ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การแทงหยวก

โดย : นายสมใจ น้อยสะอาด วันที่ : 2017-02-08-16:28:36

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 1197/2 ชุมชนห้วยทรายเหนือ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในสมัยก่อนการแทงหยวกจะมีบ่อยครั้งโดยเฉพาะงานศพแห้ง จะแทงหยวกในรูปเชิงตะกอนหรือเมรุ หยวกจะมีหลายรูปแบบสุดแล้วแต่ทางเจ้าภาพต้องการ แต่ปัจจุบันการแทงหยวกไม่เป็นที่นิยม เพราะไม่มีวัสดุใหม่ๆ มาแทน และคนแทงหยวกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และขาดการสืบทอด

               นายสมใจ น้อยสะอาด เป็นผู้สนใจการแทงหยวกมาตั้งแต่เด็ก เพราะเห็นผู้เป็นพ่อทำ และจดจำมาทำ มีการลองผิดลองถูกมามากมาย จนสามารถทำและสอนต่อให้คนรุ่นหลักได้

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  1. หยวกกล้วยตานี หรือหยวกกล้วยน้ำหว้า

  2. มีดแทงหยวก

  3. ตอกคู่หัวเดียว

  4. ผ้าแห้ง

  5. สีผง

  6. หินรับมีด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. การเลือกหยวกกล้วย หยวกที่นิยมใช้คือหยวกกล้วยตานี แต่ปัจจุบันหาได้ยาก จึงใช้กล้วยน้ำหว้า แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน

  2. การแทงหยวกจะมี 2 แบบ คือ การใช้แบบมาทาบกับหยวกแล้วแทงตามแบบ และแบบตีเส้นกำหนดเส้นขอบบนขอบล่าง และแทงลวดลายไปตามจินตนาการ เช่น ลายกนก ลายกระจัง ลายบัวคว่ำ บัวหงาย เป็นต้น

  3. การเล่นลายหยวก เมื่อแทงลายเสร็จตามแบบที่ต้องการ หลังจากนั้นก็จะทำการเล่นลายหยวกเพื่อให้เกิดความสวยงาม

  4. การแลสี (การลงสี) ใช้ผ้าชุบสีที่ละลายน้ำไว้ ลูบตามกาบกล้วย แล้วเช็ดออกด้วยผ้าแห้ง เมื่อเช็ดสีชั้นนอกออก จะคงเหลือเหลือแต่สีที่อยู่ชั้นในตามรอยแทง  สีที่เข้าไปตามลายที่แทงจะสวยงามและโดดเด่นขึ้น

  5. การปรุง (การประกอบ) ใช้ตอกคู่ หัวเดียว จักบางๆ เพื่อแทงหยวกให้เข้ารูปตามรูปแบบที่กำหนดและบิดตอกให้แน่นเอาปลายตอกซ่อนไว้ภายใน กรณีขึ้นรูปหลายชั้น ให้ขึ้นชั้นบนลงล่าง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

การแทงหยวกต้องอาศัยความใจเย็น เพราะต้องใช้ความปราณีในการแทง หากใจร้อน หยวกอาจขาดทำให้ลายไม่ต่อเนื่องกัน   

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา