ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นางทองปอน เจกะโพธิ์ วันที่ : 2017-03-30-09:48:42

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 8 ตำบลโพทะเล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อออาชีพหลัก คือ การทำนา  หลังจากหมดฤดูการทำนาแล้วจะมีเวลาว่าง มีความคิดที่จะเพาะเห็ดฟาง หารายได้เสริมให้กับครัวเรือน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จึงได้ศึกษาหาความรู้จากตำรา  จากผู้มีประสบการณ์ และไปศึกษาดูงานจากผู้ที่เพาะเห็ด จนมีความรู้พอสมควร จึงได้ดำเนินการเพาะเห็ด

                   การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรียน เป็นการใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่เข้าช่วยในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต จนกระทั่งเกิดดอกและเก็บเกี่ยว ผู้ที่จะเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน จึงควรจะผ่านการเพาะเห็ดกองสูง หรือกองเตี้ยมาก่อน เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั้งเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งนี้เพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ต้องลงทุนครั้งแรกสูงมาก ในด้านการก่อสร้างโรงเรือน เครื่องกำเนิดไอน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ มีขั้นตอนในการเพาะเห็ดมากขึ้น โดยจะต้องหมักปุ๋ยที่จะใช้เพาะ นำมาตีให้ละเอียด ใส่ในโรงเรือน เลี้ยงเชื้อรา อบฆ่าเชื้อ ปรับอุณหภูมิความชื้นและแสง เป็นต้น หากปรับสภาพแวดล้อมไม่ถูกวิธีอาจทำให้เห็ดเสียหายได้

 

 

2

วัตถุประสงค์ ->

อาชีพเสริมเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

 

 การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อให้การดำเนินการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายควรมีอุปกรณ์ทีสำคัญดังนี้
     1. พัดลมดูดเป่า และ ระบายอากาศ เป็นพัดลมทรงกระบอกธรรมดา ขนาดใบพัด 16-20เซ็นติเมตร แต่ดัดแปลงทำกล่องสังกะสีสวมปากทางลมออก โดยให้มีลมออกได้ 2 ทาง ทางหนึ่งต่อเข้าภายในโรงเรือน อีกทางหนึ่งออกภายนอก ทั้งสองจะมีลิ้นเปิดปิด ส่วนทางออกลมก็เช่นเดียวกัน คือ ทำทางดูด 2 ทาง ต่อเข้าภายในด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอยู่ข้างนอก และมีลิ้นปิดเปิดเช่นกัน สำหรับทางออกลมก็ต่อเข้าภายในโรงเรือนโดยต่อขึ้นไปข้างบนขนานกับสันจั่ว อาจทำด้วยท่อเอสล่อนหรือใช้ผ้าพลาสติกเย็บให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางพอสวมปากท่อได้ ตรงท่อที่ขนานจั่วนั้นต้องทำการเจาะรูเท่าม้วนบุรี่เพื่อให้อากาศออก
     2. เทอร์โมมิเตอร์ คือ เครื่องมือสำหรับวัดอุณภูมิภายในห้อง ควรใช้ขนาดที่สามารถวัดได้ตั้งแต่ 0-100 องศาเซลเซียส อยู่ติดผนังสูงจากพื้นประมาณ 1.50 เมตร อยู่ด้านในของโรงเรือนก็ได้ ช่องที่เจาะใส่เทอร์โมมิเตอร์นั้นจะต้องกลวง เพื่อให้เทอร์โมมิเตอร์สัมผัสกับอากาศภายในส่วนด้านนอกของโรงเรือนปิดด้วยกระจกใสเพื่อง่ายต่อการอ่านค่า
     3. กะบะไม้หรือแบบพิมพ์ไม้สำหรับหมักวัสดุ จะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ได้ขนาดความกว้างและความยาวเท่ากันประมาณ 1-15 เมตร สูง 50 เซนติเมตร
     4. เครื่องตีปุ๋ยหมัก ใช้ตีปุ๋ย หลังจากหมักได้ที่แล้ว เครื่องตีปุ๋ยหมักควรเป็นเครื่องที่กำลังแรงสูง อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 5 แรงม้า อาจดัดแปลงจากเครื่องตีน้ำแข็ง หรือเครื่องตีหินก็ได้ ตีปุ๋ยหมักให้ละเอียดและฟู
     5. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ เครื่องพ่นฝอย เครื่องวัดความชื้น ตะกร้าเก็บเห็ด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

             ในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน วัสดุเพาะนิยมใช้และได้ดีที่สุดก็คือ ขี้ฝ้าย (อาจผสมไส้นุ่นด้วยก็ได้) โดยใช้ฟางเป็นวัสดุรองเพาะ อย่างไรก็ดีเรายังสามารถใช้วัสดุอื่น ๆ เพาะได้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ ไส้เปลือกถั่วเขียว เปลือกถั่วเหลือง ผักตบชวาแห้ง ต้นกล้วยแห้ง ฟาง เศษหญ้าแห้ง ชานอ้อย และต้นข้าวโพดแห้ง เป็นต้น แต่วัสดุดังกล่าวนี้ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรสำหรับขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนที่สำคัญก็มีดังนี้

1.       การหมักวัสดุที่ใช้เพาะ (การหมักขี้ฝ้าย, ไส้นุ่น)

2.       การตีป่นขี้ฝ้ายและการเติมธาตุอาหารเสริม

3.      การนำขี้ฝ้ายขึ้นชั้นเพาะเห็ด

4.      การเลี้ยงเชื้อราอาหารเห็ด

5.      การอบไอน้ำฆ่าเชื้อราและศัตรูเห็ด

6.       การจัดเตรียมเชื้อเห็ดฟางและการโรยเชื้อเห็ดฟาง

7.       การปรับอุณหภูมิและสภาพอากาศภายในโรงเรือน

8.       การดูแลการพัฒนาของดอกเห็ดและการเก็บผลผลิต

9.      การทำความสะอาดโรงเรือนเพื่อเตรียมการเพาะครั้งต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา