ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกยางพารา

โดย : นายจันทรี ศรีมันตระ วันที่ : 2017-03-10-11:12:23

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 83 หมู่ 4 ตำบล พระพุทธบาท อำเภอ ศรีเชียงใหม่ จังหวัด หนองคาย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากสภาพปัญหาที่ผ่านมาเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนยางพารามีราคาสูงจึงทำให้เกษตรกร หันมาปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ตำบลพระพุทธบาท

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพที่รายได้ดี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ต้นกล้ายางพารา  ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยชีวภาพ  สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ลักษณะดิน สภาพพื้นที่ควรเป็นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง ควรเป็นดินเหนียวถึงดินร่วนปนทรายมีการระบายและถ่ายเทอากาศดี ไม่มีชั้นดินดาน พันธุ์ยางพาราที่นิยมปลูก ได้แก่ RRIM 600, RRIT 251, RRIC 110

                         - การเตรียมดิน ทำการไถพลิกและไถพรวนอย่างน้อย 2 ครั้งปรับหน้าดินให้เหมาะสมกับการปลูก โดยมีความกว้างของหน้าดินอย่างน้อย 1.5 เมตร เพื่อป้องกันต้นยางพาราล้ม ทำปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงหน้าดิน ไถกลบเมื่ออายุ 45 วัน แล้วปล่อยให้ย่อยสลาย 15 วัน จึงเตรียมหลุมปลูกยางพารา

                         - วิธีการปลูก ต้องวางแนวปลูกตามแนวตะวันออก – ตะวันตก โดยมีระยะปลูก 2.5 x 8 เมตร โยมีขนาดของหลุม 50x50x50 เซนติเมตร และทำการปลูกต้นกล้ายางพารา โดยคัดเลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง  ใส่ พด.3 อัตรา 3 กิโลกรัมต่อตัน รองก้นหลุมและทำการปลูกยางพารา หลังจากปลูกได้ 15 วันควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุม เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน

- การดูแลรักษา ควรฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์จากสารเร่ง พด.2 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและหลังจากปลูกยางฯ แล้ว  15 วัน ควรฉีดพ่นปุ๋ยน้ำให้กับยางพาราทางใบ หรือราดลงดินทุกเดือน

                         - การป้องกัน กำจัดโรค  โรคราแป้ง  โรคใบร่วง แลแมลงต่างๆ  ทำได้โยใช้สารสกัดธรรมชาติ หรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

                         - การกรีดยงสามารถกรีดยางได้เมื่อต้นยางอายุ 6 ปี ขาดเส้นรอบวงของต้นยางไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร โดยกรีดยางครึ่งลำต้น ความสูง 50 เซนติเมตรจากพื้นดิน โดยกรีดทำมุม 30 องศา เอียงจากซ้ายลงมาทางขวา ติดรางรองรับน้ำยางห่างจากด้านหน้าประมาณ 30 เซนติเมตร กรีดยางให้ลึกใกล้เนื้อไม้มากที่สุด แต่ไม่ควรถึงเนื้อไม้ เมื่อกรีดยางเสร็จควรทาบริเวณที่กรีดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำเจือจาง เพื่อให้ยางมีน้ำยางมากที่สุด ยืดอายุการกรีดยางและต้นยางเสียหายน้อยที่สุด

- การจัดการเกี่ยวกับดินหลังเก็บเกี่ยว  ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นอายุยาว ดังนั้นในแต่ละปีจะต้องมีการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตยางพาราและลดการใช้ปุ๋ยเคมี

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา