ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายสัมพันธ์ ปานิวงศ์ วันที่ : 2017-03-09-09:59:57

ที่อยู่ : 40 บ้านดงเว้น หมู่ที่ 5 ตำบลโพนสว่าง อำเภอเมืองหนองคาย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แต่ก่อนทำนาเพียงอย่างเดียว ผลผลิตบางฤดูกาลก็ขาดทุน จนมาพบกับเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้เรียนรู้จากหน่วยงานราชการที่นำมาถ่ายทอดแล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับเข้ากับตนเอง จนทำให้ปัจจุบัน มีการทำเกษตรผสมผสานหลายอย่าง ทดแทนซึ่งกันและกัน และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆแล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับตนเอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ที่นา   พันธ์พืช ไม้ยืนต้น  ไม้ผล ไม้ล้มลุก  พืชผัก   สระน้ำ  ปุ๋ยคอก/ปุ่๋ยชีวภาพ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

                                ด้านพื้นที่            

                1.เกษตรกรแบ่งพื้นที่บางส่วนมาจัดทำไร่นาสวนผสมซึ่งในระยะแรกรายได้ที่เกิดจากการทำไร่นาสวนผสม ยังมีรายได้ไม่มากนัก จะมีรายได้จากบางส่วนของกิจกรรมเท่านั้น เช่น พืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ สัตว์และประมง

                2. ในกรณีสภาพพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่ทำนาเดิมหากเกษตรกรคิดจะปลูกไม้ผลควรที่จะยกร่องไม้ผลและมีคันดินล้อมรอบแปลงไม้ผล เนื่องจากในฤดูฝนจะมีน้ำมาก อาจจะท่วมแปลงทำให้เกิดความเสียหายได้

 

-2-

 

                3.ในกรณีสภาพพื้นที่ค่อนข้างลุ่มมากมีน้ำท่วมเป็นประจำเกษตรกรอาจจะขุดบ่อเพื่อเลี้ยงปลาหรือทำนาบัว นาผักบุ้ง นาผักกระเฉด เป็นต้น

                4. สำหรับพื้นที่ดอนในการทำสวนไม้ผลควรมีสภาพพื้นที่มีความลาดชันไม่เกิน 30% สภาพดินมีหน้าดินลึกกว่า 1 เมตร และดินชั้นล่างต้องไม่เป็นดินดานแข็งหรือศิลาแลง

                5. ในกรณีที่สภาพดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวและดินที่มีปัญหาอื่นๆ ควรดำเนินการปรับปรุงดินเหล่านี้เสียก่อน โดยวิธีการทางวิชาการ เช่น การเพิ่มวัสดุลงไปในดิน ( ปูนขาว ปูนมาร์ล แกลบ เป็นต้น ) การใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยพืชสดการปลูกพืชหมุนเวียนบำรุงดิน เป็นต้น

                                ด้านแหล่งน้ำ

                1. ควรมีสระน้ำ คูคลอง ร่องน้ำ หรือแหล่งน้ำ ระดับไร่นาเสริมในฤดูแล้งประมาณ 30% ของพื้นที่ โดยประมาณการไว้ว่าพื้นที่การเกษตร 1 ไร่ มีความต้องการน้ำ1,000 ลูกบาศก์เมตร เช่น พื้นที่การเกษตร 10 ไร่ ควรมีแหล่งน้ำซึ่งสามารถมีความจุของนํ้าประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร

                2. บ่อน้ำบาดาล เพื่อใช้ในฤดูแล้งโดยเฉพาะพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ

                3.บ่อปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและเพิ่มรายได้ ในฤดูแล้งสามารถอาศัยน้ำในบ่อใช้กับพืชบริเวณขอบบ่อปลา พืชผักสวนครัว เป็นต้น

                4. อาศัยน้ำชลประทาน การสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

                                ด้านเงินทุน

                1. งบประมาณการลงทุนในการทำไร่นาสวนผสมในระยะแรกจะมีค่าลงทุนค่อนข้างสูง เช่น การปรับสภาพพื้นที่ปลูกพืชการขุดบ่อปลาเพื่อสร้างแหล่งน้ำการสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์การเกษตร ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระยะแรกๆ ของการผลิตกิจกรรม ( ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนกิจกรรมจะเริ่มให้ผลผลิต )ดังนั้นควรพิจารณากิจกรรมเสริมให้ผลเร็วในช่วงแรก ๆ เพื่อที่จะนำรายได้มาเพื่อการดำรงชีพและดำเนินการผลิต

                2. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตไร่นาสวนผสมต้องพิจารณาถึงชนิดและจำนวนกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณเงินทุนที่มีอยู่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายด้านพันธุ์พืช/สัตว์ ค่าปุ๋ยเคมี อาหารสัตว์ ค่าสารเคมีค่าแรงงานจ้างและอื่นๆ ซึ่งจะต้องหมุนเวียนเกิดขึ้นในฟาร์มอยู่ตลอดเวลาในช่วงการผลิตนั้น ๆ

                          ด้านกิจกรรมการผลิต

                1. ในการผลิตทางการเกษตรควรพิจารณากิจกรรมการเกษตร ( พืช สัตว์ ประมง ) ในเชิงกิจกรรม

     1.1 กิจกรรมที่ทำรายได้ ( ด้านเศรษฐกิจ ) เช่น ไม้ผล พืชผักเศรษฐกิจ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไร่ สัตว์และประมง

     1.2กิจกรรมด้านอาหารเช่น ข้าว พืชไร่ พืชผักสวนครัว พืชผักสมุนไพรไม้ผลบางชนิด( มะพร้าว กล้วย มะละกอ ไผ่ตง ) การเลี้ยงปลา และการลี้ยงสัตว์ปีก เป็นต้น

     1.3 กิจกรรมด้านใช้สอย เช่น ไผ่รวก ไผ่สีสุก สะเดาเทียม กระถินเทพา ยูคาลิปตัส สัก  เป็นต้น

-3-

 

                   1.4 กิจกรรมด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละฟาร์ม แต่ละพื้นที่

                2. กรณีปลูกไม้ผลในช่วงระยะ 1 – 3 ปีแรก ยังไม่ให้ผลผลิตและรายได้เกษตรกรควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวในสวนไม้ผล เช่น พืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับหรือไม้ผลบางชนิด เช่น มะละกอ กล้วย เป็นต้น

                3.กรณีแปลงไม้ผลที่พื้นที่ลุ่มจะต้องจัดทำคันดินล้อมรอบแปลงไม้ผลพื้นที่บริเวณดังกล่าวสามารถปลูกมะพร้าวอ่อน กล้วย มะละกอ ไผ่ตง พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับเป็นต้น

                4. การปลูกไม้ผลบางครั้งสามารถปลูกแบบผสมผสานกันได้ในแปลงเดียวกันเช่นมะม่วงกับขนุน กระท้อนกับส้มโอ หรือพืชผัก เช่น มะเขือ พริก แตงกวา ถั่วฝักยาวเป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา