เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายสุทธิพล บุญยะศิลป์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-29-18:30:55

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อพูดถึงเรื่องสัมมาชีพชุมชน หลายคนอาจนึกไม่ออกว่า หมายถึงอะไรกันแน่ แต่เราสามารถให้ความหมายของคำว่า “สัมมาอาชีวะ” หมายถึง “การประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมายเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ทำด้วยความสุจริต และถูกต้องตามหลักศีลธรรม” ฉะนั้น คำว่า “สัมมาชีพ” จึงยึดแนวความหมายของคำว่า “สัมมาอาชีวะ” ข้างต้น โดยมีความหมายว่า “การทำมาหากินโดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้งหรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือ ความสุขของตนและคนทำงานรวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้รับบริการหลัก โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มุ่งไปกระตุ้นตัณหา
          การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนจึงเป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางการเงิน ส่งเสริมการสร้างอาชีพในชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ และเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ และชุมชนรายยังสามารถนำสินค้ามาจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกันจะเป็นทุนหมุนเวียนในชุมชน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง

กรมการพัฒนาชุมชนส่งเสริมและขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุมชน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันอันจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมประชาชนพึ่งตนเองมีรายได้ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นเพื่อตอบสนอง สอดรับกับโครงการดังกล่าวให้สามารถขับเคลื่อนในพื้นที่เป้าหมายในตำบลบ่อหินและตำบลไม้ฝาด จำนวน 11 หมู่บ้าน (ตำบลบ่อหิน หมู่ที่ 1-8/ตำบลไม้ฝาด หมู่ที่ 2,6,7) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้จึงต้องมีการใช้เทคนิควิธีการในการส่งเสริมอย่างเป็นกระบวนการ

วัตถุประสงค์ ->

1.       ศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดการดำเนินงานตามโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2.       สร้างความเข้าใจกับเครือข่ายทีมงานภาคีขับเคลื่อนในตำบล

3.       ร่วมจัดทำแผนการขับเคลื่อนระดับตำบลแยกรายหมู่บ้าน

4.       ประสานทีมงานภาคีขับเคลื่อนออกติดตามสนับสนุนตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่มและสามารถประกอบอาชีพได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       ความร่วมมือและความพร้อมของวิทยากรปราชญ์ชุมชน

2.       ความพร้อมของครัวเรือนสัมมาชีพ

3.       การติดตามสนับสนุนองค์ความรู้ของเครือข่ายทีมงานการพัฒนา

4.       อาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

อุปกรณ์ ->

1.       การตลาดของผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้น

2.       การส่งเสริมอาชีพด้านการทำเกษตรในช่วงฤดูร้อน อาจมีปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำ

3.       งบประมาณที่จัดสรรให้เฉลี่ยหมู่บ้านละ 16,000 บาท ยังถือว่าน้อยในการสร้างกลุ่มอาชีพ และมีข้อจำกัดในการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ในบางชนิด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา