ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าพื้นเมือง

โดย : นางทองสวย โสมรักษ์ วันที่ : 2017-03-24-14:17:49

ที่อยู่ : 53 หมู่ 10 ตำบลปลาค้าว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากบ้านปลาค้าว  หมู่ที่ ๑๐ ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ   เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามยุทธศาสตร์ที่ ๑ การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท จำนวน ๓๘ หมู่บ้าน ของอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ   

                การเข้ามาร่วมโครงการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ของข้าพเจ้า นางทองสวย  โสมรักษ์  เป็นบุคคลที่ได้รับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน เป็นครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง  และเป็นบุคคลได้รับการยกย่องเชิดเกียรติ ในการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำรงชีพพอเพียง เป็นผู้มีความชำนาญในการทอผ้า และประสบผลสำเร็จ เชี่ยวชาญในการทอผ้า  จนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐ และเป็นบุคคลที่มีฐานข้อมูลเป็นปราชญ์ชาวบ้านของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองอำนาจเจริญ

                ก่อนเข้ามาร่วมโครงการฯ เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรม   อาชีพเสริมทอผ้า    และได้การยอมรับเป็นบุคคลต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   มีสมาชิกในครอบครัว  ๔ คน    อายุของข้าพเจ้า ๔๕ ปี (เกิด ๒ สิงหาคม ๒๕๑๕)  บ้านเลขที่ ๕๓ หมู่ที่ ๑๐ บ้านปลาค้าว ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

                มีผลงานที่โดดเด่น คือ  มีความเชี่ยวชาญ  การทอผ้า    และการทำไร่นาสวนผสม เกษตรทฤษฎีใหม่

วัตถุประสงค์ ->

ได้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน ธันวาคม ๒๕๕๙ เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ  โดยมีบทบาทและภารกิจ ทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”  และได้เข้าร่วมประชุมโครงการเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ  เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพและวางแผนปฏิบัติการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน

                ในช่วงระยะต่อมา ได้ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองอำนาจเจริญ  โดยขอรับการสนับสนุนพี่เลี้ยงทีมวิทยากรระดับอำเภอ  ดำเนินการตามโครงการเตรียมความพร้อมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  โดยพัฒนากรพี่เลี้ยงสนับสนุนคู่มือการปฏิบัติงาน งบประมาณ  ในการดำเนินงาน  ซึ่งข้าพเจ้า ได้คัดทีมงานปราชญ์ชาวบ้านของบ้านปลาค้าว จำนวน ๕ คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลปราชญ์ชุมชน หรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยมีการออกแบบ วางแผน และฝึกอบรม ในระยะเวลา ๓ วัน  โดยมีเนื้อหาที่สำคัญในการประชุมเพื่อพัฒนาความรู้  เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพในระดับหมู่บ้าน  ในการเตรียมความพร้อมให้กับครัวเรือนเป้าหมายอีก ๒๐ ครัวเรือน ที่ต้องการฝึกอาชีพต่อไป

                ในช่วงเวลา วันที่                       ข้าพเจ้าได้ร่วมกับทีมวิทยากรระดับอำเภอ ดำเนินการโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน ๒๐ ครัวเรือน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

                ๑. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนบ้านปลาค้าว หมู่ที่ ๑๐ ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๕ คน ดำเนินการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนของหมู่บ้าน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยมีทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และภาคีการพัฒนาให้การสนับสนุน  จำนวน ๕ วัน

                วันที่ ๑- ๓  สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาชีพที่ต้องการเรียนรู้

                วันที่ ๔  ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้   ณ กลุ่มทอผ้าขิดบ้านคำพระ  หมู่ที่ ๓ ตำบลคำพระ  อำเภอหัวตะพาน

                วันที่ ๕  ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมาย  ด้านย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ  โดยวิทยากรจากทีมปราชญ์ชาวบ้าน

                แผนการปฏิบัติขั้นสุดท้ายของทีมสัมมาชีพ  มีเป้าหมาจะจัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าสัมมาชีพ หมู่ที่ ๑๐ บ้านปลาค้าว ตำบลปลาค้าว สมาชิก   ๒๕ คน   และมีการระดมหุ้น ๆ ละ ๑๐๐ บาท     และจะนำกลุ่มไปลงทะเบียนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  ภายในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๐

                ๑.๓ เส้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หูก เป็นเครื่องมือสำหรับทอผ้า มีหลายขนาดและชนิด แต่มีหลักการพื้นฐานอย่างเดียวกัน คือ การขัดประสานระหว่างด้ายเส้นพุ่ง และด้ายเส้นยืน จนแน่นเป็นเนื้อผ้า

 





2. ฟืม หรือฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ  แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้ายที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า
 

 

 

3.กง   ใช้สำหรับใส่ไจหมี่

4.อัก ใช้สำหรับกวักหมี่ออกจากกง

5.หลักตีนกง (ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย)
 

 

 

6. หลา เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปั่นหลอด จากอักมาสู่โบกเพื่อทำเป็นทางต่ำ (เส้นพุ่ง) เข็นหรือปั่นหมี่ 2 เส้นรวมกัน เรียกว่า เข็นรังกัน เข็นควบกันหรือเข็นคุรกัน ถ้าเป็นหมี่คนละสี เข็นรวมกันแล้ว เรียกว่า มับไม ใช้แกว่งหมี่ ขั้นตอนนี้เป็นการเก็บปุ่มที่เรียกว่า ขี้หมี่ออกจากเส้นหมี่ และยังทำให้เส้นหมี่บิดตัวแน่นขึ้น ใช้ทำเป็นทางเครือ

 

 

 

7.กระสวย    ใช้บรรจุหลอดหมี่พุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้นหมี่ยืน ต้น และปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย

 

8. หลอดใส่ด้าย หลอดด้ายค้น (ลูกค้น) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการค้นเส้นด้าย โดยเส้นด้ายทุกเส้นจะถูกม้วนหรือพันเก็บไว้ในหลอดค้น ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 8 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 นิ้ว หลอดค้นทำจากไม้ไผ่

 

 

 

 

9.หลักเฝีย ใช้ในการค้นฝ้าย

 

 

 

 

10. โฮงมี่ ใช้สำหรับมัดหมี่ 

อุปกรณ์ ->

หูก เป็นเครื่องมือสำหรับทอผ้า มีหลายขนาดและชนิด แต่มีหลักการพื้นฐานอย่างเดียวกัน คือ การขัดประสานระหว่างด้ายเส้นพุ่ง และด้ายเส้นยืน จนแน่นเป็นเนื้อผ้า

 





2. ฟืม หรือฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ  แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้ายที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า
 

 

 

3.กง   ใช้สำหรับใส่ไจหมี่

4.อัก ใช้สำหรับกวักหมี่ออกจากกง

5.หลักตีนกง (ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย)
 

 

 

6. หลา เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปั่นหลอด จากอักมาสู่โบกเพื่อทำเป็นทางต่ำ (เส้นพุ่ง) เข็นหรือปั่นหมี่ 2 เส้นรวมกัน เรียกว่า เข็นรังกัน เข็นควบกันหรือเข็นคุรกัน ถ้าเป็นหมี่คนละสี เข็นรวมกันแล้ว เรียกว่า มับไม ใช้แกว่งหมี่ ขั้นตอนนี้เป็นการเก็บปุ่มที่เรียกว่า ขี้หมี่ออกจากเส้นหมี่ และยังทำให้เส้นหมี่บิดตัวแน่นขึ้น ใช้ทำเป็นทางเครือ

 

 

 

7.กระสวย    ใช้บรรจุหลอดหมี่พุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้นหมี่ยืน ต้น และปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย

 

8. หลอดใส่ด้าย หลอดด้ายค้น (ลูกค้น) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการค้นเส้นด้าย โดยเส้นด้ายทุกเส้นจะถูกม้วนหรือพันเก็บไว้ในหลอดค้น ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 8 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 นิ้ว หลอดค้นทำจากไม้ไผ่

 

 

 

 

9.หลักเฝีย ใช้ในการค้นฝ้าย

 

 

 

 

10. โฮงมี่ ใช้สำหรับมัดหมี่ 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมเส้นไหม

 

    จะต้องนำเส้นมาคัดเส้นไหมที่มีขนาดเส้นสม่ำเสมอ และมีการตกแต่งไจไหมที่เรียบร้อย คือ เส้นไหมจัดเรียงแบบสานกันเป็นตาข่ายหรือเรียกชื่อทางวิชาการว่าไดมอนด์ครอส มีการทำไพประมาณ 4-6 ตำแหน่ง ขนาดน้ำหนักไหมต่อไจโดยประมาณ 80-100 กรัม ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในขั้นตอนการลอกกาว ย้อมสี และการกรอเส้นไหม

การลอกกาวเส้นไหมทั้งเส้นพุ่งเส้นยืน โดยวิธีการใช้สารธรรมชาติ

 

       การเตรียมสารลอกกาวธรรมชาติ นำกาบต้นกล้วยมาทำการเผาไฟจนกระทั่งเป็นขี้เถ้า นำขี้เถ้าไปแช่น้ำใช้ไม้คนให้ทั่ว ปล่อยทิ้งไว้ให้ขี้เถ้าตกตะกอนแบ่งชั้นน้ำและตะกอน ทำการกรองน้ำใสที่อยู่ส่วนบนชั้นตะกอนด้วยผ้าบาง สารที่ได้ คือสารลอกกาวธรรมชาติ นำเส้นไหมที่ได้เตรียมไว้แล้วมาทำการต้มลอกกาวด้วยสารลอกกาวธรรมชาติดังกล่าวโดยใช้ในสัดส่วนของสารลอกกาวต่อเส้นไหมโดยประมาณ30:1 ในระหว่างการต้มลอกกาวจะมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 90-95 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 90 นาที ในระหว่างการต้มลาวกาว ให้ทำการกลับเส้นไหมในหม้อต้มลาวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กระบวนการลอกกาวเส้นไหมสมบูรณ์ นำเส้นไหมที่ทำการลอกกาวเสร็จเรียบร้อยออกจากหม้อต้ม นำไปล้างน้ำร้อนน้ำอุ่น แล้วบีบน้ำออกจากเส้นไหม นำเส้นไหมไปตากผึ่งแห้งที่ราวตาก ทั้งนี้ให้ทำการกระตุกเส้นไหมเพื่อให้มีการเรียงเส้นไหมในแต่ละไจ อย่างเรียบร้อย นั่นคือการลอกกาวเส้นไหม เราก็จะได้เส้นไหมที่พร้อมจะย้อมสี เพื่อนำไปทอผ้าต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

การย้อมสีผ้า  จะต้องมีความชำนาญการเฉพาะด้าน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา