ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานไม้ไผ่

โดย : นางชูศรี เกตุทอง วันที่ : 2017-03-01-10:04:18

ที่อยู่ : บ้านเลขท่ี่ 58 หมู่ 8 ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวบ้านตำบลชีน้ำร้าย ส่วนใหญ่มีพื้นฐานในการจักสานไม้ไผ่เพื่อใช้ในเป็นอุปกรณ์อำนวยความ

สะดวกในชีวิตประจำวันมาช้านานแล้ว ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ  ประกอบกับสภาพภูมิประเทศ วัตถุดิบที่อยู่ในชุมชนมีมากมาย นั่นก็คือไม้ไผ่สีสุก ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในการจักสาน  เครื่องจักสานที่ทำ เช่น กระบุง ตะกร้า พัด กระจาด เป็นต้น 

          นางชูศรี  ได้ใช้เวลาว่างจาการประกอบอาชีพหลักคือทำนา มาจักสานและก่อตั้งเป็นกลุ่มจักสานบ้าน

สวนมะปรางขึ้นในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพเสริมเพ่ิ่มรายได้ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

 

 

อุปกรณ์ ->

1.ไม้ไผ่สีสุก (มีมากในตำบลชีน้ำร้าย น้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ กอไผ่ไม่ตาย)

  2 มีดจักตอก

  3 น้ำสะอาด (สำหรับพรมตอกไม่ให้แข็ง จนทำให้ตอกหัก)

  4.สีย้อมกก/ เสื่อ

  5. มีดปลายแหลมเล่มเล็ก ๆ (สำหรับดันตอกให้ชิดติดกัน)

  6. ทินเนอร์ยูรีเทน (สำหรับล้างแปรงทากาแลนยูรีเทน)

  7. กาแลนยูรีเทน (สำหรับเคลือบเงาให้สวยงาม คงทน ไม่ขึ้นรา)

  8. แปรงทาสีขนาดเล็ก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. นำไม้ไผ่สีสุกมาตัดเป็นท่อน ๆ โดยไม่เอาข้อปล้อง เนื่องจากจะแข็งเวลาสานออกมาลาย จะไม่สวย แล้วผ่าเป็นซีกเล็ก ๆ

          ๒. นำไม้ไผ่ที่มามาจักตอก ชาวบ้านชีน้ำร้ายบางคนเรียกว่า “ลอกตอก” เป็นเส้นขนาดตามต้องการ ถ้าเป็นจักสานที่มีความละเอียดน้อยก็ตอกเส้นหนา แต่ต้องการความละเอียดมากก็เป็นเส้นบาง ๆ เล็กๆ

          ๓. หากต้องการให้ตอกมีสีสัน ก็ทำการย้อมโดยใช้สีย้อมกก หรือย้อมเสื่อ กรรมวิธีการย้อมใช้เตาฟืน เนื่องจากมีวัตถุดิบคือเศษไม้จากการจักตอก และเศษไม้ไผ่ เป็นการประหยัดพลังงาน ต้องย้อมขณะที่น้ำเดือดพล่าน บางสีอาจใช้เวลาเคี่ยวนานเป็นชั่วโมงเนื่องจากสีแต่ละสีคุณสมบัติในการซับน้ำไม่เหมือนกัน การจะดูว่าย้อมได้ที่หรือยังให้นำตอกมารูดกับมือ หากสีไม่ติดมือแสดงว่าใช้ได้ และนำตอกนั้นไปล้างน้ำยาล้างจานเพื่อให้หมดสี เวลาสานและนำไปใช้สีจะไม่ตก หรือกระดำกระด่าง เมื่อล้างเสร็จแล้วนำไปตากในที่ร่ม เพราะหากตากแดดแรงจะทำให้ตอกเปราะ เวลาจักสานเส้นจะแตกไม่สวยงาม

          4. ขึ้นรูปโดยการใช้แบบ (กรณีเป็นตะกร้า) แต่ถ้าเป็นสานพัดจะขึ้นรูปตรงกลางโดยให้เส้นตอกแต่ละเส้น ตามรูปแบบของพัดแต่ละรูปทรง แล้วสานวนจากลางขึ้นไปเรื่อย ๆ จนได้ขนาดตามต้องการ เช่น พัดเตาจะยกหนึ่ง ห่มสาม พัดใบตำลึงจะยกหนึ่ง ห่มหนึ่ง เป็นต้น

          5. หักริมตอกแต่ละด้านเข้าหากันให้เป็นรูปพัดแต่ละแบบ และใช้ตอกขัดเข้าหากันจนแน่นสนิท ในตอนสุดท้ายใส่ด้ามพัด

          ๕. ทากาแลนยูรีเทน เพื่อให้คงทนแข็งแรงขึ้น กันมด แมลงและเพิ่มความสวยงาม ทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ นาที

          ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงกระบวนการสุดท้ายการจักสาน แล้วแต่ชนิดของจักสานนั้น หากเป็นพัดธรรมดา ใช้เวลาประมาณ ๑๐-15 นาที ถ้าหากเป็นตะกร้าอาจใช้เวลาเป็นวัน หรือหลายวัน แล้วแต่ความยากง่ายของผลิตภัณฑ์ (ยังไม่นับเวลาที่จักตอก)

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา