เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวมัชฌิมา โอฬารวิจิตรวงศ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-22-14:56:29

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรัษฎา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

“...การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัว ให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้โดยแน่นอน ส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ เพราะหากไม่กระทำด้วยความระมัดระวัง ย่อมจะหวังผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้โดยยาก ยกตัวอย่างเช่นการปราบศัตรูพืชถ้าทุ่มเททำไปโดยไม่มีจังหวะที่ถูกต้อง และโดยมิได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้กระจ่างชัดอย่างทั่วถึงก็อาจสิ้นเปลืองแรงงาน ทุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์ ที่ล้วนมีราคาไปโดยได้รับผลไม่คุ้มค่า ยิ่งกว่านั้นการทำลายศัตรูพืช ยังอาจทำลายศัตรูของพืชที่มีอยู่บ้างแล้วตามธรรมชาติ และทำอันตรายแก่ชีวิตคนชีวิตสัตว์เลี้ยงอีกด้วย การพัฒนาอย่างถูกต้อง ซึ่งหวังผลอันยั่งยืนไพศาล จึงต้องวางแผนงานเป็นลำดับขั้นอย่างถี่ถ้วนทั่วถึง ให้องค์ประกอบของแผนงานทุกส่วนสัมพันธ์และสมดุลกันโดยสอดคล้อง…”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19 กรกฎาคม 2517

สัมมาชีพชุมชน คือ กิจกรรมที่ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดรายได้ ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม

            การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาล ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  อำเภอรัษฎา มีหมู่บ้านเป้าหมาย 27 หมู่บ้าน ในพื้นที่  5 ตำบล

            วิทยากรสัมมาชีพชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเพื่อสร้างการเรียนรู้ การสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่ปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ  4 คน ร่วมกันฝึกอาชีพตามความต้องการของชุมชน(สมาชิก)หมู่บ้านละ 20 คน วิทยากรและแกนนำส่งเสริมสนับสนุนให้ 20 ครัวเรือนเป้าหมาย สามารถพัฒนาและสร้างอาชีพได้ด้วยการนำความรู้จากการอบรม ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพ มีรายได้ ลดรายจ่าย

วัตถุประสงค์ ->

1.คัดเลือกปราชญ์ โดยแจ้งผู้นำชุมชนคัดเลือกปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ  10 คน คัดเลือกด้านอาชีพเหลือ 5 คน

            2. คัดเลือก 1 คนเพื่อให้เป็น “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” อบรมศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช

            3. สร้างทีมแกนนำสัมมาชีพ โดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับ

                หมู่บ้านแก่ปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ 4 คน

            4. ฝึกอบรมอาชีพโดยทีมแกนนำสัมมาชีพ จัดฝึกอบรมอาชีพให้ประชาชนในหมู่บ้านๆละ 20 คนและติดตามสนับสนุนการ

                ประกอบอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ความตั้งใจของของปราชญ์และครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

            2.อาชีพที่ดำเนินการ ที่ก่อให้เกิดรายได้

            3. ครัวเรือนสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชนดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

            4.เจ้าหน้าที่และทีมวิทยากรติดตาม สนับสนุน การดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม

            5. การติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน วิทยากร 1 คน รับผิดชอบ 4 ครัวเรือน มีปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินกิจกรรมหรือมา อย่างไร

อุปกรณ์ ->

1.        ความต่อเนื่องและยั่งยืนของการดำเนินกิจกรรม

2.        ให้ดำเนินการในรูปกลุ่ม งบประมาณที่สนับสนุน จำนวน 16,000 บาท ถือเป็นการลงหุ้นร่วมกัน(ทุนของกลุ่ม) โดยสมาชิกบางกลุ่มให้สมาชิกถือหุ้นเพิ่ม(การมีส่วนร่วม)

3.        ตลาดรองรับสินค้า เป็นช่องทางในการจำหน่าย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา