสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเป็นอาชีพได้

 3. การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน ต้องสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพ ให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง

 4. ใช้กระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” และยึดหลักการทรงงาน “ระเบิดจากข้างใน” และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านกันเองในสิ่งที่เขาอยากรู้ในสิ่งที่เขาต้องการและ อยากจะทำ ลงมือปฏิบัติเอง โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา