ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เกษตรระบบผสมผสาน (ไร่นาสวนผสม)

โดย : นายนิคม ศรีษะ วันที่ : 2017-03-08-15:42:36

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 89 บ้านคำตอยูง หมู่ที่ 7 ตำบลเซิม อำเภอโพนพิสัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

         นายนิคม  ศรีษะ เป็นเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการเกษตรมาจากสมัยรุ่นปู่ย่า ตา

ยาย โดยเริ่มต้นจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม คือ ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ ก็ทำเฉพาะอย่าง ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ ต่อมาได้รับการแนะนำ จาก ธกส. และเกษตรอำเภอให้เข้าร่วมการอบรม การทำการเกษตรรูปแบบใหม่ คือการเกษตรผสมผสาน และได้นำมาลองทำ ซึ่งเหตุผลที่มาทำเกษตรผสมผสาน คือ
           1) รายได้ของครัวเรือนไม่แน่นอน
           2) เศษวัสดุจากพืชและมูลสัตว์ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
           3) การผลิตสินค้าการเกษตรบางชนิดใช้เงินลงทุนมาก
           4) ครัวเรือนต้องพึ่งพิงอาหารจากภายนอก
       ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการที่หาระบบการผลิตในไร่นา ที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการผลิต ลดการพึ่งพิงเงินทุน ปัจจัยการผลิตและอาหารจากภายนอก เศษพืชและมูลสัตว์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกิจกรรมการผลิต ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและทำให้ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้นโดยเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆเพียงไม่กี่ไร่ ปัจจุบันขยาย พื้นที่ ถึง 10 ไร่ โดยได้ ปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกเพกาเตี้ย กล้วยน้ำว้า มะม่วง มะละกอ ทำนา เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงปลา เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

 1) การมีรายได้ของครัวเรือนที่แน่นอน
           2) เศษวัสดุจากพืชและมูลสัตว์ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
           3) ใช้ภูมิปัญญาที่มีให้เกิดประโยชน์
           4) ครัวเรือนได้พึ่งพิงอาหารจากการทำ

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ระบบเกษตรผสมผสาน เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นต้น
ตามแนวคิดดังกล่าวมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
 1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป
 2) ต้องเกิดการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมต่างๆ

วิธีการแบ่งสัดส่วนกิจกรรมเกษตรระบบผสมผสาน
 เกษตรผสมผสานเป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร การจัดการพื้นที่แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 30:30:30:10    ดังนี้                                

  ขุดสระเก็บกักน้ำ  
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ
         ปลูกข้าว 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้
     

 

 

 

 

         ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้

          เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ นี่เป็นทฤษฎีปฏิบัติจริง พื้นที่เป็นนาทั้งหมดหรือไร่สวนด้วย

ข้อพึงระวัง ->

ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ ไม่ทำเกินตัว

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา