ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนาปลอดสารพิษ

โดย : นายวราพล ร่างกาย วันที่ : 2017-03-17-11:41:27

ที่อยู่ : 111 หมู่ที่ 2 ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มื่อเกี่ยวข้าวแล้วก็กระจายฟางข้าวให้ทั่วนา(เดี๋ยวนี้มีเครื่องกระจายฟางข้าวติดตั้งท้ายรถเกี่ยวข้าว) แช่ตอซังและฟางข้าว โดยใข้น้ำหมักชีวภาพ ไร่ละประมาณ 5 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร/กากน้ำตาล 5 กก. โดยปล่อยไปตามช่องน้ำบ้าง เดินสาดรอบๆนาหรือใช้เครื่องฉีดพ่นให้ทั่ว ถ้าฟางเยอะๆก็ใช้ขลุบย่ำฟางจมน้ำแช่ไว้ประมาณ 7-10 วัน หรือถ้าจ้างรถตีดินก็สามารถตี-ย่ำฟางจมได้เลย จากนั้นก็ใช้ขลุบทำเทือกสัก 2-3 รอบปรับนาเรียบ ถ้ารีบก็หว่านข้าวได้เลย ถ้าไม่รีบก็ทิ้งไว้ 10-15 วัน ล่อให้หญ้าขึ้นและเมล็ดข้าวที่ตกค้างในนาขึ้นมา แล้วทำเทือกอีกครั้งจึงหว่านข้าวลงไป วิธีนี้ทำให้หญ้าลดลงไปได้มาก นา 1 ไร่จะมีฟางข้าวประมาณ 1 ตัน ทำให้เราได้อินทรีย์วัตถุชั้นดี ทำให้ดินนุ่มชุ่มชื้น ฟางที่เน่าเปื่อยจะเป็นอาหารของหอยเชอรี่ เวลาข้าวเริ่มงอกขึ้นมา หอยจะไม่ค่อยมากัดกินต้อนข้าวอ่อน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมข้าวปลูก
การทำนาไร้สารพิษ ใช้พันธุ์ข้าวปลูกไร่ละถังครึ่ง (15 กก.) เพราะข้าวจะแตกกอได้อีก ไม่ต้องใช้มาก เวลาแช่น้ำใส่น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร แช่ข้าว 1 คืน จึงตักข้าวใส่กระสอบแล้วบ่มต่ออีก 1 วัน กับ 1 คืน แล้วจึงน้ำไปหว่าน หากเราปล่อยน้ำออกจากนาที่เราทำเทือกไว้ แล้ววันรุ่งขึ้นจึงหว่านข้าวปลูก จะทำให้หอยเชอรี่ฝังตัวจมในโคลน ไม่คลานมากัดกินข้าว ทำให้ไม่ต้องไม่ต้องใช้ยาฆ่าหรือกำจักหอยเชอรี่ ปล่อยข้าวให้โตอายุประมาณ 25 วัน จึงค่อยปล่อยน้ำเข้านา แม้ว่าดินจะแตกระแหงบ้าง แต่ความชุ่มชื่นจากฟางข้าวที่อยู่ในดิน ทำให้ข้าวยังเขียวอยู่ ข้าวที่โตขนาดนี้หอยเชอรี่จะไม่รบกวน และเป็นการควบคุมหญ้าไม่ให้มีมากจนเป็นอันตรายต่อต้นข้าว 

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ชาวนาส่วนใหญ่คิดว่าการใส่ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) เพื่อให้ต้นข้าวพุ่งสูงเร็วๆ เขียวเร็วๆ เป็นปุ๋ยที่ดี ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด อาการเขียวเร็ว พุ่งเร็วของต้นข้าวนั้น เกิดจากกระบวนการเร่งสารเคมีที่ผิดธรรมชาติ ทำให้ต้นข้าวมีโครงสร้างที่อ่อนแอ ซึ่งเป็นตัวชักนำโรคและแมลงศัตรูพืชเข้ามา ทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อป้องกันผลผลิตของตนเป็นปริมาณมาก ส่งผลเสียต่อเนื่องมากมายต่อเกษตรกรเอง ต่อผู้บริโภคและสภาพแวดล้อม

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
จะมีธาตุอาหารทั้งอาหารหลัก(N-P-K) ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม จะทำให้ข้าวแข็งแรง เติบโตเป็นธรรมชาติ เขียวตามธรรมชาติ มีโครงสร้างมั่นคง ไม่ล้มง่าย มีความต้านทานโรคได้ดี แต่การดูแลจะใช้แค่ 3-4 วันคงไม่ได้ จะต้องดูแลจนกว่าข้าวให้ผลผลิต และจะดูแต่ปริมาณผลผลิตอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะต้องดูเรื่องต้นทุน ดูสภาพแวดล้อม แต่จากประสบการณ์ นาข้าวไร้สารพิษ ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในฤดูกาลถัดไป และจะใส่ปุ๋ยน้อยลงๆ ดินยิ่งดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ปุ๋ยเคมีจะมีแต่ธาตุอาหารหลัก(N-P-K) ในช่วงการเจริญเติบโตเขาแนะนำให้ใส่ตัวหน้าสูง คือไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) เพื่อเร่งต้นและใบ ทำให้ข้าวไม่แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้นอ่อน ล้มง่าย สารพัดโรคจะถามหา ดินจะเพิ่มความเป็นกรดมากขึ้น จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จะตายหมด

การใส่น้ำหมักสกัดชีวภาพ
หลังจากข้าวอายุประมาณ 25 วัน จึงปล่อยน้ำเข้านา พร้อมกับหยดน้ำหมักสกัดชีวภาพตามช่องน้ำไหลเข้านา ไร่ละ 5 ลิตร หรือจะฉีดพ่นโดยใช้น้ำหมัก 3-4 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วงนี้ควรใช้น้ำหมักที่มีไนโตรเจนสูง เช่นน้ำหมักพืชสีเขียว หอยเชอรี่ เศษปลา นม ไข่ พอข้าว อายุได้ 1 เดือน จึงหว่านปุ๋ยอินทรีย์ไร่ละ 40-50 กก. และเมื่อข้าวอายุได้ 40 วัน อาจฉีดพ่นน้ำหมักอีกในอัตราเดิม ถ้าเห็นว่าข้าวเขียวอ่อนไปบ้าง

เมื่อข้าวอายุได้ 2 เดือน ก็ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรเดิม อีกครั้ง ในอัตราเดิม หลังจากข้าวเริ่มตั้งท้อง (ประมาณ 2 เดือนครึ่ง) ให้หว่านปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้ง ในอัตราไร่ละ 40-50 กก. และฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพที่ทำจากผลไม้ที่มีรสหวานหรือจากรกหมู จะมีฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการตั้งท้องของข้าว เช่น จิบเบอเรลิน ไซโตไคนินและออกซิน ทำให้ขั้วเหนียวไม่ร่วงง่าย

การเจริญเติบโตระหว่างข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมีในระยะแรก ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะโตช้า ใบไม่เขียวเข้ม มองดูแล้วเหมือนโตช้ากว่าสักประมาณ 15 วัน แต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่ง ถึงเวลาติดดอก ออกรวง ตอนนี้ข้าวไร้สารพิษจะแข็งแรง เติบโตเร็วมาก ให้รวงใหญ่ ให้รวงสวย

ปัญหาโรคแมลง
ปกตินาข้าวไร้สารพิษแทบจะไม่มีโรคแมลงรบกวน ธรรมชาติจะจัดการกันเองอย่างสมดุล ในนาจะมี ปู ปลา กบ เขียด แมงมุม ตัวห้ำ ตัวเบียน แมลงปอ และเนื่องจากต้นข้าวแข็งแรง ใบแข็ง พวกเพลี้ย รา ไร จะทำลายได้ยากแต่หากมีโรคแมลงรบกวน ให้ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่แมลง (คลิกดูสมุนไพรไล่แมลงที่ https://sites.google.com/site/sookjaisouvenir/na-hmak-chiwphaph-sutr-barung-tn-bi/nasm-khwan-mi/na-hmak-smunphir-li-maelng-satru-phuch) ฉีดพ่นเพื่อเป็นการป้องกัน แต่เมื่อมีแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกันอย่างน้อย ๓ วัน การฉีดพ่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดควรฉีดพ่นในตอนเย็น

ปัญหาหอยเชอรี่
หอยเชอรี่เป็นศัตรูข้าวที่พบมาก เป็นหอยที่นำมาจากอเมริกาใต้ ชอบอาศัยในน้ำนิ่งหรือไหลเอื่อย อายุ 3 เดือน สามารถผสมพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 
300-3,000 ฟอง กลุ่มไข่จะมีสีชมพู แม่หอยจะไข่ทุก 4-10 วัน จนอายุประมาณ 3 ปี แล้วสามารถกลบฝังตัวจำศีลได้นาน 3-4 เดือน

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา