ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ครึ่งเดือน ครึ่งแสน การเลี้ยงจิ้งหรีด

โดย : นางสุรภา พงษ์พิลา วันที่ : 2017-05-03-11:00:37

ที่อยู่ : ม.5 บ้านหนองยาง ต.ลือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จิ้งหรีด เป็นแมลงที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะจิ้งหรีดแดงทองลาย (สะดิ้ง) มีขนาดประมาณ 4.85 ซม. x 1 ซม. มีสีน้ำตาลปนเหลือง ชอบกระโดด กินพืชเป็นอาหาร ปัจจุบันคนนิยมเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหาร โดยการทอดคั่ว แกง ห่อหมก และยำ จิ้งหรีดมีสารอาหารโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาขาดสารอาหารได้ เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์เร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะที่เกษตรกรจะนำมาเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ไว้บริโภคและจำหน่ายเพิ่มรายได้ เนื่องจากเลี้ยงไม่มาก สามารถใช้เวลาว่างจากการเพาะปลูกมาดูแลจิ้งหรีดได้ภายในเวลา 1 ปี จะสามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ถึง 5 รุ่น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

  1. ขันไข่ บ่อละ 5 ขัน
  2. ท่อปูนพร้อมฝาปิดท่อ ขนาดกว้าง 80 ซม. สูง 50 ซม. จำนวน 1 ท่อ หรือกะละมังพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 72 ซม. สูง 30 ซม. หรือจะเป็นภาชนะที่ใส่ได้ทุกขนาด
  3. ตาข่ายไนล่อนเขียว 100 x 100 ซม. จำนวน 1 ผืน
  4. แผ่นพลาสติก ขนาด 25 x 270 ซม. จำนวน 1 ผืน
  5. ยางรัดปากบ่อหนา 1 ซม. จำนวน 1 เส้น
  6. ถาดอาหาร-น้ำ กว้าง x ยาว = 5 x 10 ซม. ลึก 1.5 ซม. 2 ถาด
  7. กระบอกไม้ไผ่ ยาว 20 ซม. ผ่าครึ่งจำนวน 10 อัน หรือกระดาษรังไข่ 3 อัน
  8. ถาดหรือถุงพลาสติกใส่ดินร่วนปนทราย หนา 2 ซม.
  9. เศษหญ้าแห้งวางหนา 2 ซม.
  10. เทปกาว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. สร้างเรือนโรง หรือหลังคาป้องกันแดดและฝนโดยให้แดดส่องเช้าเย็น
  2. ปรับพื้นที่กำจัดมดและศัตรูจิ้งหรีด
  3. วางบ่อบนฝา ใช้ปูนผสมทรายฉาบปริ่มขอบภายในและภายนอก ป้องกันมดเข้าทำลายลูกจิ้งหรีด
  4. ติดแผ่นพลาสติกด้านบนขอบบ่อหรือกะละมังด้วยเทปกาว
  5. พันธุ์จิ้งหรีด หาพันธุ์ได้จากธรรมชาติ หรือซื้อได้โดยการคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีตัวโตแข็งแรง อวัยวะครบทุกส่วน ปัจจุบันได้พัฒนาการเลี้ยงในลักษณะขันไข่ โดยสามารถจัดซื้อจากฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด เพื่อนำไปเลี้ยง ทำให้สามารถเก็บผลผลิตเป็นรุ่นๆ ได้

ข้อพึงระวัง ->

วงจรชีวิตจิ้งหรีด

–  ระยะไข่ รูปร่างยาวเรียว คล้ายเมล็ดข้าวสาร สีน้ำตาลอ่อน ความกว้างของไข่ 5.1 มม. ความยาว 2.38 มม.

–  ระยะตัวอ่อน ลำตัวสำน้ำตาลปนเหลือง ฟักออกจากไข่ช่วงแรกยังไม่มีปีก จะเริ่มมีตุ่มปีกในเมื่อถึงกลางวัยอ่อน พอลอกคราบ 8 ครั้ง จึงเข้าสู่วัยแก่ (รวมอายุวัยอ่อนระหว่าง 42 – 55 วัน)

–  ระยะตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น มีหนาม ไว้ทำเสียง เพศเมีย มีปีกเรียบ และมีเข็มวางไข่อยู่ส่วนท้ายของลำตัว อายุวัยแก่ประมาณ 38 – 49 วัน

–  การผสมพันธุ์ ตัวเต็มวัยอายุ 3 – 4 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ตัวผู้จะขยับปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียงหลายจังหวะ หลายสำเนียงในการสื่อสารความหมายต่างๆ สำหรับการผสมพันธุ์จะเกิดตลอดช่วงอายุตัวเต็มวัย โดยตัวเมียจะขึ้นคร่อมบนหลังตัวผู้

–  การวางไข่ ตัวเมียเริ่มวางไข่เมื่อผสมพันธุ์ผ่านไป 3 – 4 วัน แบ่งการวางไข่เป็น 5 รุ่น วางไข่ได้เฉลี่ย 1,200 – 1,700 ฟอง/จีง โดยวางไข่ไว้ใต้ดิน และฟักออกเป็นตัวเมื่อไข่อายุครบ 7 วัน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา