ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดหูหนู

โดย : นายเรียน ร้อยนาค วันที่ : 2017-02-08-16:04:25

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 69 หมู่ 4 ตำบลท่าตะคร้อ อำเภอหนองหญ้าปล้อง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในอดีตประชาชนบ้านสามเรือนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ ทำการเกษตร  แต่ได้มีคนในชุมชนบ้านสามเรือนได้นำความรู้เรื่องการเพาะเห็ดมาประกอบเป็นอาชีพเสริม  และสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว  คนในชุมชนจึงได้เรียนรู้และนำมาพัฒนาจนเป็นอาชีพหลักของคนบ้านสามเรือนเห็ดที่มีการผลิตมากที่สุดในหมู่บ้านสามเรือนคือ เห็ดหูหนู  รองลงมาคือเห็ดนางรมฮังการี และเห็นนางฟ้าภูฏาน  นอกจากนี้มีการผลิต เห็ดยานางิ  และเห็ดเป๋าฮื๊อ บ้างเล็กน้อย  และเห็ดที่เป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อให้กับบ้านสามเรือนคือเห็ดหูหนู 

                   นายเรียน  ร้อยนาค  เป็นผู้สนใจและพัฒนาการเพาะเห็ดมาตั้งแต่แรก  มีการลองผิดลองถูกมามากมาย  จนปัจจุบันประสบความสำเร็จในการเพาะเห็ดครบวงจร

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง 100 กิโลกรัม

2. แป้งข้าวสาลีหรือน้ำตาล 3-4 กิโลกรัม

3. รำละเอียด 5 กิโลกรัม

4. ข้าวโพดป่น 3-5 กิโลกรัม

5. ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม

6. ปูนขาว 0.5-1 กิโลกรัม

7. น้ำสะอาด 70-80 กิโลกรัม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

นำส่วนผสมต่าง ๆ  มาคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน  ค่อยๆ  ผสมน้ำลงไป ให้ขี้เลื่อยมีความชื้น   ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบโดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดูเมื่อคลายมือออก   หากขี้เลื่อยมีความชื้นพอเหมาะขี้เลื่อยอาจจะแบ่งออกเป็น 2-3 ก้อนใหญ่เท่านั้น ไม่แตกละเอียดเป็นก้อนเล็ก ๆ ซึ่งแสดงว่าแห้งเกินไปหรือจับเป็นก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว  ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป เมื่อส่วนผสมได้ที่แล้ว   บรรจุลงถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 8-10 ขีด อัดก้อนให้แน่นพอสมควร ส่วนปากถุงใส่คอขวดใช้ ยางรัดอุดจุกสำลีปิดทับด้วยกระดาษรัดยางอีกชั้น นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งนาน 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด เมื่อนำออกมาตั้งไว้ให้เย็น ทำการเขี่ยเชื้อเห็ดลงไป นำไปบ่ม ดูรายละเอียด ขั้นตอน การเพาะเห็ดในถุงพ

การบ่มก้อนเชื้อ

          หลังจากการที่เขี่ยเชื้อเรียบร้อยแล้ว ให้นำก้อนเชื้อ ไปบ่มไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิสม่ำเสมอ ในการบ่มเชื้อถ้าต้องการให้เชื้อเห็ดเจริญเร็ว ควรปฏิบัติดังนี้

          1. อุณหภูมิที่ใช้บ่มควรอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิห้อง

          2. ในระยะแรกของการเดินของเส้นใยเห็ดหูหนุ ไม่ต้องให้มีอากาศถ่ายเทมากนัก ถ้าอากาศไม่ถ่ายเทและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมไว้มาก เส้นใยเห็ดหูหนูเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วดังนั้นในระยะ 10 วันแรก ของการบ่มเชื้อไม่ควรให้มีลมโกรกมากนัก

          3. ในระยะที่เส้นใยเจริญเต็มที่ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ในระยะนี้จำเป็นต้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และให้ก้อนเชื้อถูกแสงสว่างบ้างซึ่ง จะช่วยกระตุ้นให้เส้นใยมีการสะสมอาหารและรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดเล็กๆ ภายในถุง

          4. ก้อนเชื้อที่เส้นใยเดินเต็มพร้อมที่จะเปิดดอกได้ ไม่ควรเก็บนานเกิน 15 วัน เพราะก้อนเชื้อจะแก่เมื่อเอาไปใช้จะเจริญเป็นดอกช้ามากหรือไม่เจริญ ควรเก็บในที่มีอากาศค่อนข้างเย็น จะทำให้ก้อนเชื้อแก่นั้นเสื่อมช้าลง

การทำให้เกิดดอก

          เมื่อเส้นใยเห็ดหูหนูเจริญเต็มก้อนเชื้อแล้ว การทำให้เห็ดเกิดดอกควรปฏิบัติดังนี้

          1. การกรีดถุง ให้ถอดคอขวดพลาสติกออกแล้วรวบปากถุงใช้ยางรัดให้แน่นแล้วใช้มีดคม ๆ กรีดข้างถุงโดยรอบ กรีดเป็นรูปกากบาทเล็ก ๆ หรือเป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ 1 นิ้ว สำหรับเห็ดหูหนูไม่นิยมเปิดปากถุงหรือเปลือยถุง เพราะขนาดดอกที่ออกจะใหญ่ มักไม่เป็นที่นิยมของตลาดและการที่ไม่กรีดเป็นช่วงยาว ๆ ก็เพราะดอกเห็ดที่ออกจะติดกันเป็นแถวยาวตามรอยกรีด และจะมีขนาดดอกไม่เสมอกันตั้งแต่ ขนาดที่เก็บไว้ทานได้จนถึงขนาดที่เริ่มเป็นตุ่ม เวลาเก็บให้หมด เพราะจะอยู่ติดกัน ดอกที่เล็กอยู่และมีโอกาสโตได้อีกจะเสียไป ดูรายละเอียด ขั้นตอน การเปิดดอกเห็ดหูหนู

          2. การวางก้อนเชื้อ อาจวางได้ 2 วิธี คือ

          การวางบนชั้น คล้ายกับเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ โดยให้แต่ละถุงห่างกันประมาณ 5-7 ซม. ถ้าวางห่างกันมากเกินไป จะเกิดผลเสียคือสิ้นเปลืองพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์ ความชื้นไม่เพียงพอ เพราะระยะก้อนเชื้อห่างกันมาก จึงทำให้ได้จำนวนถุงน้อยและสิ้นเปลืองเวลา ในการรดน้ำดอกเห็ดที่ได้จะขนยาว ดอกหนา ไม่เป็นที่นิยมของตลาด

ลาสติก

 

 

ข้อพึงระวัง ->

1. อุณหภูมิ เห็ดหูหนูสามารถเจริญได้ดีในทุกสภาพอากาศของไทย ในช่วงอุณหภูมิ 15-35 องศาเซลเซียส แต่ช่วงอุณหภูมิ ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยจะไม่ค่อยเจริญเติบโต ถ้าอุณหภูมิต่ำ  ดอกเห็ดจะหนาผิดปกติ มีขนยาว เจริญเติบโตช้าและผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก ผลผลิตต่ำ

2. ความชื้น ปกติต้องการความชื้นในอากาศสูงมาก ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะในระยะเวลาที่เห็ดใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์

3. แสงสว่าง ปกติไม่จำเป็นนักแต่ในช่วงที่เส้นใยเจริญเติบโต หากมีแสงมากจะทำให้เส้นใยเดินช้าแก่เร็ว จึงควรเลี้ยงเส้นใยในห้องที่ค่อนข้างมืด สำหรับในช่วงที่เห็ดเริ่มออกดอก ถ้าแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีสีคล้ำขนยาว แต่ถ้าแสงน้อยดอกเห็ดจะซีด

4. การถ่ายเทอากาศ การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญมาก ถ้าการถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ๆ ดอกเห็ดจะไม่บานแต่จะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง แต่ถ้าอากาศถ่ายเทมากเกินไป จะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะแข็งกระด้าง มีขนยาว จึงนิยมเพาะในโรงเรือนที่มุงด้วยจากหรือหญ้าคา และบุด้วยพลาสติกภายในพร้อมกับ เจาะพลาสติกเป็นช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทพอสมควร

5. สภาพความเป็นกรด-ด่าง เห็ดหูหนูเจริญได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือเป็นกรดเล็กน้อย ประมาณ 4.5-7.5 คล้ายกับเชื้อราทั่วไป ในการเพาะเห็ดหูหนูจึงควรปรับ สภาพของอาหารให้เหมาะกับการเจริญเติบโต

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา