เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การปลูกผักสวนครัว

โดย : นายสมจิตร สองเมือง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-19-16:42:33

ที่อยู่ : 97 หมู่ 2 ตำบลคลองชีล้อม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังฤดูการทำสวนและการผลิตและยังมีการรวมตัวเป็นกลุ่มค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ  ปัจจุบันนี้สถานการณ์การประกอบอาชีพของประชาชนภาคเกษตรในชุมชนมีภาวะเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพแบบดั่งเดิม ส่งผลให้ประชาชนต้องย้ายไปประกอบอาชีพในเมืองและมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่างๆอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นไปทำตามให้สำเร็จได้

วัตถุประสงค์ ->

1.สร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน

2.คัดเลือกครัวเรือนที่สนใจอาชีพในชุมชน

          3.ชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และสาธิตอาชีพในชุมชน

          4.ดำเนินการตามกิจกรรม ติดตาม ประเมินผล ทราบปัญหาอุปสรรค

การปลูกผักสวนครัว ควรคำนึงถึง ปัจจัยต่างๆดังนี้
1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด อยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่ไกล จากที่พักอาศัยมากนักเพื่อ ความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมา ประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ
2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผัก มากชนิด ที่สุดเพื่อจะได้มีผักไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควร พิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอก ของเมล็ดพันธุ์ วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือ ซองที่บรรจุ เมล็ด พันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้น ใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลา วันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนานคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลงฤดูการปลูก การปลูกผักควรเลือกให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อให้ได้ผักที่มีคุณภาพดี จึงควรพิจารณาเลือกปลูกผัก ดังนี้
ผักที่ควรปลูกในต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ได้แก่ หอมแบ่ง ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า พริกต่างๆ มะเขือต่างๆ ผักกาดหัว ผักกาดหอม บวบ มะระ ฟักเขียว แฟง แตงกวา ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า ถั่วพู ผักบุ้งจีน กระเจี้ยบเขียวผักที่ควรปลูกปลายฤดูฝน ผักใดที่ปลูกต้นฤดูฝนก็ปลูกได้ผลดีในปลายฤดูฝน ยิ่งกว่านั้นยังปลูกผักฤดูหนาวได้อีกด้วย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม บร็อคโคลี่ ถั่วลันเตา หอมหัวใหญ่ แครอท แรดิช ผักชี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอมห่ข้าวโพดหวาน แตงเทศ แตงโม พริกยักษ์ พริกหยวก ฟักทอง มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย
ผักที่ควรปลูกในฤดูร้อน ได้แก่ ผักที่ทนร้อนได้ดี และทนความแห้งแล้งพอสมควร ถึงแม้ว่าผักเหล่านี้จะทนร้อนและ ความแห้งแล้ง ได้ แต่ถ้าจะปลูกในฤดูร้อนผักบางอย่างก็ต้องรดน้ำ เช้า-เย็น ต้องพรวนดินแล้วคลุมด้วยฟางข้าว เพื่อรักษาความชุ่มชื่นไว้ให้พอ เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน บวบ มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า แฟง ฟักทอง ถั่วพู คะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชี (ผักกาดหอม และผักชีนั้นควรทำร่มรำไรให้ด้วย) ผักกาดขาวเล็ก ผักกาดขาวใหญ่ มะเขือมอญ
ผักและพืชบางอย่างที่ควรปลูกไว้รับประทานตลอดปีได้แก่ พืชที่ทนทาน ปลูกครั้งเดียวรับประทานได้ตลอดปี เช่น สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หอมแบ่ง แมงลัก โหระพา กะเพรา ผักตำลึง ผักบุ้งไทย กระชาย ข่า ตะไคร้ บัวบก มะแว้ง มะเขือพวง พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือต่างๆ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.องค์ความรู้และความตั้งใจของปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพชุมน

2.ความมุ่งมั่นของสมาชิกและอาชีพที่จะก่อให้เกิดรายได้

3.เทคนิคการดำเนินงานพร้อมแนวทางที่เป็นไปได้

          4.ความเกื้อกูล ความเสียสละ ความพยายาม และความตั้งใจ ความโปร่งใส่ ความรักความสามัคคีการเห็นอกเห็นใจ ความมุ่งมั่นของสมาชิกสัมมาชีพ

อุปกรณ์ ->

ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจเสียสละ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา