ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ด้านเศรษฐกิจพอเพียง,ปลาร้า,ด้านกาพย์ ด้านกลอน

โดย : นายจารุวิชญ์ ทองบุตร วันที่ : 2017-03-28-10:05:30

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 9 ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แต่เดิมเป็นครูสอนระดับประถมศึกษา สอนในวิชา การเกษตร ซึ่งจะมีเทคนิคการปลูก พืชต่างๆมาสอนนักเรียนอยู่เสมอ แต่พอเกษียณราชการแล้ว ด้วยความที่ไม่ชอบการอยู่นิ่ง จึงได้ขอแบ่งซื้อที่นาจากญาติพี่น้องประมาณ ๕ ไร่ แล้วได้ทำการแบ่งสัดส่วนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ  ๓๐ %,    ๓๐ % , ๓๐ % และ ๑๐ % แบ่งเป็น ทำนา ๒ ไร่ บ่อเลี้ยงปลา ๑ ไร่ ที่อยู่อาศัย  ๒ งาน ทำสวน ๑ ไร่ เลี้ยงสัตว์ ๒ งาน รวมเป็นพื้นที่ ๕ ไร่  ในพื้นที่ทำนาแรกเริ่มใส่เฉพาะข้าวเจ้าหอมมะลิ เพราะเป็นคนแก่ อยากให้ทานข้าวที่ย่อยง่าย แต่พอพักหลังกระแสข้าวไรซ์เบอร์รี่กำลังฟีเวอร์  จึงได้ไปหาพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่จากสำนักงานเกษตรอำเภอ จนได้มีการปลูกทั้งข้าวเจ้าหอมมะลิ และข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในนาข้าว ในส่วนของบ่อเลี้ยงปลาทำการเลี้ยงปลาดุก ปลาสวาย ปลานิล และได้สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ อยู่บนสระน้ำ ให้ไก่ได้ถ่ายมูลสัตว์ลงในบ่อน้ำ และเป็นอาหารให้ปลากิน ขอบสระมีผักบุ้งและผักกระเฉด เพิ่มสมดุลทางระบบนิเวศ และเป็นอาหารให้ปลาอีกด้วย ในการทำสวนได้ปลูกผักและปลูกพืชสมุนไพร ด้วยได้ผักไว้รับประทาน ได้พืชสมุนไพรไว้ด้วยเป็นการอนุรักษ์และไว้รักษาโรคเบื้องต้น  มีการเลี้ยงโค เพื่ออนุรักษ์ให้ ออกแพร่พันธุ์ อีกด้วยได้มูลสัตว์ ไว้เป็นปุ๋ยใส่ในไร่นาข้าว เป็นการลดต้นทุนการผลิตอีกทางหนึ่ง เนื่องจาก ชีวิตหลังเกษียณ ก็มีแค่ภรรยาที่อยู่ด้วยในส่วนของลูกๆก็ไปประกอบอาชีพตามที่ตนเองถนัดและ จึงใช้ชีวิตแค่เพียง ๒ ตายาย แต่ก็มีความสุขที่ได้หยิบ จับ ทำโน่น ทำนี่ ด้วยใจรักและศรัทธา ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

วัตถุประสงค์ ->

1. ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ

2. ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต

3. ลดความเสี่ยงจากการระบาดของศัตรูพืช

4. ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี

5. ช่วยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวพันธุ์ (Species Diversity)

6. ช่วยกระจายการใช้แรงงาน

7. ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน (Recycling) ของกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับไร่นา

8. ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน

9. ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ปลาขาวหรือปลาสร้อย

2. เกลือ

3. รำข้าว

อุปกรณ์ ->

ปลาสด  เกลือ  ข้าวคั่ว  ไม้ไผ่ขนาดยาวกว่าปากโอ่งเล็กน้อย 2 ชิ้น

ตาข่ายพลาสติก  โอ่งมังกรขนาดใหญ่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑)       กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

วิธีการขั้นตอน

(๑)    ศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน เพราะทุกการลงทุนย่อมมีต้นทุนเสมอ

(๒)    ร่วมในการอบรม การทำวิจัยต่างๆ เพื่อเสริมความรู้ของตนเอง และนำมาปรับประยุกต์ใช้ในไร่นาของตนเอง

ข้อพึงระวัง ->

ก่อนจะทำการปลุกพืชแต่ละต้นควรศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของต้นไม้ เช่น ต้นไม้บางชนิดก็ชอบ แดด รำไร บางต้นก็ชอบที่โล่งสว่างเพื่อการสังเคราะห์แสง  เพราะหากการปลูกโดยไม่ศึกษา ผลที่ตามมาคือความเสียหายและการขาดทุน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา