ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ช่างปูน

โดย : นายสีทน บุญสงค์ วันที่ : 2017-03-28-10:31:20

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ..๓๒ หมู่ที่ ๑๑ ตำบล เปือย อำเภอ ลืออำนาจ จังหวัด อำนาจเจริญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ด้วยความที่เกิดในครอบครัวยากจน จึงได้เล่าเรียนแค่ ป.๔ หลังจากที่จบแล้ว ก็ได้ไปทำงานรับจ้างกับพ่อและลุง เริ่มจากการเป็นลูกมือช่าง ได้หยิบจับ อุปกรณ์ต่างๆ ต่อมาลุงเห็นว่า เป็นคนที่หน่วยก้านดี จึงให้เป็นจับกัง ผสม อิฐ หิน ปูน ทราย โดยทำตามอัตราส่วนที่ กำหนด ได้มีความแม่นยำและเหมาะสม ในภาษาของช่างเรียกว่า ผสมปูนดี ได้น้ำ ได้เนื้อ  อีก ๑๐ ปี ต่อมาอยู่ในวัยทำงาน ได้เลื่อนขั้นจากจักกับ มาเป็นช่างใหญ่ ซึ่งในการเลื่อนขั้นนี้ไม่ได้มีการสอบแข่งขัน แต่ได้เลื่อนขั้นเพราะ ความสามารถในการทำงาน ซึ่งนายช่างใหญ่นั้น จะมีความรัยผิดชอบ มากขึ้น และได้รับค่าจ้างค่าตอบแทนที่สูงกว่า ลูกจ้างจับกังทั่วไป  จนกระทั่งเกิดชอบพอกับสาวคนหนึ่ง ซึ่งก็คือ ภรรยาในปัจจุบันนี้เอง พ่อและลุงก็ได้ไปทาบทาม สู่ขอสาวให้ และออกเรือนมาอยู่กินกับภรรยา และเริ่มออกหารับจ้างเอง โดยผู้ที่ว่าจ้างก็เห็นฝีมือและประสบการณ์ นานมาจึงได้ทำการว่าจ้างให้ก่อสร้าง ทำกำแพงบ้าน ทำรั้วบ้าน ทำถนน ทำบ้าน ให้ผู้ว่าจ้างหลายหลัง เหมือนกัน  ด้วยความขยัน ความอดทน  และประสบการณ์การทำงานก็สามารถทำให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตได้

วัตถุประสงค์ ->

1. ในด้านความคงทนแข็งแรง  จะเห็นได้ว่างานปูนเป็นงานที่คงทนต่อดินฟ้าอากาศได้ดี คงทนและถาวร ในระยะยาวนาน เช่น ถนนคอนกรีต อนุสาวรีย์ สะพานคอนกรีตตลอดจนตึกหลาย ๆ  ชั้นเป็นต้น

2. ในด้านรูปร่างและความสวยงาม จะเห็นได้ว่างานปูนนั้น เราสามารถทำเป็นรูปต่างๆ ได้ตามความต้องการ เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งยังทำลวดลายอื่น ๆ ได้อีก เช่น การทำบัว หินขัดหินล้าง ลายหินอ่อนเทียม เป็นต้น

             3. ในด้านเป็นวัสดุทนไฟ ทั้งนี้จะช่วยป้องกันหรือลดการเกิดอัคคีภัยได้เป็นอย่างดี

            4. ในด้านการประหยัดเนื่องจากคุณสมบัติในด้านความทนทาน แข็งแรง จึงเป็นการประหยัดในด้านก่อสร้างไปในตัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หิน  ทราย  ปูน

อุปกรณ์ ->

   1. เกรียงเหล็ก ขนาดต่างๆ 
   2. เกรียงไม้ 
   3. ประทับหรือบรรทัด ถือลวดบัว หรือจับเหลี่ยม
   4. ครก และสากไม้
   5. ตะแกรง สำหรับร่อนปูน และทราย
   6. อ่างดิน สำหรับพักหรือหมักปูน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(๑)    การเทพื้น ควรมีการปรับสภาพพื้นให้เรียบเสมอกันก่อน อาจจะมีการเพิ่มดินร่วน และอัดทับเพิ่มความแน่นและเรียบของพื้น และมีการรดน้ำเพื่อเพิ่มความแน่นของดินลงไปอีก

(๒)    อัตราส่วนในการผสมปูนเทพื้น  ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 260 กก. /ทรายหยาบ = 0.63 ลบ.ม./หินย่อยหรือกรวด = 1.03 ลบ.ม

(๓)    อัตราส่วนในการผสมปูนก่อคอนกรีตบล็อก  คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน/ปูนซีเมนต์ = 6.75 กก./ปูนขาว = 3.87 กก. /ทรายหยาบ = 0.03 ลบ.ม./น้ำ = 5 ลิตร

(๔)    อัตราส่วนในการผสมปูนฉาบ  ปูนซีเมนต์ = ๒๐ กก./ปูนขาว = ๗.๗ กก. /ทรายหยาบ = 0.03 ลบ.ม./น้ำ = ๓ ลิตร

ข้อพึงระวัง ->

1.     ชื่อเสียงของผู้รับเหมา ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด

2.     มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือไม่ มีตัวอย่างผลงานที่ชัดเจนหรือไม่

3.     หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงิน อย่าจ่ายเงินก่อนหรือจ่ายเงินจำนวนมากให้กับผู้เสียหาย

4.     ควรมีวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง หรือผู้ที่มีความรู้ทางช่างคอยช่วยเหลือควบคุมงานก่อสร้าง

5.     สัญญาว่าจ้างควรจะระบุค่าปรับให้ชัดเจน

6.     เมื่อมีการผิดสัญญาควรปรึกษาทนายความเพื่อบอกเลิกสัญญา และระงับการจ่ายค่าจ้าง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา