ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การสานแห

โดย : นายสุหลา คงแสง วันที่ : 2017-02-17-11:17:56

ที่อยู่ : 32 ม.6 ต.โนนหนามแท่ง อ.เมือง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แหเป็นอุปกรณ์จับปลาชนิดหนึ่ง ซึ่งคนอิสานนิยมจับปลามารับประทานในครัวเรือน แต่แหมีอายุการใช้งานไม่นาน ต้องซื้อบ่อย จึงมีแนวคิดในการสานแหเพื่อนำมาใช้ในครัวเรือนและจำหน่ายในคนหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ด้านไนล่อนขาว ด้ายสานแห หรือเอ็นสานแห

2. ชนุน หรือกิม

3. ไม้ไผ่หรือปาน

4. กรรไกร

5. ลูกแห หรือลูกโซ่ตะกั่ว

6. สีย้อมแห หรืออาจจะไม่ใช้ก็ได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ถักจอมแห เพื่อใช้จับถึงเวลาหว่านแห จากนั้นนำไปแขวนไว้ที่สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง 

- ตีตะปูสองตัวระยะห่างพอประมาณ(แล้วแต่ว่าต้องการจอมเล็กหรือใหญ่แค่ไหน) เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น

- ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ 3 ซม.

- พับครึ่งจัดให้เท่าๆ กันแล้วมัดไว้ให้แน่น

- ถักเพิ่มเพื่อแยกตาแหให้เรียงรอบจอมทั้งหมด 16 ตา

2. ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพ่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อยๆ ตามความยาวของขนาดแหดังกล่าวข้างต้น ซึ่งสามารถสานแหได้หลายรูปแบบ เช่น การขอดปมแหแบบพิรอด แบบบ่วงธนู แบบปมขอด แต่ในที่นี้จะนำเสนอการขอดปมแบบบ่วงสายธนูมาเป็นตัวอย่าง

- ใช้ปาน (ไม้ไผ่) สอดเทียบกับตาแห

- จากนั้นขึงด้านสานแหไว้

- ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานแหขึ้น

- ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วง

- ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาแห

- จากนั้นใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานแหผ่ากลางห่วง

- แล้วถึงให้ลอดออกไป

- ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบเดิมไปเรื่อยๆ

3. สานแหได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห (ตีนแห) ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของแหเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบแหครบรอบวงกลมของแห

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา