เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายปุญยวัฒน์ หนูเกื้อ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-22-15:01:38

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรัษฎา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สัมมาชีพ หมายถึง อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากินเป็นทำมาค้าขาย โดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือ ความสุขของตนและคนทำงาน รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้รับบริการเป็นหลัก  ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง  ตามที่รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติพร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ในหมู่บ้านได้มีการทอดถ่ายให้คนรุ่นหลังและราษฎรผู้สนใจให้คงอยู่กับหมู่บ้านตลอดไป ให้ฐานะที่ตัวเองเป็นพัฒนากรซึ่งมีจุดมุ่งหมายต้องการให้ชุมชนมีการพัฒนาและสามารถพึ่งตนองได้อย่างยั่งยืน กอปรกับกรมการพัฒนาชุมชนได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการลดวามเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ

วัตถุประสงค์ ->

1.      เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน

2.      คัดเลือกปราชญ์ชุมชนผู้มีความรู้ในด้านอาชีพในชุมชน

3.      สร้างความเข้าใจปราชญ์ชุมชนและสมาชิกสัมมาชีพชุมชน

4.      ดำเนินการตามแผน และติดตาม ประเมินผล

 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      องค์ความรู้และความตั้งใจของปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพชุมน

2.      ความมุ่งมั่นของสมาชิกและอาชีพที่จะก่อให้เกิดรายได้

3.      เทคนิคการดำเนินงานพร้อมแนวทางที่เป็นไปได้

4.      ความเกื้อกูล ความเสียสละ ความพยายาม และความตั้งใจ ความโปร่งใส่ ความรักความสามัคคีการเห็นอกเห็นใจ ความมุ่งมั่นของสมาชิกสัมมาชีพ

อุปกรณ์ ->

การใช้คำพูดในการถ่ายทอดต้องเข้าใจง่าย และกิจกรรมต่าง ๆ ต้องทำกันอย่างต่อเนื่อง มีความเสียสละ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความอดทน กลุ่มจึงสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา