เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

โดย : นายคำแหง ศรีปล้อง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-14-17:14:48

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยยอด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ( พ.ศ. 2560 – 2564 ) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ลดการสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน  11  ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ที่เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้มอบให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่เป้าหมาย

                    สถานการณ์ในปัจจุบัน การประกอบอาชีพภาคการเกษตรของประชาชนมีภาวะเสี่ยง เนื่องจากการประกอบอาชีพการเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ การรวมตัวเป็นกลุ่มค่อนข้างน้อย มีการย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง หรือโรงงานอุตสาหกรรม และด้วยเหตุปัจจัยข้างต้น การดำเนินงานในปี 2560 จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพ ซึ่งมีปราชญ์ชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ และประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้/เทคนิค ฯลฯ ให้แก่ครัวเรือนในหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการในอำเภอห้วยยอด จำนวน  29  หมู่บ้าน  ที่จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อพัฒนาให้ครัวเรือนเกิดอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากขยายเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฯ และนโยบายของรัฐบาล

วัตถุประสงค์ ->

1.  อำเภอแจ้งประสานหมู่บ้าน/ชุมชน พื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการ จำนวน  29  หมู่บ้าน

2.  คัดเลือกปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ  1  คน เข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน  จำนวน  29  คน  ระยะเวลา  4  วัน  ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน จ.นครศรีธรรมราช 

3. ปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ  1  คน  เข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนของจังหวัดตรัง  จำนวน  29  คน  ระยะเวลา  1  วัน  ณ  โรงแรมวัฒนาพาร์ค  อำเภอเมืองตรัง  จังหวัดตรัง

4. ประชุมเครือข่ายการพัฒนา  จำนวน  40  คน  เพื่อเป็นทีมสนับสนุนขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างสัมมาชีพชุมชน  จำนวน  1  วัน  ณ  ศาลาประชาคมอำเภอห้วยยอด

5. ปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ  5  คน  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  จำนวน 145  คน  ระยะเวลา  3  วัน  ณ  ศาลาประชาคมอำเภอห้วยยอด

6.  ดำเนินการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  จำนวน  29  หมู่บ้าน ๆ ละ  5  วัน  เพื่อให้ความรู้แก่ครัวเรือนเป้าหมาย และมีการเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ หรือพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง ใน พื้นที่เป้าหมาย  29  หมู่บ้าน

7.  จัดทำฐานข้อมูลปราชญ์ชุมชน  หมู่บ้านละ  5  คน  ครัวเรือนเป้าหมาย หมู่บ้านละ  20  ครัวเรือน

8.  ติดตาม / ประเมินผลการดำเนินงาน / ให้การสนับสนุนหมู่บ้านในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิด  1  หมู่บ้าน     1  กลุ่มอาชีพ  1  OTOP ต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ปราชญ์ชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ สามารถเป็นแบบอย่างได้

2. ความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการสร้างสัมมาชีพชุมชน ของครัวเรือนเป้าหมายและปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้าน

3. การน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

4. การให้การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ฯลฯ

อุปกรณ์ ->

1. การส่งเสริมสนับสนุนครัวเรือนเป้าหมาย ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ไม่ควรยึดติดกับงบประมาณที่

    สนับสนุน ครัวเรือนเป้าหมายควรนำแนวคิด วิธีคิด ไปปรับใช้ให้เหมาะสม ในการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ในการประกอบอาชีพแต่ละอาชีพ ต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ละเอียด รอบคอบ และต้องมีความระมัดระวัง

    เป็นอย่างดี เพราะอาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย หรือขาดทุนได้

3.  ด้านการตลาดต้องศึกษาหาข้อมูล ช่องทางการจำหน่ายสินค้า ที่สามารถรองรับสินค้า/ผลิตภัณฑ์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา