ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทอผ้ามัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ

โดย : นางบุญค่ำ หอมสมบัติ วันที่ : 2017-03-08-15:38:19

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑ บ้านโคกสง่า หมู่ที่ 6 ตำบลเซิม อำเภอโพนพิสัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                ในปี พ.ศ.2544 พัฒนากรประจำตำบลได้เข้ามาจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตขึ้น และได้นำคณะกรรมการและสมาชิกไปศึกษาดูงานเรื่องการทอผ้า ที่บ้านวาใหญ่ จังหวัดสกลนคร หลังจากกลับจากการศึกษาดูงาน นางบุญค่ำ  หอมสมบัติ ซึ่ง เป็นประธานคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ได้ประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อหาอาชีพเสริมหลังฤดูการทำนา หลาย ๆ คนมีความสามารถและความถนัดในเรื่องการทอผ้าซึ่งเป็น ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และได้เห็นรูปแบบการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าจากบ้านวาใหญ่ จึงตกลงกันจัดตั้งกลุ่มโดยมีการระดมทุนจากสมาชิกทุกคน เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทอผ้ามัดหมี่ และได้คิดค้นหาวิธีย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (จากเปลือกไม้ ใบไม้) โดยช่วยกันลองผิดลองถูกศึกษาด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ ต่อมากลุ่มฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด จำนวน 8,000 บาท และได้จดทะเบียนการจัดตั้งกลุ่ม เป็นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านโคกสง่า   

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ให้กับคนในชุมชน

2.เป้นการรวมกลุ่ม สร้างความสามัคคี

3.เป้นการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาดั้งเดิม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า

กี่หรือหูก เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้า ให้เป็นผืนตามลวยลายที่ต้องการ
ฟันหวีหรือฟืม มีลักษณะเป็นกรอบโลหะภายในเป็นซี่ถี่ ๆ คล้ายหวี แต่ละเส้นจะใช้เส้นด้ายยืนสอด เข้าไปช่องละเส้น เรียงลำดับตามความกว้างของหน้าผ้าจัด เส้นยืนให้อยู่ห่างกนตามความละเอียดของผ้า
ตะกอหรือเขา มีลักษณะเป็นกรอบไม้ หรือโครงเหล็ก ภายในทำด้วยลวด หรือซี่โลหะเล็ก ๆ มีรูตรงกลางสำหรับร้อยด้ายยืน ปกติมี 2 ชุด ถ้าเพิ่มตะกอมากขึ้น จะสามารถสลับลายได้มากขึ้น.
ไม้ไขว้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเส้นด้ายให้เป็นระเบียบ
ไม้ค้ำ ไม้ที่ใช้สอดด้ายเส้นยืน เพื่อทำให้เกิดลวดลายในการทอ ด้วยเทคนิคพิเศษ
ไม้หาบหูก ใช้ประโยชน์ในการดึงด้ายให้ตึง
ไม้ดาบหรือไม้หลาบ มีขนาด 2 - 3 นิ้ว ลักษณะแบนยาว ใช้สอดผ่านด้ายยืน แล้วผลิกขึ้นทำให้เกิดช่องว่างให้กระสวยพุ่งผ่าน
ไม้แป้นกี่ ที่นั่งของผู้ทอ บางแห่งใช้ไม้แผ่น บางแห่งใช้ไม่ไฝ่ สอดด้วยแผ่นไม่ที่ใช้รองนั่ง
เชือกเขา ใช้ดึงเขากับไม้หางหูก ให้ตึง
แกนม้วนผ้า เป็นแกนที่อยู่ตรงกันข้ามกับแกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ย้อมสี

ขั้นตอนการย้อม
การย้อมนั้นแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การย้อมเย็นและการย้อมร้อน 
- การย้อมเย็น นั้นจะนิยมย้อมในหม้อดิน โดยการเตรียมน้ำสีใส่ไว้ในหม้อ จากนั้นนำเส้นฝ้ายไปจุ่มลงในหม้อ ใช้มือคน บีบ จนกระทั่งได้สีตามต้องการ หรือจะทำการหมักไว้เพื่อให้สีที่ได้เข้มขึ้น
- การย้อมร้อน เป็นการนำเส้นฝ้ายไปต้มในหม้อที่ใส่น้ำสี ใช้ไม้คนเพื่อให้ฝ้ายโดนน้ำสีอย่างทั่วถึง เมื่อได้สีตามต้องการจึงนำไปซักและตากแห้งซึ่งการย้อมร้อนมีขั้นตอนดังนี้
1. นำเส้นฝ้ายที่จะไปทำการย้อม มาซักด้วยน้ำสะอาดเพื่อขจัดฝุ่นผงและไขต่าง จากนั้นบีบน้ำออกให้หมาดเพื่อให้สีที่ ย้อมติดเส้นฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ
2. นำเส้นฝ้ายที่บีบหมาดแล้วลงไปต้มในหม้อน้ำสี คนฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สีเข้าไปในเส้นฝ้ายอย่างทั่วถึงประมาณ 30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาย้อม)
3. เมื่อได้สีตามต้องการ นำเส้นฝ้ายขึ้นจากหม้อต้ม บิดให้หมาด นำไปซักด้วยน้ำ สะอาด แล้วตากให้แห้ง ถ้าต้องการให้สีเข้มขึ้นสามารถนำมาต้มอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะได้สีตามต้องการ

ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวีดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะกรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่านสลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ 
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ

ข้อพึงระวัง ->

วิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องใช้ความอดทนและชำนาญ

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา