ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงหมู

โดย : นางกนกวรรณ ตีชนะ วันที่ : 2017-03-08-15:14:44

ที่อยู่ : ๔๐ หมู่ที่ ๕ ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อหาอาชีพที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จึงสนใจที่เลี้ยงหมูและทำปุ่ยหมักชีวภาพ  เพื่อจะได้ช่วยเหลือครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้มีรายได้เสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

พันธสุกร  เล้าหมู  อาหารสัตวว์  วัคซีน  รางใส่อาหาร 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงสุกรให้ประสบการณ์ความสำเร็จ ต้นทุนต่ำ กำไรสูง องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงมี 3 ประการที่สำคัญ ดังนี้

1. สุขภาพสัตว์

                    ลูกสุกร และสุกรขุน จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และปราศจากโรค ในการเลี้ยงต้องดูแลสุขภาพดังนี้
                      - ลูกสุกรทุกตัว ต้องได้รับการฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนอหิวาต์สุกร,  ถ่ายพยาธิภายนอกภายใน และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เนื่องจากจะทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโต
                     - ลูกสุกรเมื่อนำมาลงขุน ต้องมีการเสริมวิตามิน เพื่อลดความเครียดอันเกิดจากการย้ายลงขุน
                   - นำสุกรมาจากแหล่งที่มีการจัดการ ฉีดวัคซีนในแม่พันธุ์อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดต่อมาถึงลูกสุกร เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบ พิษสุนัขบ้าเทียม โรคปากเท้าเปื่อย เป็นต้น
          2. สิ่งแวดล้อม   การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสุกร ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่กล่าวถึงประกอบไปด้วย
                    2.1 การทำม่านป้องกันลมโกรก ลูกสุกรเมื่อเริ่มลงขุน จนถึงน้ำหนัก 50 กก. ต้องทำม่านป้องกันลมเพื่อป้องกันปัญหาโรคปอด และลูกหมูขี้ไหล เมื่อหมูมีน้ำหนัก 50 กก. ขึ้นไปจึงจะสามารถเปิดม่านได้
   2.2 พื้นคอกแห้ง ไม่เปียกชื้น ลูกสุกร เมื่ออยู่กับพื้นที่เปียกชื้น จะมีปัญหาด้านปอด สุขภาพไม่สมบูรณ์ วัสดุที่สามารถช่วยซับความชื้นและหาได้ง่ายตามท้องถิ่น เช่น ฟาง แกลบ ขี้เลื่อย ซึ่งวัสดุดังกล่าวเมื่อนำมาปนกับขี้ สามารถทำความสะอาดได้ง่าย โดยกวาดออกและนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปใส่ไร่นาและสวนผักได้
                    2.3 ถังอาหาร
                    - ถังหมุน ถังกลม จะต้องมีจำนวนเพียงพอต่อลูกสุกร
                   - ความสูงของถังหมุน จะต้องมีความสูงในระดับปากของสุกร เพื่อให้สามารถกินอาหารได้
                   - ปริมาณอาหารที่ใส่ในถังหมุน ถังกลม จะต้องทำให้ลูกสุกรสามารถใช้แรงหมุนถังเพื่อปล่อยอาหารได้ และลูกสุกรเมื่อแรกลงขุน ควรจะเทอาหารให้มีความสูงเพียง 1 ใน 3 ของความสูงของถังหมุน
                   - กรณีเป็นรางอาหาร ความกว้างของรางอาหารต้องมีขนาดเท่ากับไหล่ของสุกร
                    2.4 น้ำ น้ำที่ให้แบบจุ๊บน้ำ จำนวนของจุ๊บน้ำต้องมีอย่างน้อย 2 หัว / 1 คอก อัตราการไหลของน้ำต้องไม่ต่ำกว่า 1 ลิตร / นาที
                    2.5 จำนวนสุกรต่อคอก  สูงสุดต้องไม่เกิน 20 ตัว / คอก
                     2.6 ขนาดพื้นที่สุกรต่อตัว  ไม่ต่ำกว่า 1 - 1.6 ตารางเมตร / ตัว
3. โภชนาการอาหาร  

          การให้อาหารควรให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อให้อาหารมีความสด แต่อาหารต้องไม่ขาดราง เพราะจะทำให้ระบบน้ำย่อยสุกรผิดปกติ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองคาย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา