ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การสร้างบ้าน...........

โดย : นายสมชาย พรหมศรี วันที่ : 2017-03-29-17:15:55

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 101 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองกระทุ่ม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากสำเร็จการศึกษา ปวส.ด้านการก่อสร้างมา  และได้มาประกอบธุรกิจเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้าง  จึงอยากเพิ่มมารับเหมาก่อสร้างด้วย  เพื่อทำแบบครบวงจร

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพเสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 ขั้นตอนงานก่อสร้าง

    ปกติแล้วงานก่อสร้างบ้านพักอาศัยจะแบ่งลักษณะงานเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1 งานฐานราก และโครงสร้าง

2 งานผนังและหลังคา

3 งานช่องเปิดต่างๆ

4 งานระบบไฟฟ้า ประปา

5 งานตกแต่งสถาปัตยกรรม

6 งานฐานราก และโครงสร้าง

   

 - งานผนังและหลังคา

                งานส่วนนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสวยงามของตัวบ้าน และยังมีผลโดยตรงต่อการใช้งานอาคารในด้านการป้องกันความร้อน แสงแดด และน้ำฝน การตัดสินใจเลือกวัสดุที่จะใช้และขนาดระยะต่างๆ จะต้องเหมาะสมกับการใช้สอยและไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง                               

 - งานช่องเปิดต่างๆ

        หมายถึง ประตูและหน้าต่างทั้งหลาย ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มความสวยงามให้อาคารแล้วยังมีผลต่อระยะเวลาก่อสร้าง เนื่องจากโดยปกติงานส่วนนี้จะต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าตั้งแต่การจัดเตรียมช่องเปิดของผนัง และการสั่งผลิตจากผู้จัดจำหน่าย อีกทั้งจะกระทบต่อการจัดวางตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์และงานระบบต่างๆ การตัดสินใจกำหนดตำแหน่งจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ระหว่างก่อสร้างจะกระทบถึงค่าใช้จ่ายในงานก่อสร้างมากที่สุด                          

- งานระบบไฟฟ้า ประปา

       ศูนย์อำนวยความสะดวกของอาคารคืองานระบบเหล่านี้ หากถูกออกแบบมาไม่เหมาะสม หรือติดตั้งผิดตำแหน่งจะทำให้การใช้ประโยชน์ในอาคารเกิดความไม่สะดวกหรือเกิดอันตรายในบางกรณี เช่น งานไฟฟ้า ดังนั้นจะต้องไตร่ตรองถึงการใช้สอยในส่วนต่างๆ ของอาคารให้รอบคอบก่อนกำหนดตำแหน่งลงไป

- งานตกแต่งสถาปัตยกรรม

       สุดท้ายบ้านจะสวยงามเป็นที่ภาคภูมิใจของท่านเจ้าของบ้านเพียงใดขึ้นอยู่กับการเลือกประเภทวัสดุตกแต่งผิว ทั้งผิวพื้น ผนัง รวมถึงสีที่เลือกใช้ล้วนบ่งบอก รสนิยม อุปนิสัย บางครั้งรวมถึง ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย เช่นวัสดุพื้นที่ลื่นหรือหยาบในบางตำแหน่ง และมักจะเป็นส่วนที่มีมูลค่ามากเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของอาคาร ทั้งนี้มิได้หมายความว่าวัสดุตกแต่งที่มีราคาแพงจะต้องดีเสมอไป ซึ่งผู้ที่จะช่วยท่านตัดสินใจได้ดีในเรื่องนี้คือ สถาปนิกที่ปรึกษาของท่านนั้นเอง

                                     ขั้นตอนงานก่อสร้าง

งานโครงสร้าง

        งานด้านโครงสร้างนี้จะเริ่มตั้งแต่ การทำโครงสร้างของฐานราก อันได้แก่ การลงเสาเข็ม และ การหล่อ ตอม่อเพื่อรองรับโครงสร้างของเสา และคานที่จะต้องทำ            อย่างต่อเนื่องเป็นขั้น ตอนถัดไป หลังจากนั้น ก็จะเป็นงานโครงสร้างของ พื้นและบันไดซึ่งจะต้องเชื่อมต่อ กับเสาและ คาน ที่ได้ทำไว้แล้ว โดยการทำพื้น จะต้องเริ่มทำจากชั้นล่างไล่ขึ้น ไปหาชั้นบนเพื่อความสะดวก ในการทำงาน และการลำเลียงวัสดุต่อจากนั้น ก็จะเป็นงานโครงสร้างของหลังคา ซึ่งในปัจจุบันส่วน ใหญ่มักจะทำเป็น โครงเหล็กโดยเชื่อมต่อกับ เสาและคานชั้นบนสุด หลังจากการทำโครงหลังคาอันเป็น งานโครงสร้าง ส่วนสุดท้าย ของตัวบ้านแล้ว ก็มักจะต่อด้วย การมุงหลังคาเลย เพื่อทำหน้าที่คุ้ม แดดคุ้มฝนให้แก่ ตัวบ้านซึ่งจะสร้าง ในลำดับถัดไป ยังมีงานโครงสร้างของรั้ว ซึ่งอาจจะ ทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำไปพร้อม ๆ กับงานโครงสร้าง จำเป็นต้อง สร้างตัวบ้านให้ชิดกับรั้ว ก็มักจะทำรั้วภายหลัง เพื่อความสะดวก ในการจัดวาง และลำเลียง วัสดุก่อสร้าง ในระหว่าง การก่อสร้างตัวบ้าน                       

             การวางตำแหน่ง และการเดินท่อประปา เนื่องจากในปัจจุบัน บ้านส่วนใหญ่นิยมเดินท่อประปา ระบบฝังใต้พื้นเพื่อความสวยงาม ดังนั้นก่อนการเทพื้นจะต้องแน่ ใจว่าการวางแนวท่อต่างๆ ทำไว้อย่างเรียบร้อย และสอดคล้อง กับตำแหน่งของก๊อกน้ำต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ หรือถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข อย่างไรก็ต้องรีบทำ ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะทำการ เทพื้นกลบแนวท่อ เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้น การแก้ไขจะทำได้ลำบาก

งานปรับระดับดิน

          ก่อนการก่อสร้างบ้านจะต้องมีการปรับที่ดินให้มีความเหมาะสม โดยการถมและขุด หรือบางทีอาจจะใช้ทั้ง การถมและการขุดไปด้วยกัน เช่น การขุดเพื่อทำสระน้ำ, สระว่ายน้ำ, แล้วนำที่ดินที่เหลือ จากการขุดไปถม ในส่วนที่จะทำ การก่อสร้างบ้าน ให้สูงขึ้นเป็นเนิน เป็นต้น 

การขุด

ถ้ามีการขุดระดับต่ำกว่า 2.50 เมตร เพื่อทำห้องใต้ดิน, ทำสระว่ายน้ำ หรือถังเก็บน้ำใต้ดิน จะใช้วิธีตอกเข็มไม้ยาวตลอดแนวการขุดเป็นพืดเพื่อกันดินถล่ม หรือขุดดินปรับเป็นแนวเอียง ถ้าดินมีความเหนียวพอ ก็ไม่ต้องใช้เข็มไม้ตอก ถ้ามีการขุดระดับลึก 5.00 เมตร จะแพงเกินไป เพราะจะต้องใช้แผ่นเหล็ก   ตอกเป็นแนวกันดินถล่ม และใช้เครื่องตอกที่เป็นเครื่องกลซึ่งมีราคาแพงมาก                             

 งานฐานราก-เสาเข็ม

รูปแบบของงานเข็มในรูปแบบต่าง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อรับน้ำหนักอาคารบ้านเรือน แตกต่างกันไปตามประเภทของเข็มนั้นๆ ดังนั้น จึงควรมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน หรือรูปแบบของอาคาร

1. เข็มเจาะ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น ในกรณีที่จะนำมาใช้กับบ้าน เนื่องจากเทคนิค และวิธีการไม่ยุ่งยากมาก และราคาก็ไม่แพง ดังที่คิด เราใช้เข็มเจาะเมื่อมีความจำเป็นจะต้องตอกเข็มใกล้ๆ กับบ้านของคนอื่น เช่น ห่าง 0.80 เมตร โดยไม่อยากให้บ้าน ข้างเคียง มีปัญหาแตกร้าว ทรุด หรือซอยที่เข้าพื้นที่ก่อสร้าง มีขนาดแคบมากไม่สามารถจะขนส่งเสาเข็มต้นยาวๆ มาตอกได้ จึงจำเป็นจะต้อง ใช้เข็มเจาะ

2. เข็มกด เป็นการลดความสะเทือนในการตอกเข็มอีกวิธีหนึ่ง และไม่ค่อยยุ่งยากใช้กับโครงสร้างที่ไม่ใหญ่โตหรือรับน้ำหนักมากนัก เช่น โรงรถ กำแพงรั้ว ห้องครัวชั้นเดียว หรืองานเร่งด่วนที่ไม่ต้องการตั้งปั่นจั่น เข็มกดเป็นวิธีการที่ใช้รถแบ็คโฮ ดึงเสาเข็ม คสล. รูปหน้าตัด 6 เหลี่ยม ขนาดยาวต้นละ 6 เมตร มากด      โดยใช้แขนเหล็กของรถแบ็คโฮกดลงไป ซึ่งจะไม่มีความสะเทือนกับรอบๆ ข้าง วิธีนี้สะดวกและรวดเร็วแต่ให้ระวังแนวเสาเข็มต้องตั้งให้ตรงแล้วจึงกด ไม่เช่นนั้นเสาจะเบี้ยวหรือหัก หรือทำให้รับน้ำหนัก ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3. เข็มตอก เป็นเข็มที่มีราคาค่อนข้างประหยัด เมื่อเทียบกับเข็มเจาะ สามารถทำงานได้รวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มานาน แต่ข้อเสียคือ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนในเวลาตอกมากกว่าเข็มทุกประเภท และเกิดแรงอัดของดินที่เข็มถูกตอกลงไป แทนที่หน้าตัดของเข็ม อาจจะเป็นรูปตัว I หรือสี่เหลี่ยมตัน โดยทั่วไปจะมีขนาดยาวประมาณ 8-9 เมตรต่อท่อน จึงต้องต่อ 2 ท่อน เพื่อให้ได้ระยะความลึก เสาเข็มชนิดนี้ อาจจะทำให้อาคารบ้านเรือน ที่ติดกันแตกร้าว อันเนื่องจากแรงสั่นสะเทือน นอกจากนั้นการดำเนินการยังต้องใช้พื้นที่ เช่น การติดตั้งปั้นจั่น เข็มที่มีความยาว ก่อให้เกิดความ ไม่สะดวก ในการเคลื่อนย้าย

 ฐานราก คือ ส่วนที่ติดกับหัวเสาเข็ม รับน้ำหนักจากเสาถ่ายสู่เสาเข็ม เราสามารถแบ่งฐานรากเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ

ในการทำฐานราก ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกใช้ฐานรากตามสภาพของดิน ควรใช้วัสดุก่อสร้างตามแบบ วิศวกรรม โดยเคร่งครัด ไม่ตัดลดขนาด ปูนที่ใช้ทำฐานรากต้องใช้ปูนโครงสร้าง (Portland Cement) ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าปูนฉาบ เพราะหากฐานราก ทรุดตัวแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายแก่บ้าน หรืออาคารทั้งยากต่อการแก้ไขด้วย อัตราส่วนของ ปูน : ทราย : หิน ที่ใช้ในงานฐานราก งานถนน คือ 1 : 2.5 : 4 ควรใช้ปูนโครงสร้างดังที่กล่าวมาแล้ว ตลอดจนมั่นใจว่า หินและทราย มีความสะอาดเพียงพอ                                  

งานโครงสร้างคอนกรีต

    รูปแบบของงานเข็มในรูปแบบต่าง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อรับน้ำหนักอาคารบ้านเรือน แตกต่างกันไปตามประเภทของเข็มนั้นๆ ดังนั้น จึงควรมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน หรือรูปแบบของอาคาร

งานโครงหลังคา

การเลือกใช้หลังคาในภูมิอากาศเขตร้อนชื้นอย่างในเมืองไทย มีหลักต้องคำนึงถึงอยู่หลายประการดังต่อไปนี้

 1. หลังคาต้องมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา คือสภาพอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งมีทั้งความร้อนจากแสงอาทิตย์ และความชื้นในอากาศ ดังนั้นการเลือกใช้หลังคา จึงต้องคำนึงถึงความสามารถ ในการป้องกันความร้อน รวมถึงการออกแบบ ระบบการระบายความร้อนใต้หลังคา และการป้องกันความร้อน โดยใช้วัสดุประเภท ฉนวน ที่สามารถป้องกันความร้อนได้

 2. หลังคาต้องมีความสวยงามกลมกลืนกับรูปทรงของบ้าน หลังคาแต่ละประเภทควรมีลักษณะเฉพาะสะท้อนภาพลักษณ์ของเจ้าของบ้านออกมาแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเลือกใช้หลังคาประเภทใดก็ควรดูจาก ลักษณะรูปทรงของบ้าน ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านด้วย

 3. หลังคาต้องเหมาะสมกับงบประมาณ หลังคาแต่ละชนิดถึงแม้ว่าในเนื้อที่เท่ากัน แต่ราคาค่าก่อสร้างนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากความยากง่ายในการก่อสร้างที่แตกต่างกันรวมถึงวัสดุที่ใช้มากน้อยต่างกัน โดยจำแนกหลังคาบ้านที่นิยมกันอยู่ทั่วไปจากแบบที่ถูกไปสู่แบบที่แพงที่สุดคือ

                     

                     

งานพื้นคอนกรีต

         พื้นสำเร็จรูปมีมากมายหลายชนิด ให้เลือกใช้ ในบ้านพักอาศัยทั่วไปนั้น นิยมใช้พื้นสำเร็จรูปแบบท้องเรียบ ซึ่งใช้ได้ดีในช่วงเสา 3.5 - 4.5 เมตร ในขณะที่ แบบมีรูกลวง (hallow core) นั้นสามารถใช้ในช่วงเสาที่มีความกว้างถึง 6 -15 เมตร นิยมใช้กันใน อาคารขนาดใหญ่ ส่วนพื้นระบบ Post tension คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กชนิดพิเศษ ที่ออกแบบมา ให้สามารถ รับแรงดึง ได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเหล็กชนิดพิเศษนั้น ให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของพื้น ช่วยให้พื้นรับน้ำหนักมากขึ้น 

งานก่อผนังฉาบปูน

         ผนัง นั้นเรียกได้ว่าเป็นผิวหนังของบ้า สำหรับผนังภายนอกนั้นคอยปกป้องตัวบ้าน จากความเปลี่ยนแปลงของ อากาศ ร้อนหนาว แดด ลม ฝน ภายนอกบ้าน ส่วนผนังภายในนั้น ทำหน้าที่แบ่งส่วนใช้สอยต่าง ๆ ภายในบ้าน ให้เป็นสัดส่วน ตามการใช้สอย ผนังในบ้านนั้นมีทั้งผนัง ที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง หรือที่เราเรียกว่า ผนังรับน้ำหนัก ( ซึ่งแยกย่อยไปอีก เป็น ผนังรับน้ำหนัก ที่เป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก และผนังรับน้ำหนัก ที่ใช้การก่ออิฐเต็มแผ่น) ผนังลักษณะนี้ให้นึกภาพง่าย ๆ ว่าเป็นเสาที่ยึดยาวออกไปเป็น ผนังนั่นเอง ผนังชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้างแพงกว่า ผนังปกติสักหน่อย ส่วนผนังอีกประเภท เป็นผนังที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป คือ ผนังที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนัก หรือมิได้ทำตัวเป็นโครงสร้าง

งานสถาปัตยกรรม

        งานตกแต่งเป็นงานที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง งานใดที่ให้ผลงานปรากฏแก่ สายตาของผู้พบเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถึงความสวยงามเรียบร้อย หรือโดดเด่นประทับใจ ร่วมอยู่ด้วยก็อาจจัดอยู่ในส่วนของ งานตกแต่งได้ ซึ่งงานตกแต่งในที่นี้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานกึ่งก่อสร้าง กึ่งตกแต่งเสียมากกว่า งานหลักใน กลุ่มนี้ได้แก่ การบุฝ้าเพดาน การปูพื้นและบุผนัง การทาสี การติดตั้งสุขภัณฑ์ การติดตั้งดวงโคม ตลอดจนการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ งานในกลุ่มนี้มักจะทำใน ขั้นตอนท้าย ๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานในขั้นตอน อื่น ๆ แล้ว

          งานปูพื้น

กระเบื้อง ที่ใช้ปูพื้นทั่วไปในท้องตลาดมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กระเบื้องเซรามิคเคลือบ และกระเบื้องยาง ซึ่งเป็น วัสดุสังเคราะห์ กระเบื้องเคลือบ นั้นใน การปูพื้น ต้องเตรียม พื้นคอนกรีต ให้มีผิวหน้าหยาบ เพื่อให้ปูนที่ใช้ใน การปูพื้น กระเบื้อง เกาะยึดติดกับ พื้นผิวเดิม ให้แน่นไม่หลุดร่อน

กระเบื้องยาง นั้นพื้นที่จะปูนั้นต้องเป็นพื้นขัดมันเรียบ เพราะ กระเบื้องยาง นั้นใช้ กาวยาง เป็นตัวเชื่อมประสาน ระหว่างกระเบื้องและพื้น พื้นผิวที่เตรียมไว้ปูกระเบื้องยางจึงต้องเตรียมให้ได้ระดับ ต้องแห้ง และสามารถที่จะ กันน้ำซึมได้

งานบันได

เรื่องของบันได จะเริ่มขั้นแรกอย่างไรตำแหน่งควรวางอย่างไรให้ดูสวยด้วยสง่าภูมิฐาน ไม่ว่าเป็นบันไดแบบโมเดิร์น หรือคลาสสิคก็ตาม บันไดขั้นแรกต้องเป็นลักษณะอย่างไรลูกตั้งลูกนอนควรสูง – กว้างแค่ไหน การเดินการก้าว จึงจะสะดวก เดินขึ้นลงด้วยท่าทางที่สง่าภูมิฐานของท่านเจ้าของบ้าน ราวจับบันได , ราวกันตกบันได ควรมีขนาดเท่าไร ดีไซน์ของราวบันได ก็เป็นจุดเด่นของบันไดเหมือนกัน มิใช่ว่าออกแบบ ทำเสร็จสวยแต่ขึ้นแล้ว ไม่สบาย เดินแล้วเหนื่อย มีลูกตั้งที่สูงไม่เท่ากันเป็นของแถมมาให้เวลาเดินหน้าจะคะมำตกบันไดเอาดื้อๆ สำหรับคนสูงอายุ ก็น่าเป็นห่วงใหญ่ แบบบันไดปกติ เช่น บันไดขึ้นตรง , บันไดตัวยู บันไดตัวเอล หรือบันไดโค้ง

งานทาสีอาคาร

การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ

1. สีรองพื้น ( Primer ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้

2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า

3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ

4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน                   

งานสุขภัณฑ์

1. อ่างล้างหน้า

ประเภทของอ่างล้างหน้าแยกตามการติดตั้ง

- อ่างล้างหน้าแบบแขวนกับผนัง จะยึดขอเกี่ยวรับอ่างล้างหน้าไว้ ที่ผนังซึ่งใน การก่อสร้าง ควรทำคานเอ็น ในบริเวณ ที่จะยึด เพื่อความแข็งแรง          

- อ่างล้างหน้าแบบติดตั้งบนเคาน์เตอร์มี 2 แบบ คือ

1. อ่างล้างหน้าแบบฝังในเคาน์เตอร์ มีข้อดีคือ สามารถตกแต่งหน้าเคาน์เตอร์ได้เรียบร้อย และเก็บงานเดินท่อต่าง ๆได้เรียบร้อย แต่มีข้อเสีย คือ ต้องใช้วัสดุปู            

 2.อ่างล้างหน้าแบบวางบนเคาน์เตอร์ เป็นแบบที่นิยมโดยทั่วไปการบำรุงรักษาทำได้ง่ายกว่าสามารถถอดซ่อมได้และการติดตั้ง ทำได้ง่ายไม่ต้องเจาะรู สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ          

งานประปา

น้ำคือปัจจัยที่สำคัญใน การดำรงชีวิตของมนุษย์ เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีการวาง ระบบน้ำประปา มาใช้ในอาคารด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับ อาคารบ้านเรือน ทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกใน การใช้งานอีกทั้งสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย ต้องคำนึงถึง การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได้แก่ ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อน

ไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง และนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้อง คำนึงถึงอีกมากมาย ดังเช่น

1) จัดเตรียมพื้นที่การเดินท่อทั้งแนวนอน แนวดิ่ง รวมถึงระยะลาดเอียงต่าง ๆ

2) ติดตั้งฉนวนในระบบท่อที่จำเป็นเช่น ท่อน้ำเย็น เพื่อลดความเสียหายจากการรั่วซึม

3) ออกแบบระบบแขวน และรายละเอียดอื่น ๆ ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ

4) จัดเตรียมพื้นที่สำหรับการบำรุงรักษา 

ระบบน้ำประปา มีส่วนสำคัญคือ การจ่ายน้ำที่สะอาดไปยังจุดที่ใช้งานต่าง ๆ ในปริมาณ และแรงดันที่เหมาะสม กับการใช้งาน นอกเหนือ จากนั้น ยังจะต้องมีระบบ การสำรองน้ำในกรณีฉุกเฉิน หรือมีการปิดซ่อม ระบบภายนอก หรือช่วงขาดแคลนน้ำ และในอาคาร บาง ประเภท ยังต้องสำรองน้ำสำหรับ ระบบดับเพลิงแยก ต่างหากอีกด้วย

 

 

ข้อพึงระวัง ->

ควรจะเหมาะกับประโยชน์ใช้สอยและตำแหน่งผนัง

-บริเวณผนังด้านนอกควรใช้ไม้แผ่นเพราะโดนความชื้น

-ผนังกั้นห้องภายในใช้ไม้อัดหรือยิปซัมก็ได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา