เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ส่งเสริมการสร้าง “สัมมาชีพชุมชน"

โดย : นางนงเยาว์ ทองสุข ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-29-18:34:43

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสิเกา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน  สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรแบบดั้งเดิม ในชุมชน  มีภาวะเสี่ยงหลายประการ เช่นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว  มีความเสี่ยงต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของตลาด  ราคาผลิตตกต่ำ  หรือโรคพืช  โรคสัตว์ต่างๆ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิต   ปัญหาการขาดรวมตัวกันของเกษตรกร  นอกจากนั้นอาชีพหรือกลุ่มอาชีพที่มีอยู่เดิมไม่ได้รับการพัฒนาต่อยอด ศูนย์เรียนรู้ชุมชนไม่ได้ใช้ประโยชน์  ปราชญ์ชุมชนที่มีในชุมชนไม่ได้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้คนรุ่นหลัง  ส่งผลให้เกิดการละทิ้งถิ่นฐาน  เคลื่อนย้ายอพยพเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่

                   ในปีพ.ศ. 2560  กรมการพัฒนาชุมชน  จึงมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยมีแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายกระทรวงมหาดไทยโดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ   ในการนี้  กรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมการสร้าง “สัมมาชีพชุมชน”ขึ้น  เพื่อพัฒนาอาชีพและรายได้ของคนในชุมชน จำนวน 23,589 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ รวม 471,780 ครัวเรือน โดยในพื้นที่อำเภอสิเกา มีเป้าหมาย จำนวน 29 หมู่บ้าน  จำนวน 580 ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1.       ศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดการดำเนินงานตามโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2.       ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงานพัฒนาชุมชน/ภาคีเครือข่าย/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.       จัดทำแผนปฏิบัติการระดับอำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน

4.       ประสานทีมงานสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ ออกติดตามสนับสนุนตามแผนปฏิบัติการของหมู่บ้าน ,ตำบล

5.       มอบหมายเจ้าหน้าที่จัดเตรียมข้อมูลเพื่อการพัฒนาและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้หมู่บ้าน/ตำบลได้ใช้ประโยชน์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

6.       ติดตามแนะนำให้คำปรึกษาให้แก่เจ้าหน้าที่ ปราชญ์ชุมชน และครัวเรือนสัมมาชีพ

7.       แก้ไขปัญหาดำเนินงานตามโครงการฯโดยร่วมกับทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ 

8.       ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       ความพร้อมของปราชญ์ชุมชน

2.       ความพร้อมของครัวเรือนสัมมาชีพ

3.       ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

4.       ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

5.       อาชีพที่เหมาะสมในพื้นที่

6.       ความต้องการของตลาด

7.       งบประมาณที่สนับสนุนสมทบโครงการ

8.       การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

1.       ปัญหาด้านภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่น น้ำท่วม  ภัยแล้ง จึงควรให้หมู่บ้านพิจารณาเลือกทำสัมมาชีพที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาในพื้นที่ เช่นการเลี้ยงเป็ดในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  หรือเลือกปลูกพืชที่มีระยะเก็บเกี่ยวสั้นๆหรือปลูกพืชทนแล้งในพื้นที่แล้งซ้ำซาก

2.       ในการตัดสินใจเลือกสัมมาชีพใดๆควรให้หมู่บ้านศึกษาความต้องการของตลาดอย่างละเอียด

3.       ควรให้มีความต่อเนื่องในการประกอบอาชีพ

4.       ควรให้มีการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพประเภทต่างๆเพื่อการพัฒนาและเพื่อเป็นพลังในการต่อรองทางการตลาด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา