ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การกรีดยาง

โดย : นายคำจันทร์ เมสังข์ วันที่ : 2017-03-27-16:19:08

ที่อยู่ : 234 หมู่ที่ 8 ตำบลนางิ้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การกรีด หมายถึงการนำผลผลิตน้ำยางออกมาจากต้นยาง ซึ่งเจ้าของสวนยางควรศึกษาและวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตที่มากแบบยั่งยืนไม่ทำให้ต้นยางเสียหาย มีอายุการกรีดนาน การเจริญเติบโตของต้นยางดี ขายไม้ได้ราคาเมื่อโค่นล้มเพื่อปลูกแทนใหม่ ยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงจำเป็นต้องใช้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงจะได้ผลคุ้มค่า การเลือกใช้วิธีการต่างๆ เช่น การเปิดกรีด วิธีการกรีด ระบบกรีด และมีดกรีดยางที่ถูกต้อง สามารถที่จะรักษาต้นยางเพื่อให้กรีดได้นาน  แต่หากใช้วิธีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง  นอกจากได้น้ำยางน้อยแล้วยังทำให้ต้นยางเสียหาย เป็นเหตุให้รายได้ของเกษตรกรลดน้อยลงด้วย  โดยการกรีดยางจะต้องยึดหลักที่ว่า เมื่อกรีดแล้วต้องได้น้ำยางมาก เปลือกเสียน้อยที่สุด แล้วยังสามารถกรีดได้นาน 25-30 ปี

 

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อใช้เป็นวิธีในการกรีดที่ถูกต้อง

2.รักษาหน้ายาง

3.ได้ปริมาณน้ำยางที่เหมาะสม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.มีดกรีดยาง

2.ถ้วยรองรับน้ำยาง

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ประเภทของการกรีดยาง 

การกรีดใน 3 ปีแรก
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน  ใช้กับยางทุกพันธุ์
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน  ยกเว้นพันธุ์ RRIM 628 PB 28/59 และ PB 5/63
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน  ร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5 %  เหมาะ สำหรับยางที่ให้ ผลผลิตต่ำใน ระยะแรกของการกรีด

การกรีดยางหลังจาก 3 ปีไปแล้ว
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน  เหมาะกับพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน  ใช้กับยางทุกพันธุ์ ยกเว้นพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน ร่วมกับสารเคมีเร่งน้ำยาง เหมาะกับยางที่ให้ผลผลิตต่ำ

การกรีดเปลือกงอกใหม่
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน ใช้กับยางทุกพันธุ์
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน  ใช้กับยางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย
        - กรีดครึ่งต้นวันเว้นสามวัน หรือกรีดครึ่งต้นวัน เว้นสองวัน ร่วมกับสารเคมี เร่งน้ำยาง

การกรีดชดเชย 
        เป็นการกรีดยางทดแทนวันกรีดที่สูญเสียในระหว่างฤดูฝน หรือท้องที่ที่มีฝนตกมาก การกรีดชดเชยเป็นการกรีดติดต่อกันเป็นวันที่สอง หลังจากที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน เหมาะสำหรับการกรีดวันเว้นวัน และวันเว้นสองวัน ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับผลผลิตไว้

 ***การกรีดยางที่เหมาะสม สถาบันวิจัยยางสงขลาแนะนำการกรีด 5 วิธี คือ

1.กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน
2.กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
3. กรีดครึ่งลำต้นสองวันเว้นหนึ่งวัน
4. กรีดหนึ่งในสามของลำต้นสองวันเว้นวัน
5.กรีดหนึ่งในสามของลำต้นวันเว้นวันควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์

        โดยระบบกรีดเหล่านี้ ให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดดี ความสิ้นเปลืองเปลือกต่อปีน้อย เปลือกงอกใหม่หนาพอเมื่อกลับมากรีดใหม่ได้ ปริมาณเนื้อยางแห้งดี และต้นยางมีอาการเปลือกแห้งน้อย

เมื่อกรีดยางแล้ว น้ำยางก็จะไหลไปตามรอยที่ทำไว้ผ่านลิ้นรองน้ำยางและไหลลงถ้วยรองรับน้ำยางในที่สุด ภายหลังจากกรีดยางไปแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง ส่วนมากน้ำยางก็จะหยุดไหลก็จะเริ่มเก็บน้ำยางได้ ซึ่งผู้เก็บน้ำยางโดยปกติจะเป็นคนเดียวกับคนกรีดยาง จะถือถังหูหิ้วหรือหาบปีบไปเก็บน้ำยาง เก็บน้ำยางในถ้วยแล้วเทลงไปในถังหรือปีบที่ถือ หลังเทน้ำยางจากถ้วยก็จะใช้ไม้ปาดน้ำยาง กวาดน้ำยางออกจากถ้วยให้หมด แล้วนำถ้วยไปเก็บคว่ำไว้บนห่วงลวดที่ใช้ตาด้วย เพื่อไม่ให้ถ้วยสกปรก และป้องกันฝุ่นละอองตกลงไปในถ้วย น้ำยางที่เก็บได้จะถูกนำมารวบรวม แล้วลำเลียงไปส่งยังโรงงานทำยางแผ่นอีกต่อหนึ่ง สำหรับสวนขนาดใหญ่ แต่หากเป็นสวนขนาดเล็กก็จะหาบหรือหิ้วไปทำแผ่นที่บ้าน

        ปัจจุบันในบางท้องที่จะมีพ่อค้ามารับซื้อน้ำยางสด ๆ เลย ในกรณีที่เจ้าของสวนไม่ประสงค์จะทำยางแผ่นเองก็จะสามารถขายเป็นน้ำยางไปได้ โดยพ่อค้าดังกล่าวจะมีรถบรรทุกประกอบขึ้นเป็นถังสำหรับใส่น้ำยางออกไปรับซื้อถึงสวน ขั้นตอนการซื้อขายจะคิดจากน้ำหนักของน้ำยางสดทั้งหมด และหาความเข้มข้นของน้ำยางโดยจะมีเครื่องมือวัดที่เรียกว่าวัดค่าออกมาแล้ว หาค่าเฉลี่ยเป็นน้ำหนักยางแห้งตีราคาออกมาเป็นกิโลกรัม ซื้อขายในราคาเท่ากับราคายางชั้นสองของตลาดในแต่ละวัน

        ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกรีด

        ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกรีดที่มีผลต่อผลผลิต มีดังนี้

        1. ความลึกของการกรีด ความหนาแน่นของจำนวนท่อน้ำยางมีมากบริเวณเปลือกชั้นใน และมีมากที่สุดบริเวณใกล้เยื่อเจริญ การกรีดยางจะเหลือส่วนของเปลือกชั้นในสุดถึง 1.3 มิลลิเมตร ซึ่งยังคงเหลือวงท่อน้ำยางไว้บนต้น โดยไม่ได้กรีดถึงร้อยละ 50 และเป็นท่อน้ำยางที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ถ้ากรีดเหลือ 1 มิลลิเมตรจากเยื่อเจริญ จะกรีดได้ร้อยละ 52 ของท่อน้ำยาง หรือถ้ากรีดเหลือ0.5 มิลลิเมตร จะตัดวงท่อน้ำยางได้ถึงร้อยละ 80 ดังนั้น การกรีดให้ไดน้ำยางมากจึงควรกรีดให้ใกล้เยื่อเจริญมากที่สุด  แต่หากกรีดลึกเกินไปหน้ายางจะเป็นแผล เปลือกงอกใหม่ ไม่สามารถกรีดต่อไปได้ การกรีดจะกรีดได้ลึกหรือไม่นั้น ขึ้นกับความชำนาญของคนกรีด

         2. ขนาดของงานกรีด หมายถึง จำนวนต้นยางที่คนกรีดสามารถกรีดได้แต่ละวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของต้นยาง ความยาวรอยกรีด ลักษณะของพื้นทื่ ความชำนาญของคนกรีด และช่วงเวลาการไหลของน้ำยาง ปกติการกรีดครึ่งลำต้น คนกรีดคนหนึ่งสามารถกรีดได้ 450-500 ต้นต่อวัน และการกรีด และการกรีด 1/3 ของลำต้น คนกรีดคนหนึ่งสามารถกรีดได้ 650-700 ต้นต่อวัน

        3. เวลาที่เหมาะสมสำหรับกรรีดยาง ผลผลิตน้ำยางจะขึ้นอยู่กับความเด่งของเซลล์ ซึ่งมีผลต่อความดันภายในท่อน้ำยาง ในช่วงกลางวันความเด่งของเซลล์จะลดต่ำลง สาเหตุมาจากการคายน้ำ โดยจะเริ่มลดต่ำหลังดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลา 13.00-14.00 น. จะลดลงต่ำสุด หลังจากนั้นจะเริ่มเพิ่มขึ้นจนกลับสภาพเดิมเมื่อเวลากลางคืน

        4. ความสิ้นเปลืองเปลือก การกรีดเปลือกหนาหรือบาง ไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต การกรีดที่ใช้ความถี่ของการกรีดต่ำจะสิ้นเปลืองเปลือกต่อครั้งกรีดมากกว่าการกรีดที่ใช้ความถี่ของการกรีดสูง แต่เมื่อรวมความสิ้นเปลืองเปลือกทุกครั้งที่กรีดแล้วจะน้อยกว่า ถ้าหากความสิ้นเปลืองเปลือกในรอบปีของการกรีดวันเว้นวัน (d/2) คือ ร้อยละ 100 การกรีดวันเว้น 2 วัน สิ้นเปลืองเปลือกร้อยละ 75 และการกรีดวันเว้น 3 วัน สิ้นเปลืองเปลือกร้อยละ 60 การกรัด 2 เว้นวัน สิ้นเปลืองเปลือกร้อยละ 140 การกรีด 3 วันเว้นวัน สิ้นเปลืองร้อยละ 150 และการกรีดทุกวัน สิ้นเปลืองเปลือกร้อยละ 190 โดยปกติการกรีด วันเว้นวัน สิ้นเปลืองเปลือก แต่ละครั้งกรีดระหว่าง 1.7-2.0 มิลลิเมตร หรือไม่เกิน 25 เซนติเมตรต่อปี

        5. ความคมของมีด มีดกรีดยางควรลับให้คมอยู่เสมอ เพราะจะทำให้ตัดท่อน้ำยางดีขึ้นและสิ้นเปลืองเปลือกน้อยกว่าการใช้มีดกรีดยางที่ไม่คม

ข้อพึงระวัง ->

ระบบการกรีดยาง

 

        การใช้ระบบกรีดถี่ ทำให้อายุกรีดของต้นยางสั้นลง ต้นยางมีอายุระหว่าง 19-22 ปี ซึ่งแสดงว่าอายุกรีดจริงอยู่ระหว่าง 13-16 ปี ส่งผลให้ชาวสวนยางเหล่านี้ขาดรายได้ไปมากมาย ซึ่งข้อมูลนี้สรุปว่าถ้าใช้ระบบกรีดถี่ตามที่ชาวสวนปฏิบัติต้นยางจะมีอายุกรีดระหว่าง 11 -16 ปี เท่านั้น และจะสูญเสียรายได้ ถ้ารวมทั้งประเทศแล้วนับเป็นการสูญเสียเป็นปริมาณมากมาย
        - การกรีดต้นยางไม่ได้ขนาดตามมาตรฐาน โดยเปิดกรีดต้นยางที่มีขนาดลำต้นยางต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ซึ่งต้นยางที่มีขนาดลำต้น 45 และ 40 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตเพียง 76 และ 65 เปอร์เซ็นต์ของยางที่ได้ขนาดแล้ว
        - การสูญเสียผลผลิตเนื่องจากเปลือกงอกใหม่บาง เพราะใชัระบบกรีดถี่ เปลือกเดิมหมดเร็วเกินไป เมื่อกรีดเปลือกงอกใหม่ซึ่งยังไม่หนาพอจะสูญเสียผลผลิตไปมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ (เปรียบเทียบกับ 5 ปีแรกขณะกรีดเปลือกเดิม)
        - การกรีด 1/3 ลำต้นกับต้นยางที่ไม่ได้ขนาด ซึ่งเป็นต้นยางเล็กอยู่แล้ว รอยกรีด 1/3 ลำต้นจะสั้นมาก ผลผลิตที่ได้เพียง 30-45 เปอร์เซ็นต์ของต้นยางที่ได้ขนาดแล้ว
        - ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้ง เป็นการสูญเสียผลผลิตอย่างถาวร มีสาเหตุใหญ่คือกรีดต้นยางถี่เกินไป ต้นยางเปลือกแห้งอย่างถาวรเฉลี่ย 3-16 ต้น/ไร่ หรือ 5-26.7 เปอร์เซ็นต์ของต้นยางทั้งหมด
        - ต้นยางให้น้ำยางที่มีปริมาณเนื้อยางแห้ง  ต่ำกว่าการกรีดปกติเฉลี่ย 7-16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบเมื่อขายผลผลิตเป็นน้ำยางสด
        - การใช้ระบบกรีดถี่เกินไป ไม่สามารถจะใช้สารเคมีเร่งน้ำยางควบคู่ได้ จึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิตต้นยางเหล่านี้ได้
        - ผลกระทบที่เกิดจากการกรีดต้นยางขนาดเล็กและกรีดถี่ จะส่งผลให้ต้นยางมีขนาดเล็กเกินไป การใช้ประโยชน์จากไม้ยางมีประสิทธิภาพต่ำ ปริมาณไม้มีน้อยและขายได้ราคาน้อยลง
        - การขาดแคลนแรงงานกรีด เจ้าของสวนจำเป็นต้องจ้างแรงงานกรีดฝีมือต่ำ ทำให้หน้ากรีดเสียหาย ไม่สามารถกรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่ได้
        - ชาวสวนใช้ประโยชน์จากการกรีดหน้าสูงน้อย ซึ่งสามารถให้ผลผลิตจากส่วนนี้ได้สูง โดยเฉพาะในช่วงก่อนโค่นได้ไม่น้อยกว่า 3 ปี
การเก็บน้ำยางและการรักษาน้ำยางสด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา