ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ซ่อมเครื่องยนต์

โดย : นายสมศักดิ์ ชะอุ่มฤทธิ์ วันที่ : 2017-06-15-11:55:20

ที่อยู่ : 11 หมู่ที่ 5 ซอย – ถนน – ตำบลหนองขนาน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายสมศักดิ์  ชะอุ่มฤทธิ์ เป็นปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการซ่อมเครื่องยนต์ สร้างรายได้ให้ครอบครัวและชุมชนได้

การตรวจเช็ครถยนต์ ด้วยตนเองเบื้องต้น จะทำให้รถยนต์สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน ลดการซ่อมบำรุงอย่างหนักหน่วง เพราะว่าการตรวจเช็คในเบื้องต้น ช่วยทำให้เราทราบอาการก่อน แล้วรีบทำการแก้ไข ดีกว่าปล่อยเอาไว้นานๆ แล้วจากเรื่องเล็กจะกลายเป็นเรื่องเกินกว่าที่เจ้าของรถจะรับได้ ในการตรวจเช็ครถยนต์สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ไม่จำเป็นว่าต้องเดินทางก่อนไกลแล้วค่อยทำจะสายเกินไป

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างอาชีพให้กับครอบครัวและขยายผลสู่ครัวเรือนอื่นๆ  และสร้างรายได้ให้ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการตรวจเช็ครถยนต์เบื้องต้น

1.         การตรวจเช็คระดับ น้ำมันเครื่อง ให้อยู่ระหว่างจุดสูงสุด และจุดต่ำสุด อย่าปล่อยให้น้ำมันเครื่องเหลือในระบบน้อยกว่าจุดต่ำสุดโดยเด็ดขาด สำหรับรถที่มีปัญหาต้องคอยเติมเลี้ยงเอาไว้

2.         การตรวจเช็คระดับ น้ำมันเกียร์ออโต้ (สำหรับรถยนต์เกียร์ออโต้) โปรดศึกษาวิธีการวัดระดับน้ำมันเกียร์ออโต้ จากเอกสารคู่มือประจำรถกันอีกครั้งนะครับ เพื่อความถูกต้อง

3.         การตรวจเช็คระดับ น้ำกลั่นในแบตเตอรี่ (สำหรับแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น) ทำการตรวจสอบทั้ง 6 ช่อง แล้วทำการเติมน้ำกลั่นจนถึงระดับที่กำหนด สมมติว่า ช่องใดช่องหนึ่ง น้ำกลั่นขาดมากไปอาจจะเป็นเหตุให้แบตเตอรี่ทั้งลูก เสื่อมคุณภาพไวกว่าปกติได้ เพราะฉะนั้นต้องหมั่นทำการตรวจเช็ค และปิดฝาให้สนิททุกครั้ง

น้ำที่อยู่ในแบตเตอรี่ = น้ำกรดแบตเตอรี่
น้ำที่เราทำการเติมลงในแบตเตอรี่ = น้ำกลั่น

4.         การตรวจเช็คระดับ น้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำ และในถังพักน้ำสำรอง ตอนเช้าๆ ก่อนสตาร์ทรถ เครื่องยนต์ยังไม่มีความร้อน ก็สามารถทำการเปิดฝาหม้อน้ำออกมาดูได้ครับ ดูสี ดูสภาพ ถ้าแย่มากแล้วก็สมควรจะต้องเปลี่ยนถ่ายออกมาได้แล้ว อีกจุดที่สามารถดูได้นั้นก็คือที่ ถังพักน้ำสำรอง ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย แนะนำทุกๆ 40,000 Km. หรือทุกๆ 2 ปี

5.         การตรวจเช็คระดับ น้ำมันเบรค ให้อยู่ในระดับที่กำหนด หากพบว่ามีการพร่องหายไป ควรรีบดำเนินการตรวจเช็คจุดที่รั่วซึม หรือนำรถของท่านไปให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจสอบหาสาเหตุ แล้วทำการแก้ไข เพราะว่าโดยปกติ ระบบน้ำมันเบรค จะไม่พร่องหายไปมากเกิน ถ้าไม่มีเหตุผิดปกติใดๆ มาแทรกซ้อน ถ้าดูแล้วพบว่ามีสีที่ดำคล้ำมากว่าปกติ แล้วครั้งสุดท้ายที่เปลี่ยนถ่ายก็จำไม่ได้แล้วด้วย ก็ถึงเวลาต้องมีการบำรุงรักษากันแล้ว ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย แนะนำทุกๆ 40,000 Km. หรือทุกๆ 2 ปี

6.         การตรวจเช็คระดับ น้ำมันครัช (สำหรับรถยนต์เกียร์ธรรมดา) หากพบว่ามีการพร่องหายไป ควรรีบดำเนินการตรวจเช็คจุดที่รั่วซึม หรือนำรถของท่านไปให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจสอบหาสาเหตุ แล้วทำการแก้ไข เพราะว่าโดยปกติ ระบบน้ำมันครัช จะไม่พร่องหายไปมากเกิน ถ้าไม่มีเหตุผิดปกติใดๆ มาแทรกซ้อน ถ้าดูแล้วพบว่ามีสีที่ดำคล้ำมากว่าปกติ แล้วครั้งสุดท้ายที่เปลี่ยนถ่ายก็จำไม่ได้แล้วด้วย ก็ถึงเวลาต้องมีการบำรุงรักษากันแล้ว ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย แนะนำทุกๆ 40,000 Km. หรือทุกๆ 2 ปี

7.         การตรวจเช็คระดับ น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ ในกระปุก หากพบว่ามีการพร่องหายไป ควรรีบดำเนินการตรวจเช็คจุดที่รั่วซึม หรือนำรถของท่านไปให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจสอบหาสาเหตุ แล้วทำการแก้ไข เพราะว่าโดยปกติ ระบบน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ จะไม่พร่องหายไปมากเกิน ถ้าไม่มีเหตุผิดปกติใดๆ ถ้าดูแล้วพบว่ามีสีที่ดำคล้ำมากว่าปกติ แล้วครั้งสุดท้ายที่เปลี่ยนถ่ายก็จำไม่ได้แล้วด้วย ก็ถึงเวลาต้องมีการบำรุงรักษากันแล้ว ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย แนะนำทุกๆ 40,000 Km. หรือทุกๆ 2 ปี

8.         การตรวจเช็ค ปรับตั้ง สายพานคอมแอร์ โดยใช้นิ้วมือกดบริเวณกึ่งกลางสายพาน หากพบว่าสายพานหย่อน ควรทำการปรับตั้ง เพื่อให้อยู่ในระยะที่กำหนด โดยปกติสายพานหน้าเครื่องจะไม่ขาดได้โดยง่าย เว้นแต่มีเศษก้อนหินกระเด็นใส่ หรือ สายพานแตก กรอบ ร่อน หลุด ตามอายุการใช้งาน

9.         การตรวจเช็ค ปรับตั้ง สายพานไดร์ชาร์จ โดยใช้นิ้วมือกดบริเวณกึ่งกลางสายพาน หากพบว่าสายพานหย่อน ควรทำการปรับตั้ง เพื่อให้อยู่ในระยะที่กำหนด โดยปกติสายพานหน้าเครื่องจะไม่ขาดได้โดยง่าย เว้นแต่มีเศษก้อนหินกระเด็นใส่ หรือ สายพานแตก กรอบ ร่อน หลุด ตามอายุการใช้งาน

10.    การตรวจเช็ค การรั่วซึม ของท่อทางเดินต่างๆ โดยรอบเครื่องยนต์ เป็นการตรวจเช็คสิ่งผิดปกติต่างๆ โดยทั่วๆ ไป ว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีการ รั่ว ซึม เยิ้ม แฉะ ของน้ำมันไหลออกมา หากพบก็ควรรีบดำเนินการแก้ไข อย่าปล่อยปละละเลยจนปัญหาเล็ก กลายเป็นเรื่องใหญ่

11.    การตรวจเช็ค การรั่วซึม บริเวณด้านล่างของเครื่องยนต์ เป็นการตรวจเช็คสิ่งผิดปกติต่างๆ โดยทั่วๆ ไปว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีการ รั่ว ซึม เยิ้ม แฉะ ของน้ำมันไหลออกมา หากพบก็ควรรีบดำเนินการแก้ไข อย่าปล่อยปละละเลยจนปัญหาเล็ก กลายเป็นเรื่องใหญ่

12.    การตรวจเช็ค ช่วงล่างด้านหน้า ซ้าย-ขวา และระบบกันสะเทือน ตรวจดูว่ามีการรั่ว ซึม เยิ้ม แฉะ ของชิ้นส่วนต่างๆ ส่วนบริเวณยางลูกหมากต่างๆ เมื่อพบว่าชำรุด เสียหาย ตามอายุการใช้งาน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา