ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเกษตรผสมผสาน

โดย : นายแสงเพชร มหาฤทธิ์ วันที่ : 2017-05-22-13:12:45

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 80 หมู่ 4 ตำบลเหล่าต่างคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากในปัจจุบันมีการปลูกพืชเชิงเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกิดผลกระทบจากเศรษฐกิจและความต้องการตลาดผันผวนทำให้เกษตรขาดภูมิคุ้มกันและความมั่นคงทางชีวิต ดั้งนั้นจึงเกิดความตระนักได้ว่าหลักการของเกษตรเชิงเดี่ยวไม่ใช่ทางออกของการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงหันมาดำเนินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมองจากต้นเอง ความต้องการพื้นฐานความพอประมาณความมีเหตุผลและสร้างภูมิคุ้มกันในต้นเอง ยึดหลักปลูกในสิ่งที่กินกินในสิ่งที่ปลูก ให้ธรรมชาติดูแลธรรมชาติ กินอาหารให้เป็นยาและไม่เบียดเบียนตนเองคนอื่นและธรรมชาติ 

 

วัตถุประสงค์ ->

- สร้างความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงทางชีวิต 

-ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และความสุข

-สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ชีวิตไม่อิงตามระบบทุนนิยม 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

- จอบ      -เสียม     -ถัง          -บัวรดน้ำ                                -คราด     -มีด         -พร้า  -พลั่ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสาน ก่อนอื่นต้องดูสภาพดินก่อน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สภาพดินเหมาะกับการปลูกพืชอะไรได้บ้าง การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เมื่อรู้แล้วว่าจะปลูกพืชอะไร ก็ดูว่า สัตว์ที่จะเลี้ยงนั้น เอื้อประโยชน์กับพืชที่ปลูกอย่างไรบ้าง ใช้เป็นอาหารหรือใช้ประโยชน์อะไรจากพืชและสัตว์ มีการเอื้อประโยชน์ต่อกันอย่างไร

ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นการผสมผสานที่ดี โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมการเกษตรควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามอาจสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ ในการจัดการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร ให้มีการผสมผสานเกื้อกูลกัน อย่างได้ประโยชน์สูงสุดนั้นควรจะมีกิจกรรมหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกันไปด้วย เนื่องจากพืชและสัตว์ มีการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีห่วงโซ่ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันอยู่ พืชโดยทั่วไปมีหน้าที่และบทบาทในการดึงเอาแร่ธาตุในดิน อากาศ และพลังงานจากแสงแดดมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปของอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ ที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ สำหรับสัตว์นั้น สัตว์ไม่สามารถบริโภคอากาศและแร่ธาตุที่จำเป็นโดยตรง แต่จะต้องบริโภคอาหารจากพืชอีกต่อหนึ่ง เมื่อสัตว์นั้นขับถ่ายของเสีย หรือตายลงก็จะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับพืช วงจรความสัมพันธ์เช่นนี้ จะหมุนเวียนไปรอบแล้วรอบเล่า จนกลายเป็นห่างโซ่ความสัมพันธ์ของสัตว์ ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ระบบกิจกรรมปัจจุบันที่เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอย่างเดียวในพื้นที่กว้างขวาง จึงสร้างผลกระทบต่อสมดุลระหว่างพืชกับสัตว์ และก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศในที่สุด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา