ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงโคพื้นเมือง

โดย : นายนิยม บุญมี วันที่ : 2017-06-15-14:02:40

ที่อยู่ : 64 หมู่ที่ 1 ซอย – ถนน – ตำบลหัวสะพาน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายนิยม  บุญมี  เป็นปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงโคพื้นเมือง สร้างรายได้ให้ครอบครัวและชุมชนได้

โคพื้นเมืองเป็นโคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน มีขนาดเล็กทนทานต่อสภาพอากาศร้อนชื้น ทนต่อโรคพยาธิและแมลงรบกวนได้ดี หากินเก่ง ให้ลูกดกสามารถใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ และพื้นที่เลี้ยงสัตว์ตามธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงการเลี้ยงโคพื้นเมือง โคพื้นเมืองมีความทรหดอดทน หากินเก่งเลี้ยงได้ทุกสภาพแวดล้อม แม้ว่าแหล่งอาหารจะไม่เพียงพอก็ยังสามารถให้ลูกได้ทุกปี ราคาไม่แพง ถึงจะไม่ค่อยได้รับการดูแลเอาใจใส่ก็สามารถอยู่ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินทุนไม่มากนัก มีพื้นที่หรือแหล่งอาหารค่อนข้างจำกัด จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรรายย่อยสามารถนำมาเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างอาชีพให้กับครอบครัวและขยายผลสู่ครัวเรือนอื่นๆ  และสร้างรายได้ให้ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

โคพื้นเมืองภาคกลาง (โคลาน) มีลักษณะ คือ

·         เนื้อเขา และเนื้อกีบ: สีดำ หรือน้ำตาลดำ

·         ขอบตา เนื้อจมูก : สีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลดำ

·         ขนพู่หาง: สีดำ หรือน้ำตาล

·         ขนลำตัว: สีน้ำตาล น้ำตาลแดง ขนสั้นเกรียน

·         ขนตา และหนัง: สีดำ หรือน้ำตาล

·         น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่:
เพศผู้ 300-350 กก.
เพศเมืย 200-260 กก.

อุปกรณ์ ->

คอกควรสร้างบนที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง ไม่มีน้ำขัง ถ้าเป็นไปได้ควรให้ความยาวอยู่ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ขนาดคอกขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนโค มีหลักการคำนวณง่ายๆคือ

·         พื้นที่ส่วนที่เป็นหลังคา = ส่วนกว้างที่สุดของท้องโค x ความยาวจากปาก- บั้นท้าย x 2

·         พื้นที่ส่วนไม่มีหลังคา = 2 เท่าของพื้นที่มีหลังคา

แบบคอกโคสำหรับเกษตรรายย่อยเน้นวัสดุอุปกรณ์ที่มีและหาง่ายในท้องถิ่น

สถานที่ : ที่ดอนระบายน้ำดี ความยาวคอกอยู่ในทิศตะวันออก-ตะวันตก

พื้นคอก : ใต้หลังคาเป็นคอนกรีต หรือดินอัดแน่นลาดเท พื้นคอกมีหลังคาควรรองพื้นด้วยแกลบ

หลังคา : อาจทำจากสังกะสี จาก หรือแฝก

เสาคอก : ไม้เนื้อแข็ง ไม่ยูคาลิปตัส คอนกรีต

รั้วกั้น : ไม่เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม่ยูคาลิปตัส สูง 130-150 ซม. รั้วด้านนอก 4 แนว รั้วแบ่งคอก 3 แนว

รางอาหาร : คอนกรีต รางไม้ อ่างยาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เลือกรูปแบบการเลี้ยง

1.1 ผลิตลูกโคขาย เป็นการเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ เพื่อผลิตลูกขาย

1.2 การเลี้ยงขุน เป็นการเลี้ยงขุนโค ผลิตเนื้อมีคุณภาพ

1.3 ผลิตลูกและเลี้ยงขุนทำสองอย่างควบคู่กัน

2. เลือกระดับหรือขนาดของการเลี้ยง ให้เหมาะสมกับความสามารถหรือความพร้อมของตนเอง

2.1 เลี้ยงแบบหลังบ้าน ผสมผสานในระบบไร่นา

2.2 เลี้ยงในระบบฟาร์มขนาดเล็ก

3. จัดเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงโค

อาหารหลักของโค คือ อาหารหยาบ เช่น หญ้าสด หญ้ามัก หญ้าแห้ง ฟางข้าว ฯลฯ และอาหารข้นเป็นอาหารเสริมเพื่อให้โคมีสุขภาพสมบูรณ์ ถ้าเลี้ยงโคพื้นบ้านในที่สาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันมีที่สำหรับเลี้ยงน้อย โคจะได้อาหารไม่เพียงพอ ควรจัดเตรียมอาหารให้โคในที่ที่ของเราเอง โดย

1. ปลูกสร้างแปลงหญ้า

2. จัดเตรียมอาหารหยาบที่มีในพื้นที่ เช่น ฟางข้าว หรืออาหารหยาบอื่นๆ

3. จัดเตรียมอาหารข้นเพื่อให้เสริมบ้างโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง

4. จัดเตรียมอาหารแร่ธาตุนี้ก็ถือว่าสำคัญ โคต้องการปริมาณน้อยแต่ต้องมีให้เลือกกินทุกวัน

ข้อพึงระวัง ->

คอกโคมีความสำคัญ ลักษณะและขนาด ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานที่และจำนวนโคที่เลี้ยง แต่มีหลักเกณฑ์ว่า

- คอกต้องโปร่ง

- ระบายอากาศดี

- ระบายน้ำดี

- มีอ่างน้ำ รางอาหาร ให้โคกินสะดวก

ส่วนการเลือกซื้อโคเพศผู้ ให้พิจารณาการว่าง ของขนาดของลูกอัณฑะด้วย คือลูกอันฑะต้องมีขนาดใหญ่สองข้างเท่ากัน ว่างในตำแหน่งพอดี ไม่หดสั้นหรือหย่อนยานเกินไป

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา