ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ภาคเกษตร ทำนา

โดย : นายสุนทร กัลยา วันที่ : 2017-03-29-11:06:18

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๔๐ หมู่ที่ ๖ ตำบล ท่างาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตัวผมเองเป็นคนหมู่ที่ ๖ มีพื้นที่ทำนาอยู่หมู่ ๑๑ ซึ่งตอนที่ผ่านมาชีวิตก็ได้ศึกษาเรียนรู้มาจากคุณพ่อคุณแม่ซึ่งมีอาชีพทำนามาก่อน จนปัจจุบันตัวผมเองก็ได้เรียนรู้ปฏิบัติด้วยตนเองในการทำนา และในการที่ตัวเองได้ลองปฏิบัติจริงจึงพบความสำเร็จในการทำนาแต่ละรอบ แต่ละครั้งที่จะได้ผลผลิตเป็นที่พึงพอใจ

วัตถุประสงค์ ->

-

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. ก่อนเริ่มทำนาเราต้องเตรียมกระบวนการให้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดิน คือเราจะต้องปล่อยน้ำหมักทิ้งแช่ไว้ในนาประมาณ ๒๐ กว่าวัน แล้วจึงค่อยตีดินหมักทิ้งเอาไว้อีกสัก ๒ อาทิตย์เพื่อที่วัชพืช ดินจะได้มีความร่วนซุยตีง่าย พร้อมทั้งย้ำลูบก็ง่าย

          ๒. ในการที่เราแช่เมล็ดข้าวเปลือกต้องแช่ ๒๖ ชั่วโมง แช่ด้วยน้ำหมักชีวภาพในการกระตุ้นเมล็ดจะได้มีความออกที่สมบูรณ์ นำข้าวขึ้นมาตั้งรอที่จะหว่านในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นเมื่อว่านเสร็จแล้วปล่อยข้าวแช่สัก ๓ – ๔ ชั่วโมงก็ได้ แล้วจึงค่อยปล่อยน้ำออกจากแปลงนา แล้วก็ค่อยชักน้ำที่ติดขังอยู่ตอนลุ่ม ๆ ที่ไม่ออก หลังจากนั้นเมื่อน้ำออกหมดจากแปลงแล้ววันรุ่งขึ้นก็ฉีดยาคุมนาเลย ทิ้งระยะสัก ๑๐ – ๑๕ วัน ก็ดูข้าวแตกขึ้นมาสัก ๒ นิ้ว หรือ ๒ ใบ ก็ฉีดยาคุมฆ่าอีก ๑ รอบ แล้วก็ปล่อยน้ำให้มิดใบวัชพืชสัก ๒ วัน เพื่อให้วัชพืชเน่าตายหมด ปล่อยน้ำออกให้หมดเพื่อให้ข้าวฟื้นตัวสัก ๑ อาทิตย์ ก็ค่อยเอาน้ำเข้าแปลงเหมือนเดิมพอได้ ๑ เดือนก็พรมปุ๋ยยูเรียบาง ๆ ให้ทั่วแปลง เพื่อที่ต้นข้าวมีการตื่นตัวได้พอครึ่งเดือนก็พรมปุ๋ยสูจน ๑๖-๘-๘ พอ ๒ เดือนครึ่งก็พรมปุ๋ยสูตร ๑๖-๒๐-๐ อีก ๑ ครั้ง พอข้าวเริ่มออกก็แต่งหน้าด้วยยูเรียพรมบาง ๆ กระตุ้นให้ออกเสมอ พอข้าวออกหมดดีแล้วก็ฉีดโฮโมนทางใบ (น้ำหมักชีวภาพ) ช่วยเร่งเต่งตึงไม่เป็นท้องปลาซิวมาก ผลผลิตก็จะได้อย่างพอใจ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา