เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

แนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายจำรูญ เต็มสังข์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-18-17:12:15

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 311 หมู่ที่ 4 ตำบลอ่าวตง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การประกอบอาชีพของประชาชนภาคเกษตรในชุมชนมีภาวะเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพแบบดั่งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ   การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวเป็นกลุ่มค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องย้ายไปประกอบอาชีพในเมืองและมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่างๆอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นไปทำตามให้สำเร็จได้   การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ที่มุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพเพื่อแก้ปัญหาของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางการเงิน ให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ และเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ จะเป็นทุนหมุนเวียนในชุมชน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินโครงการ สัมมาชีพชุมชน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และ  เท่าเทียมกันอันจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมประชาชนพึ่งตนเองมีรายได้ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

๑. เข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

                    ๒. เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับจังหวัด

                    ๓. คัดเลือกทีมวิทยากรปราชญ์ชุมชนเพิ่ม   4  คน

๔. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพ

ชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพ ให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. จัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

                    6. ประสานการคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ จำนวนหมู่บ้านละ 20 คน (ครัวเรือนละ 1 คน) เพื่อประกอบอาชีพนั้นให้เกิดรายได้                        

7. ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

8. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      ความร่วมมือและความพร้อมของวิทยากรปราชญ์ชุมชน

2.      ความพร้อมของครัวเรือนสัมมาชีพ

3.      ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

4.      อาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

อุปกรณ์ ->

1.      อาชีพที่ดำเนินการ ต้องสอดคล้องกับบริบทของหมู่บ้าน

2.      ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย

3.      งบประมาณที่จัดสรร ครัวเรือนละ 800 บาท หมู่บ้านละ 16,000 บาท น้อยเกินไป

4.      การดำเนินการในระบบกลุ่มอาจมีความเสี่ยงสูง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา