ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การสานตาข่ายดักปลา

โดย : นายสุหรา คงแสง วันที่ : 2017-03-07-10:38:56

ที่อยู่ : 32 ม.6 บ.คำสมบูรณ์ ต.โนนหนามแท่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตาข่ายดักปลา หรือภาษาอีสาน เรียกว่า "มอง"  เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่ายใช้ทอดแผ่ลงในน้ำ แล้วต้องดึงขึ้นมา เพื่อการยังชีพ หรือเพื่อประกอบอาชีพของคนชั้นล่างของสังคมที่กล่าวเช่นนี้ เพราะยังไม่เคยเห็นคนชั้นสูงหรือคนชั้นกลางใช้แหเพื่อหาปลาเป็นอาหาร หรือหาปลาเพื่อการจำหน่ายเป็นประจำ แต่จะเป็นครั้งคราวของบุคคลชั้นดังกล่าว เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินในยามว่างหรืออาจจะมีบ้างที่บางคน อดีตเคยเป็นชาวบ้านธรรมดาอยู่ตามชนบท ตอนหลังอพยพเข้าสู่ตัวเมืองและเปลี่ยนอาชีพในสังคมเมือง ฐานะดีขึ้น จึงอยากระลึกถึงอดีตของตัวเองเท่านั้นเอง ดังนั้น แหจึงถือเป็นเครื่องมือเพื่อการยังชีพ หมายถึงใช้จับปลาเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้ประกอบอาชีพ คือใช้จับปลาเพื่อการจำหน่าย ของชาวบ้านในชนบทซึ่งเป็นฐานะทางสังคม แหถือเป็น ภูมิปัญญา ของชาวบ้านที่แท้จริง เพราะมันคือส่วนหนึ่งของชีวิต ให้ชีวิตมีห่วงโซ่เรื่องอาหาร และรายได้ในชีวิตประจำวัน แหจึงได้รับการพัฒนาและเอาใจใส่ เริ่มจากการได้รับการถ่ายทอดเบื้องต้นจากบรรพบุรุษ แล้วลองผิดลิงถูกจนเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะตัวของบุคคล ความแตกต่างของความเชื่อ เรื่องแห ทั้งโครงสร้าง ขนาด วิธีทอด วิธีย้อม และวิธีต่างๆ ที่ดีแล้วคล้ายๆกัน แต่ลึกๆแล้วมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความเชื่อจากวิธีปฏิบัติจริงๆ และได้ผลที่ต่างกันของบุคคล จนกลายเป็นประสบการณ์และภูมิปัญญาของตนเองในที่สุด นี่เองที่นักวิชาการเพิ่งเห็นความจำเป็น เข้าใจและเลือกใช้คำว่า ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

ตาข่ายดักปลา เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับใช้จับปลา ซึ่งนิยมกันมากของคนทั่วไป เพราะโดยทั่วไปทุกๆคนจะมีตาข่ายดักปลาล่งน้ำขนาดเล็กมากมาย สวนหนอง บึง ลำคลอง หรือแม้นาขนาดใหญ่จะมีน้อยมากและไม่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี วิธีจับปลาที่ได้ผลเร็วและสะดวกที่สุดของคนทุกภาค ก็คือการใช้ตาข่ายดักปลาแทนเท่านั้น ดังนั้น ตาข่ายดักปลาของคนทุกภาค จึงมีหลายขนาด หลายชนิด ด้วยความจำเป็นเพื่อการยังชีพในอดีตแทบทุกครัวเรือน ดังนั้นชาวบ้าน จึงมีตาข่ายดักปลาไว้จับปลา และถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับตาข่ายดักปลา ไว้อย่างต่อเนื่อง คงความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ด้ายในล่อนขาว ด้ายสานตาข่ายดักปลา           
2. ชนุน(กิม มีลักษณะเป็นไม่ไผ่แบนหนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร กว้าง 1 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ1 ใน 3ส่วนของความยาวเจาะทะลุยาวตามส่วน1 ใน 3 มีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายใช้มีดควงให้เป็นตัวยู)

3.ไม่ไผ่ หรือ ปาน (มีลักษณะการเหลาไม้ไผ่คล้ายไม้บรรทัดยาว 5-6 นิ้ว หนาประมาณ2-3 มิลลิเมตร ความกว้างขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ)

4. กรรไกร

5.ลูกแห หรือลูกโซ่ตะกั่ว

6. สีย้อม หรืออาจจะไม่ใช้ก็ได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการสานตาข่ายดักปลา ขั้นแรกจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการถักตาข่ายดักปลา (สานตาข่ายดักปลา) ให้ครบ แล้วเตรียมเหลาไม้ไผ่ขนาดเล็กใหญ่ เนื่องจากขนาดรอบของด้ายที่จะใช้สานมีขนาดความยาวมากน้อยแตกต่างกัน จะเริ่มต้นสานตาข่ายดักปลาจากจอมตาข่ายดักปลาก่อนเพิ่มและขยายรอบการถักออกและขยายตาข่ายให้กว้างเพื่อที่จะทำให้เป็นวงกลมทั้งฝืน ตามขนาดของการใช้งาน ขนาดของการสานตาข่ายดักปลา ยาวขนาด เจ็ดศอก เก้าข้อศอก และ สิบเอ็ดข้อศอก ขนาดความกว้างมีหลายขนาด อาทิ ตาข่ายดักปลาขนาดตาข่าย สองเซ็น สี่เซ็น ห้าเซ็น (เซนติเมตร) ภาษาท้องถิ่นจะเรียกขนาดของตาข่ายว่าเซ็น เป็นต้น ซึ่งจะสานตามความต้องการของการใช้งาน ขั้นตอนพอสังเขป ในการสานตาข่ายดักปลา วิธีการสานตาข่ายดักปลาโดยสังเขป
          1. เริ่มทำการถักที่จับตาข่ายดักปลาส่วนบน (เรียกว่าจอมตาข่ายดักปลา เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานตาข่ายดักปลา) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน

วิธีการก่อจอมตาข่ายดักปลา

                    1.ตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอมเล็กจอมใหญ่ เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น ดังรูป

                    2.ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ3ซม.

                    3.พับครึ่งจัดให้เท่าๆกันแล้วมัดไว้ให้แน่น

                    4. ถักเพิ่มเพื่อแยกตาตาข่ายดักปลาให้เรียงรอบจอม ทั้งหมด16ตา 

          2. ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาดตาข่ายดักปลา ดังกล่าวข้างต้นข้างต้น ซึ่งเราสามารถสานตาข่ายดักปลาได้หลายรูปแบบ เช่น การขมปมตาข่ายดักปลาแบบพิรอด แบบบ่วงสายธนู แบบปมขอด แต่ในที่นี้จะนำเสนอการขมปมแบบบ่วงสายธนูมาเป็นตัวอย่าง

                   1. ใช้ปาน(ไม้ไผ่)สอดเทียบกับตาตาข่ายดักปลา

                   2. จากนั้นก็ขึงด้ายสานตาข่ายดักปลาไว้

                   3.ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานตาข่ายดักปลาขึ้น

                   4.จากนั้นก็ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วง

                   5.ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาตาข่ายดักปลา

                   6.จากนั้นก็ใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานตาข่ายดักปลาผ่ากลางห่วง

                   7.แล้วก็ดึงให้รอดออกไป

                   8.ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบนั้นเดิมไปเรื่อย

          3. สานตาข่ายดักปลาได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายตาข่ายดักปลา (ตีนตาข่ายดักปลา) ให้ร้อยลูกตาข่ายดักปลาด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของตาข่ายดักปลาเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบตาข่ายดักปลาครบรอบวงกลมของตาข่ายดักปลา เป็นวิธีภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากประสบการณ์          

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา