เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายเสถียร ทิพทอง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-02-20:18:49

ที่อยู่ : 55/1 หมู่ที่ 4 ต.เขาไม้แก้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน เพื่อแก้ปัญหาการว่างงานของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางการเงิน ส่งเสริมการสร้างอาชีพในชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ และเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ และชุมชนรายยังสามารถนำสินค้ามาจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกันจะเป็นทุนหมุนเวียนในชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                   ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทยโดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็กๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบ ทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และช่วยลดภาวะค่าครองชีพ

วัตถุประสงค์ ->

1. การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน

                   2. การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดินโดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสมความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง

                   3. การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียวจำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน

                   4. การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 x 100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น5x5 เซนติเมตร เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       ความร่วมมือและความพร้อมของวิทยากรปราชญ์ชุมชน

2.       ความพร้อมของครัวเรือนสัมมาชีพ

3.       ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

4.       อาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

อุปกรณ์ ->

1.  อาชีพด้านการทำเกษตรกรรมช่วงฤดูร้อน อาจมีปัญหาภัยแล้ง

2.  ในช่วงฤดูฝนพืชผักสวนครัวจะเกิดปัญหาโรคเชื้อราจะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกพืชผักควรศึกษาธรรมชาติของพืชผักด้วยเพราะพืชบางชนิดจะเจริญเติบโตดีในช่วงฤดูฝนและบางชนิดให้ผลผลิตดีในฤดีูแล้งและอาจเกิดผลกระทบจากเชื้้อราหรือโรคใบเน่าหากปลูกในฤดูฝน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา