เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การพัฒนากลุ่มสัมมาชีพ สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP

โดย : นายณิกรณ์ ทองคำ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-09-22:04:16

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนตาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

    - ความเป็นมา ความสำคัญ

แรกเริ่มบ้านป่าตาลประชาสันติ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย     ได้เข้าร่วมโครงการสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน ๕ คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ค้นหาครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน วิเคราะห์ความต้องการในการประกอบอาชีพ จนได้ครัวเรือนตามเป้าหมาย จำนวน ๒๐ คน  โดยได้ตกลงกันที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อขายและขยายพันธุ์

 

วัตถุประสงค์ ->

 ต่อมาบ้านป่าตาลประชาสันติ ได้ดำเนินกิจกรรม/โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยได้รับงบประมาณในการดำเนินการ จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระบบการบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการที่เข้มแข็งในการสร้างสัมมาชีพชุมชน  

โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนตาล ดำเนินการโครงการฯ ดังนี้

๑.สร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และผู้แทนครอบครัวพัฒนา (ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน)

๒.ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนหมู่บ้าน “พัฒนาตนเอง สู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” คือ

- สนับสนุนและขยายผลครัวเรือนสัมมาชีพ จากเดิม ๒๐ ครัวเรือน เพิ่มเติมอีก

อย่างน้อย ๑๐ ครัวเรือน รวม ๓๐ ครัวเรือน พร้อมสนับสนุนค่าวัสดุส่งเสริมอาชีพ จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท

พัฒนากรพร้อมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ร่วมกันสร้างความเข้าใจเรื่องสัมมาชีพให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ ๒๐ ครัวเรือนอีกครั้ง  โดยจัดเวทีพูดคุยปรึกษาหารือในการพัฒนาอาชีพที่ดำเนินการในครั้งแรก และงบที่ได้รับอีก ๓๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลงที่จะทำอาชีพใหม่เพิ่มขึ้นอีก โดยมีข้อสรุป คือ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการเพาะต้นกล้า (เมล็ดพืชผักสวนครัว)

ซึ่งในกิจกรรมสัมมาชีพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดให้หมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวต้องขยายผลเพิ่มครัวเรือนสัมมาชีพอีก  ๑๐ ครัวเรือน พัฒนากรร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน  จำนวน ๕ คน ได้ค้นหาครัวเรือนที่ต้องการประกอบอาชีพเสริม       เพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง โดยครัวเรือนสัมมาชีพ ๒๐ คนแรก  ได้เสนอว่า กลุ่มแม่บ้านป่าตาลประชาสันติ มีฝีมือในการทำน้ำพริกหนุ่ม จนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศระดับตำบล ถ้านำกลุ่มนี้เข้ามาเชื่อมโยงกับสัมมาชีพชุมชน ๒๐ คนแรก ที่ดำเนินกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักและเพาะต้นกล้า     ทางกลุ่มแม่บ้านก็จะสามารถต่อยอดการทำน้ำพริกหนุ่ม เป็นของดี ของอร่อย สร้างงานสร้างเงินสร้างรายได้อย่างแน่นอน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เวที ๑ พัฒนากรและทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน ดำเนินการจัดเวทีพูดคุยกับ ๒๐ คน พร้อมกลุ่มแม่บ้านที่เป็นครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ๑๐ คน  รวมเป็น ๓๐ คน         ดำเนินการสร้างความเข้าใจเรื่องสัมมาชีพชุมชน  ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล โดยเปรียบเทียบกับอาชีพเดิมที่ทำอยู่ ว่าสามารถพัฒนาต่อยอด พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ สู่OTOPและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร และอาชีพนั้นสามารถเชื่อมโยงกับตลาดในชุมชน/อำเภอ รวมถึงช่องทางการประชาสัมพันธ์อย่างไร

เวที ๒ พัฒนากรและทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านครัวเรือนสัมมาชีพ ๓๐ ครัวเรือน

ได้ร่วมกันคัดเลือกแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มสัมมาชีพชุมชน ซึ่งแบ่งการบริหารออกเป็น ๒ กลุ่มคือ

๑.กลุ่มสัมมาชีพชุมชน ที่มีทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน เป็นคณะกรรมการดูแล

๒.กลุ่มสัมมาชีพชุมชน ที่มีครัวเรือนสัมมาชีพ เป็นคณะกรรมการ

ซึ่งทั้ง ๒ กลุ่มนี้ได้มีข้อตกลงในการบริหารทำงานเชื่อมโยงร่วมกัน

บทสรุป 

ผลจากการวิเคราะห์พูดคุยและการลงพื้นที่เยื่ยมเยือนของทีมสนับสนุนติดตามครัวเรือนสัมมาชีพ ๓๐ คน กลุ่มสัมมาชีพมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการจัดทำกฎระเบียบและรับสมัครสมาชิกเพิ่ม/ร่วมวางแผนการดำเนินงาน /แผนการพัฒนากลุ่ม /พัฒนาผลิตภัณฑ์  โดยมี   พัฒนากรเป็นผู้สร้าง Brand และออกแบบ Logo ให้  โดยเฉพาะกลุ่มทำน้ำพริกที่มี Brand และ Logo อย่างเป็นทางการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจให้กับกลุ่มลูกค้า

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา