ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทอเสื่อกกลายขิด

โดย : นางสมศรี โชคชัย วันที่ : 2017-04-19-16:40:38

ที่อยู่ : บ้านเวียงหลวง หมู่ 9 ตำบลโพนเมืองน้อย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ในรอบปีการผลิตจึงมีเวลาเหลือเช่นเดียวหมู่บ้านชนบททั่วไป ในพื้นที่ตำบลโพนเมืองน้อยมีทรัพยากรที่หลากหลาย การทอเสื่อกกของชุมชนบ้านเวียงหลวงเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาทอเสื่อกกมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น แรก ๆ เป็นการทอเพื่อใช้สอยในครัวเรือนและเป็นของฝากให้กับญาติที่มาเยี่ยมเยียน ต่อมาได้มีการพัฒนาและทำลวดลายเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เข้ากับยุคปัจจุบันตามความเหมาะสมและเป็นที่นิยมทั่วไป ที่ผ่านมายังไม่มีการรวมกลุ่มดำเนินการที่ชัดเจน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 ได้มีโครงการจังหวัดเคลื่อนที่มายังบ้านเวียงหลวง หมู่ที่ 9 ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน ทางกลุ่มได้นำผลิตภัณฑ์ประเภทเสื่อและหมอนที่ทำมาจากภูมิปัญญาของคนในชุมชน มาแสดงในงานจังหวัดเคลื่อนที่ และได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานโดยเฉพาะ สำนักงานพัฒนาชุมชน ให้ลงทะเบียนสินค้า OTOP เมื่อได้ไปขึ้นทะเบียน OTOP แล้วได้รับโอกาสคำแนะนำจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหัวตะพาน และเป็นพี่ลี้ยงมาโดยตลอด ต่อมา  วันที่ 10 พฤษภาคม 2559 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายองค์ความรู้ (KBO)ได้ประสานภาคเอกชน อาจารย์สุวิมล ศิลปะ มาให้คำแนะนำและสอนให้กลุ่มพัฒนาฝีมือให้ได้มาตรฐานพร้อมทั้งสอนวิธีทำลวดลายใหม่ ๆ  โดยเฉพาะลายที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม เพื่อจะนำไปแสดงในงานแสดงสินค้า OTOP ที่เมืองทองธานี กลุ่มมีการพัฒนาโดยการคิดลวดลายใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดและผู้สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรายได้ทางหนึ่งของกลุ่มแม่บ้านในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1.อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.เพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบประกอบด้วย

          ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอเสื่อกกมีการนำเอาวัตถุดิบในชุมชนมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างจากกลุ่มทอเสื่อกกทั่วไป คือ มีนำเอา หญ้าปริญญาหรือหญ้าหัวขอด ต้นกก และต้นไหล

อุปกรณ์ ->

1.ฟืม

2.กี่

3.เชือกไนล่อน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2.2 ขั้นตอนการผลิต     

          ขั้นตอนที่ 1  การสอย  ต้นกกและต้นไหล

            1.  ตัดต้นกกและต้นไหลสด

            2.  คัดเลือกต้นกกและต้นไหลที่มีขนาดเท่ากันไว้ด้วยกัน

            3.  นำต้นกกและต้นไหลที่คัดแล้วมาสอยเป็นเส้นเล็กโดยใช้มีดปลายแหลมคม(มีดแกะสลัก)

            4.  นำเส้นกกและต้นไหลที่สอยแล้วมาผึ่งแดด ให้แห้ง(ถ้าเป็นไปได้ต้องเป็นแดดที่กล้าจัด)

            5.  นำเส้นกกและต้นไหลสอยที่ตากแห้งแล้วมากมัดเป็นมัด ๆ รอการย้อมสี

          สำหรับหญ้าปริญญาหรือหญ้าหัวขอด ไม่ต้องสอย ให้ตัดเฉพาะดอกออกและนำไปตากแดดให้แห้ง

 

 ขั้นตอนที่ 2  การย้อมสี (อุปกรณ์ หม้อ มะกรูด น้ำส้มสายชู สี และเส้น กก ไหล และหญ้าปริญญา)

            1.  เลือกซื้อสีสำหรับย้อมกกสีต่าง ๆ ที่มีสีสันสวยงาม  เช่น สีแดง  สีชมพู  สีเหลือง  สีม่วง   สีดำ  สีเขียวเป็นต้น

            2.  ก่อไฟโดยไฟที่ใช้ต้องสม่ำเสมอ

            3.  นำปี๊ป หรือกระทะใส่น้ำพอประมาณท่วมเส้นกกนำมาตั้งบนเตารอให้น้ำเดือด

            4.  พอน้ำเดือดใส่ลูกมะกรูดและน้ำส้มสายชู และนำสีที่เลือกมาเทลง

            5. นำเส้นที่คัดเลือกแล้วลงย้อมจนเพียงพอที่จะใช้ในการทอ

            6.  นำเส้น ที่ย้อมสีแล้วลงล้างในน้ำเปล่าแล้วนำไปตากแดดที่จัดจนแห้ง

            7.  นำเส้น ที่ย้อมสีตากแห้งแล้วมาเก็บมัดรวมกัน โดยแยกเป็นสี แต่ละสี

  ขั้นตอนที่  3  การทอเสื่อกกลายขิด  ลายเวียงนาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มฯ (โฮง ฟืม เชือก ไม้สอดและเส้นกก ไหล และหญ้าปริญญา)

            1.  กางโฮงที่ทำสำเร็จรูปแล้วมากาง  (โฮงที่ใช้ขนาดทอคนเดียว)

            2.  นำเชือกในลอนสำหรับทอเสื่อมาโยงใส่ฟืมจนเสร็จ

            3.  ฟืมที่ใช้ต้องมีขนาดเท่ากับเส้นกกและฟืมแต่ละฟืมก็อาจจะใช้ทอลายไม่เหมือนกัน

4.  นำเส้นกกที่ย้อมสีตามจนแห้งแล้วนำมาทอเสื่อลายขิดตามต้องการซึ่งมีหลายลายด้วยกัน  ดังจะแสดงในรูปภาพ

5.  นำเส้นกกที่สอยและย้อมสีแล้วเลือกว่าจะใช้สีใดบ้างที่จะทอเสื่อ

            6.   เลือกลายแล้วเริ่มทอจนเป็นแผ่น

            7.  พอทอเสร็จก็ตัดแล้วหลังจากนั้นก็นำไปตากแดดเพื่อให้สีไม่ออก

            8.  หลังจากนั้นก็นำมาเก็บในที่ร่ม

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกลายต่าง ๆ

            1.  เสื่อที่พิมพ์แล้วนำมาเย็บต่อเป็นผืนโดยใช้จักรเย็บ

            2.  ออกแบบผลิตภัณฑ์ 

                        2.1  ออกแบบกล่องกระดาษใส่ทิชชู

                        2.2  ออกแบบผ้าม่าน

                        2.3  ออกแบบปลอกหมอนลายดอกจิก

                        2.4  ออกแบบที่รองโต๊ะ

                        2.5  ออกแบบชุดเฟอร์นิเจอร์รับแขกลายเวียงนาย

            3.  นำกระดาษแข็งที่เตรียมไว้แล้วมาตัดแบบตามที่ออกแบบ

            4.  นำเสื่อที่ทอไว้แล้วมาตัดตามแบบที่ออกไว้

            5.  นำเสื่อที่ตัดเอาไว้ตามแบบแล้วนำมาเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้ออกแบบเอาไว้

 ( ถ้าเป็นต้นกกหรือต้นไหลให้นำไปผ่าและสอยเป็นเส้นขนาดเดียวกัน )

ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอเสื่อกกลายขิดบ้านเวียงหลวง หมู่ที่ 9 ตำบลโพนเมืองน้อย ทางกลุ่มมีการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้า ผิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะแปรรูปเป็นของใช้ในครัวเรือน และตามความต้องการของลูกค้า เช่น เสื่อพับ กล่องทิชชู ปอกหมอน ชุดเฟอร์นิเจอร์รับแขก

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา