ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกผักปลอดสารพิษ

โดย : นายประเสริฐ สิมมาหลวง วันที่ : 2017-03-10-10:03:06

ที่อยู่ : 2 หมู่ 3 ตำบลคอกช้าง อำเภอสระใคร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดรายจ่ายให้ครัวเรือน เพิ่มรายได้จากการเก็บขายในตลาด และชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

เมล็ดพันธ์ผัก  ปุ๋ยคอก/ปู่ยหมักชีวภาพ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

ก่อนนำ เมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกในแปลงปลูกหรือแปลงกล้าเกษตรกรควรทำ ความสะอาดเมล็ดพันธุ์ก่อน ตามขั้นตอนดังนี้

1. คัดแยกเมล็ดพันธุ์ โดยการคัดเมล็ดที่เสีย เมล็ดวัชพืชที่มีอยู่ปะปน และสิ่งเจือปนต่างๆ ออก

2. แช่เมล็ดพันธุ์ในนํ้าอุ่น ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซีย เป็นเวลา 15-30 นาที จะช่วย

ลดปริมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์และยังกระตุ้นการงอกของเมล็ดอีกด้วย

3. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครานํ้าค้าง และโรคใบจุดควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีเช่น เมทาแล็กซิน 35 เปอร์เซ็นต์ SD (เอพรอน) และไอโปรไดโอน (รอฟรัล) อัตรา 10 กรัม / เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

การปลูกและการดูแล

การเลือกวิธีการปลูก ระยะปลูกเป็นเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผักที่เกษตรกรเลือกปลูกแต่มีข้อแนะนำ คือ เกษตรกรควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี เป็นการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ โดยอาจเลือกสำ รวจเป็นจุดๆ ประมาณ 10-20 จุด/ไร่ ถ้าพบว่ามีการระบาดของโรคและแมลงในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผักนั้น ก็ควรดำ เนินการกำ จัดโรคและแมลงที่พบทันที

การให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช

จะมีความจำ เป็นต่อพืชผักในบางชนิดเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความต้านทานโรคให้แก่พืชนั้น เช่นพืชในตระกูลกะหล่ำ จะต้องการธาตุโบรอนเพื่อ สร้างความต้านทานโรคไส้กลวงดำ มะเขือเทศจะต้องการธาตุแคลเซียมเพื่อสร้างความตานทานโรคผลเน่า เป็นต้น

การสุ่มตรวจนับโรคและแมลง

การใช้กับดักกาวเหนียว

กับดักกาวเหนียวนี้มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม จะใช้ในการควบคุมปริมาณตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยไฟ แมลงวันเจาะผล แมลงวันของหนอนชอนใบ ผีเสื้อกลางวันชนิดต่างๆ ทั้งของหนอนคืบและหนอนใย เป็นต้น โดยทั่วไปมักจะนิยมใช้กาวเหนียวมาทาบนวัสดุที่มีสีเหลือง เช่น แผ่นพลาสติก หรือกระป๋องน้ำ มันเครื่อง เนื่องจากแมลงมักชอบสีเหลืองโดยกับดักนี้จะใช้ล่อแมลงให้บินมาติดกาวเหนียวที่ทาไว้สำ หรับการติดตั้งนั้น ควรติดตั้งกับดักในแปลงผักให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร หรือสูงกว่ายอดต้นผักเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดยจะใช้กับดักประมาณ60-80 กับดัก/พื้นที่ 1 ไร่ ในช่วงที่มีการระบาดมาก (ฤดูร้อน, ฤดูฝน) ส่วนในฤดูหนาวมีการระบาดน้อย อาจใช้เพียง 15-20 กับดัก/ไร่

 

 

วิธีการทำ กาวเหนียว วัสดุที่ใช้ประกอบด้วย

1. นํ้ามันละหุ่ง 550 ซีซี

2. นํ้ามันยางสน 380 กรัม

3. ไขคาร์นัววา (Canova wax) 60 กรัมขั้นแรกเคี่ยวนํ้ามันระหุ่งจนเดือดแล้วจึงเติมนํ้ามันยางสนและไขคาร์นัววาลงไป คนช้าๆ ให้เข้ากันดีแล้วจึงยกออกจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำ ไปใช้เป็นกับดักกาวเหนียวต่อไป

การใช้กับดักแสงไฟ

เป็นการใช้แสงไฟจากหลอดฟลูออร์เรสเซนต์ (หลอดนีออน) หรือหลอดไฟแบล็คไลท์ ล่อแมลงในเวลากลางคืน เช่น ผีเสื้อ หนอน กระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก ให้มาเล่นไฟและตกลงในภาชนะที่บรรจุนํ้ามันเครื่องหรือนํ้าที่รองรับอยู่ด้านล่าง การติดตั้งกับดักและแสงไฟจะติดตั้งประมาณ 2 จุด/พื้นที่ 1 ไร่โดยติดตั้งให้สูงจากพื้นดินประมาณ 150 เซนติเมตร และให้ภาชนะที่รองรับอยู่ห่างจากหลอดไฟ30 เซนติเมตรและควรปิดส่วนอื่นๆ ที่จะทำ ให้แสงสว่างกระจายเป็นบริเวณกว้างเพื่อล่อจับแมลงเฉพาะในบริเวณแปลง มิใช่ล่อแมลงจากที่อื่นให้เข้ามาในแปลงกับดักกาวเหนียว

การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูก

เป็นการควบคุมปริมาณวัชพืชและเก็บรักษาความชื้นในดินไว้ได้นาน ทำ ให้ประหยัดนํ้าที่ใช้รดแปลงผัก การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูกนี้ ควรใช้กับพืชผักที่มีระยะปลูกแน่นอน ในแปลงที่พบการระบาดของโรคที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุ และมีเพลี้ยอ่อนหรือแมลงเป็นพาหะ แนะนำ ให้ใช้พลาสติกที่มีสีเทา-ดำ โดยให้ด้านที่มีสีเทาอยู่ด้านบน เนื่องจากสีเทาจะทำ ให้เกิดจากสะท้อนแสงจึงช่วยไล่แมลงพาหนะได้การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายไนล่อนพื้นที่ ที่จะใช้ปลูกผักในโรงเรือน ควรเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกผักได้อย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี เพื่อจะได้คุ้มค่าต่อการสร้างโรงเรือนและการใช้ตาข่ายไนล่อน โครงสร้างของโรงเรือนอาจทำ ด้วยเหล็กหรือไม้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าต้องการจะใช้พื้นที่นี้ปลูกผักนานเท่าใด ส่วนตาข่ายที่ใช้นั้นจะใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนที่มีขนาด 16 ช่องต่อความยาว 1 นิ้ว โดยมุ้งสีขาวมีความเหมาะสมกับการปลูกผักเนื่องจากแสงผ่านได้เกือบปกติ ส่วนมุ้งสีฟ้าไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากแสงผ่านได้เพียงร้อยละ 70 เท่านั้น การใช้กับดักแสงไฟ

 

 

การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุกแปลงปลูก

การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายนี้ จะไม่สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชผักได้ทุกชนิด มีเพียงหนอนผีเสื้อและด้วงหมัดผัก เท่านั้นที่สามารถป้องกันได้ ส่วนเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนแมลงวันชอบใบแมลงหวี่ขาวและไร ซึ่งเป็นแมลงขนาดเล็กจะไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าหากใช้มุ้งไนล่อนที่มีความถี่เพิ่มขึ้นเป็น 24 และ 32 ช่องต่อนิ้วแล้วจะป้องกันได้ แต่อาจมีปัญหาเรื่องอุณหภูมิและความชื้นภายในมุ้ง

ข้อควรระวังสำหรับการปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่าย

❖ อย่าให้มีหนอนผีเสื้อหรือหนอนต่างๆ หลุดเข้าไปในโรงเรือนได้ เพราะหนอนต่างๆ เหล่านี้

จะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

❖ ในการย้ายกล้า จะต้องตรวจดูกล้าผัก อย่าให้มีไข่ตัวหนอนหรือดักแด้ติดเข้าไปในโรงเรือน

❖ ควรดูแลอย่าให้มุ้งตาข่ายชำ รุดฉีดขาด เพราะอาจทำ ให้ด้วงหมัดผักเล็ดลอดเข้าไปได้ อาจจะมีการรองด้วยผ้าหรือแผ่นยางบริเวณที่มีการเสียดสีระหว่างตาข่ายกับโครงสร้างเพื่อป้องกันการฉีดขาด

❖ มุ้งตาข่ายจะต้องปิดมิดชิดตลอดเวลา และควรทำ ประตูเป็นแบบสองชั้น

❖ การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายไม่สามารถป้องกันแมลงขนาดเล็กได้ ดังนั้น จึงอาจจะต้องใช้วิธีการกำ จัดศัตรูพืชอื่นๆ ร่วมด้วย

❖ ผักที่ปลูกได้ในมุ้งตาข่ายไนล่อน

ประเภทกินใบ ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง ฮ่องเต้ ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง ขึ้นฉ่าย เป็นต้นประเภทกินดอก ได้แก่ กะหลํ่าดอก บล็อกโคลี่ เป็นต้น ประเภทกินฝักและผล ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ ถั่วลันเตา เป็นต้น

การควมคุมโดยชีววิธี

เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตควบคุมศัตรูพืช ซึ่งได้แก่ แมลง ตัวหํ้า ตัวเบียน ที่ทำ ลายแมลงศัตรูพืชชนิดอื่น หรืออาจใช้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น เชื้อบักเตรี เชื้อไวรัส เชื้อรา ไส้เดือนฝอย เป็นต้น ในการควบคุมซึ่งมี รายละเอียด ดังนี้

เชื้อบักเตรี ที่นิยมใช้ในการควบคุมแมลง คือ เชื้อบีที (BT) โดยแมลงที่ได้รับ เชื้อชนิดนี้ เข้าไปแล้ว นํ้าย่อยในลำ ไส้ของแมลงจะละลายผลึกของเชื้อบักเตรี ทำ ให้เกิดสารพิษทำ ลายระบบย่อยอาหารและอวัยวะของแมลง ทำ ให้ขากรรไกรแข็ง กินอาหารไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง และตายไปในที่สุดเชื้อบักเตรีที่มีขายเป็นการค้าจะมี 2 กลุ่ม คือ

1. Kurstaki ได้แก่ แบคโทรฟินเอชพี ดับเบิ้ลยูพี, เซ็นทารี่ยูดีจี มีประสิทธิภาพในการกำ จัด

หนอนในผัก หนอนกระทู้หอม และหนอนคืบกะหลํ่า

2. Aizawai ได้แก่ ฟลอร์แบค เอชพี, ฟลอร์แบค เอฟซี, ธูรีไซด์ เอชพี มีประสิทธิภาพในการ

กำ จัดหนอนใยผัก และหนอนคืบกะหลํ่า เท่านั้น

ดังนั้น การที่จะใช้เชื้อบักเตรีให้ได้ผล ควรเลือกชนิดของเชื่อให้ตรงกับแมลงศัตรู และควรฉีด

พ่นเมื่อหนอนยังเป็นตัวอ่อนอยู่ หลีกเลี่ยงแสงในขณะฉีดพ่น และไม่ควรให้นํ้าหลังจากฉีดพ่นเชื้อบักเตรีแล้วเชื้อไวรัสเชื้อไวรัสที่ใช้ในการควบคุม คือ เอ็นพีวี (NPV) โดยใช้ในการกำ จัดหนอนหลอดหอมหรือหนอนหนังเหนียว ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปทำ ลายระบบต่างๆ ของร่างกาย ทำ ให้หนอนลดการกินอาหารเคลื่อนไหวช้า ลำ ตัวมีสีซีดลง มีจุดสีขุ่นหรือส้ม แล้วจะใช้ขาเทียมเกาะที่ต้นพืชห้อยหัวลงมาตายในที่สุดเชื้อราที่ใช้ในการควบคุม คือ ไตรโครเดอร์มาจะควบคุมเชื้อสาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า เน่าคอดินของมะเขือเทศและผักกาดหัว โดยจะใช้เชื้อราผสมกับรำ ข้าวและปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1:10:40 แล้วใช้รองก้นหลุมหรือโรยรอบโคนต้นไส้เดือนฝอยจะช่วยควบคุมด้วงหมัดผัก โดยชอนไชเข้าสู่ระบบเลือดหรือกระเพาะอาหาร เมื่อเข้าไปแล้วจะถูกย่อยทำ ลาย จากนั้นจะปลดปล่อยเชื้อบักเตรีที่เป็นอันตรายต่อแมลงออกมา ทำ ให้แมลงตายในที่สุด ในการใช้ไส้เดือนฝอยนั้น เกษตรกรควรเก็บรักษาไว้ในที่เย็น และใช้ไส้เดือนฝอยในการควบคุมหลังจากการให้นํ้าแก่ต้นพืชช่วงเวลาเย็นๆ เนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไม่ทนทานต่อสภาพที่แห้งแล้ง หรือถูกแสงแดด

การใช้สารสกัดจากพืช

พืชที่นิยมนำ มาใช้สกัดเป็นสารควบคุมโรคและแมลง คือ สะเดา เนื่องจากในสะเดามีสารอะซาดิแรคติน (Azadirachtin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันและกำ จัดแมลงได้โดย

• สามารถใช้ฆ่าแมลงได้บางชนิด

• ใช้เป็นสารไล่แมลง

• ทำ ให้แมลงไม่กินอาหาร

• ทำ ให้การเจริญเติบโตของแมลงผิดปกติ

• ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง

• ยับยั้งการวางไข่และการลอกคราบของแมลง

• เป็นพิษต่อไข่ของแมลง ทำ ให้ไข่ไม่ฟัก

• ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารของแมลง

 

วิธีการใช้ คือ นำ เอาผลสะเดาหรือสะเดาที่บดแล้ว 1 กิโลกรัม แช่ในนํ้า 20 ลิตร ทิ้งค้างคืนไว้

1 คืน แต่ถ้าเกษตรกรมีเครื่องกวนส่วนผสมดังกล่าว ก็จะลดเวลาเหลือเพียง 3-4 ชั่วโมง จากนั้นกรองเอาแต่นำมาผสมด้วยสารจับประมาณ 1 ช้อนโต๊ะแล้วนำ ไปรดพืชผักทันที ส่วนกากของสะเดาที่เหลือให้นำ ไปโรยโคนต้นเพื่อปรับปรุงสภาพดิน และกำ จัดแมลงในดินได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง พืชบางชนิดเมื่อได้รับสารนี้แล้วอาจเกิดอาการใบไหม้เหี่ยวย่นหรือต้นแคระ

แกร็น ดังนี้เมื่อพบอาการต่างๆ เหล่านี้ ก็ควรจะงดใช้สารสกัดจากสะเดาทันที

ชนิดของแมลงที่สามารถกำ จัดได้ด้วยสะเดา

1. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลดี ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ชนิดต่างๆ หนอนกัดกินใบ หนอนเจาะยอด หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนหัวกระโหลก

2. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลปานกลาง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะ สมอฝ้าย หนอนต้นกล้าถั่วแมลงหวี่ขาว แมลงวันทอง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อน

3. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลน้อย ได้แก่ หนอนเจาะฝักถั่ว เพลี้ยไฟ ไรแดง มวนและด้วงชนิดต่างๆพืชผักที่ใช้สารสกัดจากสะเดาได้ผล ได้แก่ ผักคะน้า กวาง ผักกาดหอม กะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอกแตงกวา แตงโม แตงเทศ มะเขือเทศ มะเขือยาว หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน พริกขี้หนู ตำลึง มะนาว มะกรูด

การใช้สารแคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช

จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในการปฏิบัติจริงของเกษตรกรนั้น เกษตรกรต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกพืชของตนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเป็นการพยากรณ์สถานการณ์ของศัตรูพืชในแปลงของตน เมื่อทราบสถานการณ์แล้วจึงพิจารณาเลือกใช้วิธีการป้องกันและกำ จัดที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมหรือไม่มีวิธีการควบคุมใดที่ใช้ได้ผลแล้ว เกษตรกรอาจใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชนั้นๆ ได้

โดยพิจารณาจาก

1. เป็นสารเคมีที่เหมาะสมกับศัตรูพืชชนิดนั้น

2. สารเคมีนั้นสลายตัวได้เร็ว

3. ใช้ในอัตราที่เหมาะสมตามคำ แนะนำ

4. เว้นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามคำ แนะนำทั้งนี้เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีสารพิษตกค้าง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา