ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายสมชาติ ศรีสุขา วันที่ : 2017-05-19-09:49:56

ที่อยู่ : ๕๐ หมู่ ๖ ตำบล เขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 เกิดจากความรักและชอบเลี้ยงไก่พื้นบ้านมาตั้งแต่ยังหนุ่ม  ชอบรับประทานเนื้อไก่พื้นบ้านเพราะเนื้อแน่นดี  ไม่เละ เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย นอกจากเลี้ยงเพื่อรับประทานแล้ว สามารถจำหน่ายได้เพราะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน  

วัตถุประสงค์ ->

๑) เป็นแหล่งอาหารโปรตีนในครอบครัวและชุมชน

๒) เป็นแหล่งรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน

๓) เป็นการส่งเสริมอาชีพแก่ครัวเรือนสัมมาชีพ

4) เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน   

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

      อาหารไก่  เศษผักต่างๆ                                           

อุปกรณ์ ->

1. โรงเรือนหรือเล้าไก่  เช่น ไม้ไผ่ แฝก จาก ฯลฯ

2. สถานที่ตั้งของเล้าไก่ ควรให้ห่างจากตัวบ้านพอสมควร และอยู่ในที่ดอน ไม่ชื้น แฉะ ไม่ควรอยู่ใกล้ต้นไม้ เพราะไก่ชอบนอนบนต้นไม้ จะไม่เข้าไปนอนในเล้า 

3.รางน้ำ รางอาหาร

 4. รางใส่กรวด

5. รังไข่

6.ม่านกันฝน

7.คอนนอน

8.ชุดอุปกรณ์ฉีดวัคซีน

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการที่จะเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดีนั้น  จะต้องให้การเอาใจใส่เรื่องอาหารและน้ำให้มากขึ้น โดยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้

 1. ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุก ๆ วัน

 2. ให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ 

3. ให้อาหารไก่หลาย ๆ ชนิดผสมกัน เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่ สำเร็จรูปชนิดเมด็หรือชนิดผง

 4. มีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่นตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา

 5. ให้หญ้า้สด ใบกระถิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน

 6. ในฤดูแลง้ ไก่มักจะขาดหญ้ากิน  ควรปลูกกระถินไว้บริเวณใกล้ๆคอก 

  7. การใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในร าข้าวหรือปลายข้าว เป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เนื่องจาก สามารถหาซื้อได้ง่ายและ ผสมได้สะดวก เป็นวิธีที่จะเสริมให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น

 8. การสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อย ๆ และ เลิกแย่งกัน กินอาหารช้าลง มีการคุย้เขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว   

การป้องกันและรักษาโรคไก่พื้นบ้าน ปัญหาที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงไก่คือ เรื่องโรค เช่น โรคนิวคาสเซิล

โรคหลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์ โรคฝีดาษ นอกจากนี้ ยงัมีโรค พยาธิต่าง ๆ ทั้งพยาธิภายนอก เช่น เหา ไร หมดั และพยาธิภายใน เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวแบน พยาธินยัน์ตาไก่

วิธีป้องกันและควบคุมโรคและพยาธิ 

วิธีที่ดีที่สุดคือ  * การสุขาภิบาลที่ดี  * การให้วัคซีนป้องกันโรค โดยสม่ำเสมอ  การสุขาภิบาล เป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันโรคและพยาธิไก่ เพราะถ้าการสุขาภิบาลไม่ดีจะเป็นสาเหตุให้ไก่สุขภาพเลวลง ไม่แข็งแรง เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย  ข้อแนะนำมีดังนี้ 

1. ควรดูแลทำ ความสะอาดเล้าและภาชนะต่าง ๆ ที่วางไว้ในเล้าไก่และบริเวณใกล้เคียง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และอย่าปล่อยให้เล้าชื้นแฉะ เพราะจะเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค

 2. สร้างเลา้ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 

3. ก าจัดแหล่งน้ำสกปรกรอบ ๆ บริเวณบ้าน เล้าไก่ และใกลเ้คียง 

4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพดี อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าเสีย                                                                                            

ข้อพึงระวัง ->

หากสังเกตเห็นไก่ที่เราเลี้ยงมีอาการเหงา  ซึม  ไม่กินอาหาร  ให้นำสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาละลายน้ำให้ไก่กิน  หรือจะใช้ข้าวสารแช่เหล้าขาวให้กินก็ได้  ประมาณ ๒  ถึง  ๓  วัน ก็หายเป็นปกติ      

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา