ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ตอนกิ่งไม้

โดย : นางสิริจันทร์ ช่างสลัก วันที่ : 2017-03-28-14:07:54

ที่อยู่ : 27/1 ม.3 ตำบลหัวป่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การตอนกิ่งเป็นการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศวิธีหนึ่ง ข้อดีคือ ทำให้ได้คุณสมบัติของพืชตรงตามลักษณะต้นแม่พันธุ์ทุกประการ ต่างกับการขยายพันธุ์ด้วยเพาะเมล็ด ซึ่งมีโอกาสกลายพันธุ์สูง คุณสมบัติอาจไม่ตรงกับต้นแม่พันธุ์อาจดีหรือเลวกว่าต้นแม่พันธุ์ ข้อเสียของการตอนกิ่งคือ ไม่มีรากแก้ว ทำให้หาอาหารไม่เก่ง แก้ได้ด้วยการเสริมราก หรือปลูกใส่ปลอกส้วม กระถาง ยางรถยนต์เก่า หรือภาชนะปลูกอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ควบคุมการให้น้ำ ปุ๋ย ฮอร์โมนเสริมได้ง่าย ข้อเสียอีกอย่างคือ การที่ไม่มีรากแก้ว เมื่อปะทะลมแรงๆ พืชอาจโค่นถอนทั้งรากได้ง่าย เนื่องจากระบบรากจะตื้น ไม่หยั่งลึกลงดินชั้นล่างมากนัก วิธีแก้ ให้เสริมรากแก้วสำหรับพืชบางชนิด ปลูกลงปลอกส้วม ตัดแต่งกิ่งอย่าให้สูง ปลูกไม้ตรงริมแดนเป็นแนวกันชนไว้ปะทะลม เช่น ไผ่ ขี้เหล็ก ทองหลาง ประดู่ ฯลฯ จะช่วยลดแรงปะทะของลมได้

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้นไม้ ขุยมะพร้าว

อุปกรณ์ ->

1. มีดคมสะอาดๆ
2. ขุยมะพร้าว
3. ถุงพลาสติคใส
4. เชือกสำหรับมัด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- การเลือกกิ่งตอน กิ่งที่เหมาะจะตอนคือกิ่งกระโดง ( กิ่งชี้ขึ้นบนฟ้า ) กิ่งแนวนอนก็สามารถตอนได้ แต่จะสู้กิ่งกระโดงไม่ได้ กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ ( กิ่งอ่อนไม่ควรนำมาตอน ) กิ่งที่โดนแดดจะออกรากได้ง่าย เร็ว กว่ากิ่งในร่ม

- การควั่นกิ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งเป็นวงแหวน โดยวงแรกให้ควั่นชิดกับข้อกิ่ง ( ตรงเปลือกตานั่นแหละ ) อย่าให้โดนเปลือกตา ให้ควั่นห่างประมาณ 1-2 มิลลิเมตร วงที่สองให้ควั่นห่างจากวงแรก ถ้าเป็นกิ่งประมาณดินสอหรือเล็กกว่านิดหน่อย ให้ควั่นห่างประมาณข้อนิ้วมือหรือเกินกว่านั้นนิดหน่อย ถ้ากิ่งเล็กกว่านี้ ให้ควั่นระยะห่างสั้นลงมาอีก แต่ถ้าเป็นกิ่งใหญ่กว่า ให้ควั่นระยะยาวเพิ่มไปอีก แต่อย่าให้มากเกินไปนัก
หลังจากควั่นวงแหวนสองวงแล้ว ให้ใช้มีดกรีดจากวงแหวนด้านบน ( วงติดกับข้อกิ่ง ) ตามยาวลงมายังวงแหวนด้านล่าง พยายามกรีดให้น้ำหนักพอๆกับกรีดวงแหวน จะได้ลอกเปลือกออกง่าย จากนั้นลอกเปลือกออกมา ลองจับรอยควั่นดู ถ้ายังมีเมือกหรือเนื้อเยื่อลื่นๆ ( มักเป็นสีเขียวๆ ) ให้ใช้สันมีดขูดเมือกหรือเนื้อเยื่อออกให้หมด ระวังตรงจุดออกราก ( ตรงวงแหวนด้านติดข้อกิ่ง ) อย่าให้ช้ำ ถ้าช้ำจะทำให้ออกรากไม่ดี นอกจากนี้ให้ใช้มีดกรีดลงมายาวประมาณ 1 นิ้ว สัก 3 รอยรอบๆโคนกิ่งตอนด้านบน อย่ากรีดให้ลึกนัก จะช่วยเพิ่มจุดออกราก ทำให้ได้รากโตๆเพิ่ม

การทิ้งกิ่งตอน หลังจากควั่นกิ่งตอนเสร็จ อย่าพึ่งหุ้มกิ่งตอน ควรทิ่งกิ่งตอนไว้ 1-2 วัน ยิ่งพืชที่มียางมากอาจต้องทิ้งไว้ 3-4 วัน บางชนิดอาจต้องทิ้งถึง 1-2 อาทิตย์หรือนานกว่านั้น แล้วแต่ชนิดของพืช ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ว่าพืชนั้นๆจะต้องทิ้งกิ่งตอนไว้นานเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม การทิ้งกิ่งตอนช่วยทำให้การเกิดรากมีอัตราสูงขึ้น

- หลังจากทิ้งกิ่งตอนจนครบกำหนดแล้ว ให้นำตุ้มตอนมาหุ้มกิ่งตอน

- การทำตุ้มตอน ให้นำขุยมะพร้าวที่ตีเส้นเอาใยออกแล้วมาแช่น้ำประมาณ 1 คืน น้ำที่เอามาแช่ขุยมะพร้าว ให้ใช้น้ำเปล่า 5 ลิตร ผสมเครื่องดื่มชูกำลัง 1 ฝา ยี่ห้อใดก็ได้ตามแต่จะชอบ ขอให้มีส่วนผสมของน้ำตาล ยิ่งมีวิตามิน เกลือแร่ผสมด้วยยิ่งดี หรือ ผสมกับน้ำหมักชีวภาพยิ่งเป็นสูตรเร่งรากยิ่งดี การใช้วิธีนี้จะช่วยให้รากออกมาดี เร็ว แข็งแรง ถ้าหาขุยมะพร้าวไม่ได้ให้ใช้ดินถุงที่ขายตามร้านขายต้นไม้ทั่วๆไปแทนได้ ( ควรเลือกชนิดสำหรับเพาะชำ ส่วนใหญ่จะมีเขียนบอกไว้ว่าเป็นดินสำหรับทำอะไร ดินชนิดเพาะชำมักมีส่วนผสมเป็นขุยมะพร้าวในสัดส่วนที่สูง ) อัดดินให้เต็มถุง เติมน้ำเข้าไปนิดหน่อยให้ชุ่ม ให้แกลบดำหรือดินถุงจับกันแน่นเป็นก้อน จากนั้นก็รัดปากถุง แล้วออกแรงบีบๆ ปั้นให้ดินเป็นก้อนติดกันแน่น จากนั้นก็เอาไปตอนกิ่งได้เลย รากออกดีไม่แพ้ขุยมะพร้าว แต่ตอนแกะตุ้มตอนอาจต้องระวังให้มากเป็นพิเศษ ต้องแกะอย่างระมัดระวังไม่ให้ตุ้มดินแตก หากแตกอาจทำให้รากกระทบกระเทือนหรือขาด ทำให้กิ่งตอนตายได้ การใส่ขุยมะพร้าวต้องอัดใส่ให้แน่นๆ อย่าให้หลวม มัดปากถุงให้แน่น จะใช้ยางวงมัดปากถุงก็ได้ แต่มีข้อเสียคือถ้าเจออากาศร้อน ยิ่งตากแดดแล้วจะเปื่อยขาดง่าย หากเจอพืชที่ออกรากยากหรือนาน ยางอาจเปื่อยขาดก่อน ทำให้ปากถุงเปิดออกมาได้

ข้อพึงระวัง ->

- การดูแลรักษากิ่งตอน หลังจากทำการตอนกิ่งแล้ว ควรหมั่นดูแลตุ้มตอนเสมอ ให้คอยดูว่าตุ้มตอนยังมีไอน้ำจับหรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ที่ผิวพลาสติกภายใน แสดงว่าความชื้นยังมีอยู่ แต่ถ้าไม่มีต้องให้น้ำเพิ่มเติมจนกว่ากิ่งตอนจะออกราก นอกจากนี้ต้องระวังพวก มด แมลง มาทำลาย ถ้ามีต้องกำจัดทิ้ง

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา