ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้า

โดย : นางบุญยืน แสนเลิง วันที่ : 2017-03-24-14:08:26

ที่อยู่ : 12 หมู่ 7 ตำบลปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากบ้านถ่อนเหนือ  หมู่ที่ 7 ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ   เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามยุทธศาสตร์ที่ ๑ การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท จำนวน ๓๘ หมู่บ้าน ของอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ   

                การเข้ามาร่วมโครงการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ของข้าพเจ้า นางทองสวย  โสมรักษ์  เป็นบุคคลที่ได้รับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน เป็นครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง  และเป็นบุคคลได้รับการยกย่องเชิดเกียรติ ในการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำรงชีพพอเพียง เป็นผู้มีความชำนาญในการทอผ้า และประสบผลสำเร็จ เชี่ยวชาญในการทอผ้า  จนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐ และเป็นบุคคลที่มีฐานข้อมูลเป็นปราชญ์ชาวบ้านของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองอำนาจเจริญ

                ก่อนเข้ามาร่วมโครงการฯ เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรม   อาชีพเสริมทอผ้า    และได้การยอมรับเป็นบุคคลต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   มีสมาชิกในครอบครัว  ๔ คน    อายุของข้าพเจ้า 50 ปี (เกิด 22 กย.2510)  บ้านเลขที่12 หมู่ที่ 7 ถ่อนเหนือ ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

                มีผลงานที่โดดเด่น คือ  มีความเชี่ยวชาญ  การทอผ้า    และการทำไร่นาสวนผสม เกษตรทฤษฎีใหม่

วัตถุประสงค์ ->

  • การขิด  ขิด  หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา  โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง  ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
  • การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ  เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ซิ่นตีนจก”
  • การทอมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่น จะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาด เคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็น อย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หูก  ,ฟืม 3.กง   ใช้สำหรับใส่ไจหมี่

4.อัก ใช้สำหรับกวักหมี่ออกจากกง

5.หลักตีนกง (ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย)

หลา, กระสวย ,หลอดใส่ด้าย,  

.หลักเฝีย ใช้ในการค้นฝ้าย

โฮงมี่ ใช้สำหรับมัดหมี่ 

อุปกรณ์ ->

หูก  ,ฟืม 3.กง   ใช้สำหรับใส่ไจหมี่

4.อัก ใช้สำหรับกวักหมี่ออกจากกง

5.หลักตีนกง (ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย)

หลา, กระสวย ,หลอดใส่ด้าย,  

.หลักเฝีย ใช้ในการค้นฝ้าย

โฮงมี่ ใช้สำหรับมัดหมี่ 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน  และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ
ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน
แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้ พอเหมาะ

ข้อพึงระวัง ->

การย้อมสีผ้า และให้เป็นสีต่างๆ  ต้องมีความชำนาญเฉพาะ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา