เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนการจัดตั้งกลุ่มข้าวซ้อมมือ

โดย : นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-16-09:32:34

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหาดสำราญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ที่ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่ 1 อำเภอหาดสำราญดำเนินการ 13 หมู่บ้าน บ้านโคกออก หมู่ที่ 6 ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการนี้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ความยั่งยืนสร้างรายได้ที่มั่นคงแก่ครัวเรือนสัมมาชีพยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นตามนโยบายรัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องมีขั้นตอนในการคัดเลือกกิจกรรมและกระบวนการจัดตั้งกลุ่มที่เหมาะสมเพื่อให้ชุมชนได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มาปรับใช้อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์ ->

ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินการ

-          วิทยากรสัมมาชีพทั้ง 5 คนที่ผ่านการอบรมกำหนดกรอบคุณสมบัติและคัดเลือกครัวเรือน สัมมาชีพ จำนวน 20 ครัวเรือนเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตร โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนร่วมสังเกตการณ์

-          ทีมวิทยากรสัมมาชีพและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนศึกษาหลักสูตรและเนื้อหาการอบรม

-          วิทยากรสัมมาชีพแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

ระยะที่ 2 ดำเนินการ

-          ประชุมให้ความรู้พื้นฐานเรื่องสัมมาชีพชุมชน/แนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพบ้านโคกออก

-          วิเคราะห์ครัวเรือนเป้าหมาย เรื่องอาชีพ , รายได้ , รายจ่าย , ความถนัด

-          นำเสนออาชีพที่ครัวเรือนเป่าหมายอยากทำและคิดว่าเหมาะสม

-          วิเคราะห์ อาชีพที่ครัวเรือนเสนอ โดยใช้หลักการ SWOTได้อาชีพการทำข้าวซ้อมมือ

-          กระบวนการจัดตั้งกลุ่มที่มีธรรมาภิบาลโดยใช้หลัก 5 ก

-          ศึกษาเรียนรู้แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงใกล้บ้าน

ระยะที่ 3 ติดตามและประเมินผล 

-          เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนละวิทยากรสัมมาชีพติดตามการดำเนินงานกลุ่ม เรื่องปัญหาอุปสรรคเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไข

-          เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและวิทยากรสัมมาชีพ ร่วมกันหาช่องทางการตลาดประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

-          ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์โอทอบ

-          บูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่ม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-          ความร่วมมือของสมาชิกครัวเรือนสัมมาชีพ

-          วิทยากรสัมมาชีพมีความกระตือรือล้นในการทำงาน

-          มีการทำงานเป็นทีมระหว่าง วิทยากรสัมมาชีพ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ครัวเรือนสัมมาชีพ และหน่วยงานราชการอื่นๆ

-          อาชีพที่เลือกคือข้าวซ้อมมือเป็นของที่ชาวบ้านต้องกินต้อวงใช้อยู่ทุกวัน

-          การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

อุปกรณ์ ->

-          ในการคัดเลือกอาชีพวิทยากรกระบวนการหรือเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจะต้องไม่ชี้นำอาชีพควรให้ครัวเรือนสัมมาชีพวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของตนเองอย่างลึกซึ้ง

-          การบริหารจัดการกลุ่มในอนาคตต้องใช้หลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดเพื่อให้กลุ่มมีความก้าวหน้าและยั่งยืน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา