ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนา

โดย : นายคร่อง สาตินิจ วันที่ : 2017-03-10-11:49:06

ที่อยู่ : บ้านเลขที่.220...หมู่ที่.14..ตำบลหาดคำ..อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว ์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นต้น ข้อมูลระบบเกษตรผสมผสาน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

พันธ์ข้าว ปุ่๋ยคอก  รถไถนา  คราด 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 

เป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ (แปลงกล้า)ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วถอน   นำต้นกล้าไปปักลงในกระทงนา ที่เตรียมเอาไว้ และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิตการทำนาดำนิยมให้พื้นที่ที่ มีแรงงานเพียงพอ การปลูกข้าวแบ่งออกได้ 3 วิธี ด้วยกัน ดังนี้

การปลูกข้าวในนาดำ เรียกว่า การปักดำซึ่งวิธีการปลูกแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน

 ตอนแรก ได้แก่ การตกกล้าในแปรนาในแปลงนาขนาดเล็ก

 ตอนที่สอง ได้แก่ การถอนต้นกล้าเอาไปปักดำในนาผืนใหญ่

ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวนาดำ

 การเตรียมดิน

การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวแบบปักดำ ต้องมีการไถดะ การไถแปร และ การคราด

 1.  การไถดะ และไถแปร   คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้งตลอดจนเป็นการคลุกเคล้า ฟาง วัชพืช ฯลฯ  ลงไปในดิน เครื่องมือที่ใช้ อาจเป็นรถไถเดิมตามจนถึงรถแทรกเตอร์

  2. การคราดหรือใช้ลูก    คือ   การกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็น เทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นที่ทำต่อจาก ขั้นที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดิน ที่ เหมาะสมในการคราดหรือการใช้ลูกทูบในบางพื้นที่อาจมีการใช้โรตารี ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัว ควาย หรือแทรกเตอร์ขนาด เล็ก ที่เรียกว่า ควายเหล็กหรือไถยนต์เดินตามทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำนั้นได้มีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ คันนามีไว้สำหรับกักเก็บน้ำหรือปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนานาดำจึงมีการบังคับน้ำในนา ได้บ้างพอสมควร ก่อนที่จะทำการไถจะต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อนปกติจะต้องรอให้ฝนตกจนมีน้ำขังในผืนนาหรือไขน้ำเข้าไปในนาเพื่อทำให้ดินเปียก

3. การตกกล้า   หมายถึง การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า เพื่อเอาไป    ปักดำ การเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วและมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอกันทั้งแปลงมี กาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

  - การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้ตกกล้าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ปราศจาก

 สิ่งเจือปนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลาย

  -การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะ 
          นำไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขังและมี    การถ่ายเทของอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

การตกกล้า การตกกล้ามีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์

1.  การตกกล้าในสภาพเปียก หรือการตกกล้าเทือก

2.  การตกกล้าในสภาพดินแห้ง

3.     การตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว

  การปักดำ
         การปักดำ เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ๒๕-๓๐วันจากการตกกล้าในดินเปียก หรือกตกกล้าในดินแห้ง ก็ จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกัน เป็นมัด ๆ   ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้งสำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียกจะต้องสลัด เอาดินโคลนที่รากออกเสียด้วยแล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ การปักดำจะต้องปักดำ ให้เป็นแถวเป็นแนวและมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควรโดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้า จำนวน ๓-๔ ต้นต่อกอ
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา