ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำน้ำตาลโตนด

โดย : นายสมบัติ ทรัพย์มิตร วันที่ : 2017-06-14-16:09:47

ที่อยู่ : 51 หมู่ 1 ตำบลดอนยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายสมบัติ  ทรัพย์มิตร เป็นเกษตรกร ซึ่งได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ใช้พื้นที่ทำการเกษตรของตนเองเป็นแหล่งในการถ่ายทอดความรู้ สร้างเครือข่าย ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรทั่วไป นายสมบัติ  ทรัพย์มิตร เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคมภายนอก โดยเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตอย่างมั่นคง ครอบครัวอบอุ่น มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น รักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ดิน น้ำ และป่า ให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างอาชีพให้กับครอบครัวและขายผลสู่ครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

น้ำตาลสด

อุปกรณ์ ->

 

 

 

อุปกรณ์ในการทำน้ำตาล

๑. มีดปาดตาล
๒. เชือกหรือเข็มขัดหนังสำหรับเหน็บมีด  

๓. กระบอกใส่น้ำตาล
๔. พะอง 

๕. ไม้คาบตัวผู้ ไม้คาบตัวเมีย

อุปกรณ์ในการเคี่ยวน้ำตาล

          ๑. เตา ส่วนใหญ่จะก่อด้วยอิฐฉาบปูน ขนาดของเตาขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลสดที่ได้ อาจจะเป็น ๑-๓ เตา ๓-๕ เตา ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มกัน สร้างเตาเคี่ยวตาลขนาดใหญ่ สามารถเคี่ยวตาลได้ครั้งละหลายเตาในเวลาเดียวกัน
          ๒. กะทะเหล็ก เป็นกะทะขนาดใหญ่
          ๓. เครื่องกรองน้ำตาล
          ๔. เหล็กกระแทกน้ำตาล
          ๕. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น กงสำหรับใส่น้ำตาล ถ้วย กระบวยตักน้ำตาล เสียม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำกระบอกไม้ไผ่ที่จะไปรองน้ำตาลสดมารมควัน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ แล้วนำมาร้อยเชือก เพื่อใช้แขวนกระบอก แล้วก็นำไม้พะยอมใส่ในกระบอกครึ่งฝ่ามือเพื่อป้องกันน้ำตาลสดที่รองไว้มีรสเปรี้ยว

          2. เลือกต้นตาลโตนดที่ออกงวง เมื่อเลือกได้แล้วก็จะปีนขึ้นไปเก็บน้ำตาล โดยใช้ไม้คาบนวดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน แล้วจึงใช้มีดปาดหน้าตาล การนวดและปาดหน้าตาลทุกวัน เพื่อไม่ให้หน้าตาลแห้ง ตาลตัวผู้จะมีงวง ซึ่งเมื่อใช้ไม้ทาบนวดแล้วจะต้องแช่หน้าตาลไว้ใ  น้ำ เพื่อเป็นการล่อน้ำตาลให้ออกการปาดหน้าตาลจะปาดทุกวันจนกว่างวงตาลจะหมดก็จะถือว่าน้ำตาลจะหมดไปด้วย แต่ถ้าหากน้ำตาลหมดไปแล้วแต่งวงตามีอยู่ก็จะเลิกขึ้นต้นตาลโตนดต้นนี้

          3. เมื่อได้นำตาลสดแล้ว นำน้ำตาลสดที่ได้กรองเอาไม้พยอมออกด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำตาลไปเคี่ยวเรื่อยๆจนกระทั่งงวดและสามารถนำมาฟอกอากาศได้ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที (ขึ้นอยู่กับปริมาณ) ระหว่างรอก็ตักฟองที่สกปรกออกไป จนกระทั่งน้ำตาลเกือบจะงวดดีและฟองน้ำตาลเริ่มจะสะอาดแต่มีสีเข้มขึ้น เมื่อเคี่ยวน้ำตาลได้ที่แล้ว จะยกลงมาจากเตาแล้ว “ฟอกอากาศ” โดยการใช้ไม้พาย มาคนแบบปาดๆ ให้เนื้อน้ำตาลถูกอากาศให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำตาลอยู่ตัว จับตัวกัน ไม่ใช่เป็นน้ำตาลเหลวๆ เมื่อจับตัวกันดีแล้ว ก็ตักน้ำตาลอุ่นๆ ใส่แพค พร้อมจำหน่ายได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา