ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

โดย : นายสมพงษ์ คำภาคย์ วันที่ : 2017-03-08-15:40:23

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 229/1 บ้านคำปะกั้ง หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายสมพงษ์  คำภาคย์ ได้รับคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน  ของสถานีพัฒนาที่ดินหนองคาย  ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้  ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับดิน และการจัดการการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด  หลังจากเป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านก็ได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับหมอดินหลายด้าน  เช่น  การผลิตปุ๋ยชีวภาพ  การทำเกษตรทฤษฎีใหม่  การปรับปรุงบำรุงดิน  การอนุรักษ์ดินและน้ำ  การปลูกพืชคลุมดิน  เมื่อได้รับความรู้มาแล้วก็นำความรู้มาทดลองปฏิบัติเป็นต้นแบบของหมู่บ้านในการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ชาวบ้าน ต่อมามีการรวมกลุ่ม จัดตั้งเป็นกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยชีวภาพ บ้านคำปะกั้ง” ขึ้น และนายสมพงษ์  คำภาคย์ ได้ดำรงตำแหน่ง รองประธานกลุ่มฯ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการลดรายจ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ส่วนผสมของปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด
       1. มูลวัว
       2. มูลไก่
       3.แกลบดิน
       4.รำละเอียด
       5.น้ำจุลินทรีย์
       6.กากน้ำตาลโมลาส
       7.น้ำ

อุปกรณ์ ->

ส่วนผสมของปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด
       1. มูลวัว
       2. มูลไก่
       3.แกลบดิน
       4.รำละเอียด
       5.น้ำจุลินทรีย์
       6.กากน้ำตาลโมลาส
       7.น้ำ

เครื่องอัดเม็ด ปุ๋ยชีวภาพ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทำปุ๋ยอัดเม็ด
            เตรียมพื้นที่เรียบอยู่ในที่ร่ม แล้วนำมูลไก่ตากแห้ง มูลวัวตากแห้ง แกลบดิน ซึ่งเป็นสารอาหาร ทำให้ได้   ซิลิก้าและดินร่วนซุย นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำน้ำจุลินทรีย์ กับกากน้ำตาลโมลาสมาผสมน้ำให้เข้ากัน แล้วนำมาราดบนกองปุ๋ยที่ผสมเอาไว้ เพื่อเป็นหัวเชื้อให้มูลต่างๆ ย่อยง่าย และช่วยดับกลิ่นมูล ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็น อย่าใส่มากเพราะจะทำให้ปุ๋ยแฉะ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
          ตรวจสอบความชื้นให้ประมาณ 50% วิธีตรวจสอบง่ายๆ คือ ใช้มือกำปุ๋ยที่คลุกผสม ได้ที่แล้ว กำแล้วน้ำต้องไม่ไหลออกจากอุ้งมือ เมื่อแบมือออกปุ๋ยจะเป็นก้อนเล็กน้อย
          เทรำละเอียดลงบนกองปุ๋ย ทำการผสมให้เข้ากันแล้วเกลี่ยให้กองปุ๋ยสูง 1 เมตร คลุมด้วยกระสอบป่านแล้วหมักทิ้งไว้ 7 วัน  การหมักปุ๋ยทำให้เกิดอุณหภูมิสูง ต้องกลับปุ๋ยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดอุณหภูมิโดยการใช้ปรอทเป็นตัววัด ทำการวัดที่กองปุ๋ย โดยไม่ให้อุณหภูมิเกิน 70 องศา ถ้าหากอุณหภูมิเกิน 70 องศา จะทำให้จุลินทรีย์ในปุ๋ยตาย แล้วปุ๋ยก็จะใช้ไม่ได้ ทำการกลับปุ๋ยตลอด 7 วัน ความร้อนจะค่อยๆ ลดลง แล้วจึงนำไปใช้ได้  ใช้เครื่องบดอาหารกุ้งหรืออาหารปลา ทำการใส่ปุ๋ยผสมกับดินลงในกระบะ ตัวเครื่องจะหมุนไปเรื่อยๆ แล้วทำการขยำปุ๋ยให้ร่วน ใส่ลงเครื่องบด หมั่นเติมน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ ดินมีความเหนียวมาก ปุ๋ยอัดเม็ดจะนิ่มเกินไปไม่เป็นก้อน
            ใช้คราด เกลี่ยกองปุ๋ยให้แตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วทำการตักใส่ผ้ารอง นำไปตากแดดแล้วบรรจุใส่ถุง

 

ข้อพึงระวัง ->

ขั้นตอนสำคัญของการทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด อยู่ที่การใส่น้ำเชื้อจุลินทรีย์ผสมกับน้ำตาลโมลาสนั้น จะต้องใส่ในปริมาณที่พอดีอย่าให้แฉะ และหมั่นปรับอุณหภูมิของปุ๋ย โดยการพลิกปุ๋ยวันละ 2 ครั้ง วัดอุณหภูมิอย่าให้เกิน 70 องศา เพราะจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตายปุ๋ยใช้ไม่ได้

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา