ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดภูฐาน

โดย : นายบุญลือ เอี่ยมสะอาด วันที่ : 2017-05-19-09:51:15

ที่อยู่ : 1๒๒ หมู่ ๕ ตำบล เขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันการดำรงชีวิต มีค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายประจำวัน  ต้องดิ้นรนที่จะหารายได้เพิ่มเติมจากรายได้หลักที่อยู่ การประกอบอาชีพเสริมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถจุนเจือครอบครัวได้            การเพาะเห็ดนางฟ้า เป็นอาชีพที่ทำได้ไม่ยากหากมีการให้ความรู้กับประชาชนถึงวิธีการ ทำเชื้อเห็ด การเพาะเลี้ยง ซึ่งสามารถที่จะสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้เป็นอย่างดี การเพาะเห็ดนางฟ้าจึงเป็นอาชีพที่สมควรจะนำให้ความรู้กับประชาชนทั่วไป

วัตถุประสงค์ ->

                    1. เพื่อให้ความรู้กับชาวบ้านภายในชุมชนเกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า

                    2. เพื่อให้ชาวบ้านภายในชุมชนได้มีรายได้เสริม นอกเหนือจากรายได้หลัก     

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ก้อนเชื้อเห็ด

อุปกรณ์ ->

ชั้นวางเห็ด ผ้าคลุมพลาสติก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน    หลังจากที่เปิดดอกแล้ว มักจะมีปัญหาต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรค ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ราเขียว ราดำ รา สีส้ม ปัญหาจากแมลง เช่นแมลงสาบ หนอนแมลงหวี่ หนอนผีเสื้อกลางคืน และแมลงอาศัยอื่นๆ ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของโรงเรือนซึ่งปัญหาทั้งหลายเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับก้อนเชื้อเห็ดได้เป็นอย่างมาก และมีตัวแปรที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ สภาพอากาศ เนื่องจากสภาพอากาศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของเห็ด  และแต่ละช่วงฤดูกาล ก็มีการดูแลรักษาที่ไม่เหมือนกัน  

 วิธีการดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐานดำ ในแต่ละช่วง ดังนี้

1. ช่วงอากาศหนาวเย็น (ธันวาคม-มีนาคม) เป็นช่วงที่อากาศทั่วไปค่อนข้างเย็นและแห้ง ผู้เพาะเห็ดนางฟ้าภูฎานดำ ควรรดน้ำเป็นประจำ วันละ 3 เวลา เช้า กลางวันเย็น โดย

 ช่วงเช้า อากาศช่วงเช้าจะค่อนข้างเย็นกว่าปกติ  ควร      รดน้ำที่ก้อนเชื้อเห็ด และพื้นโรงเรือน

๒.ช่วงกลางวัน อากาศค่อนข้างร้อน บางช่วงมีลมแรง ควร พ่นน้ำบางๆ ในโรงเรือน เพื่อเพิ่มความชื้น และรดน้ำบริเวณผนังโรงเรือน ประมาณ 5 นาที  เห็ด สามารถดูดความชื้นได้ ช่วงเวลานี้สำคัญเพราะถ้าขาดความชื้ดเห็ดนางฟ้าภูฎานดำจำชะงักการเติบโต ผิวหน้าดอกเป็นมัน กลีบดอกเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักเบา

๓.ช่วงเย็น รดน้ำแบบสเปรย์ที่หน้าก้อนบางๆ

๔. ช่วงอากาศร้อน อากาศร้อนมากเกินไปก็เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเห็ดโดยตรง การรดน้ำช่วงนี้จึงจำเป็นอย่างมาก เช่น เช้า กลางวัน และช่วงเย็น โดยเฉพาะช่วงเวลากลางวัน เป็นช่วงที่สำคัญย่างยิ่ง ควรมีการรดน้ำที่หลังคาโรงเรือน ผนังโรงเรือน และบริเวณพื้นโรงเรือน เป็นเวลา 10-15 นาที เว้นระยะห่างประมาณ 30 นาที รดซ้ำอีกครั้ง แต่ไม่ควรรดน้ำไปที่หน้าก้อนโดยตรงเพราะจะทำให้เห็ดเกิดอาการช้ำน้ำ เกิดอาการเน่าได้  

๕. ช่วงฤดูฝน กรณีที่โรงเรือน ล้อมรอบด้วยซาแลน ควรเปิดผ้าซาแลนตรงประตู ให้สูงจากพื้นประมาณ 30-60 ซม. และเปิดช่องลมบริเวณจั่วออกเพื่อถ่ายเทอากาศ งดให้น้ำ จะช่วยลดปัญหาการระบาดของโรคราเขียว ราดำ รา สีส้ม และแมลงหวี่ได้ ควรมีการตรวจดูก้อนเชื้อเห็ดอยู่เสมอ

ข้อพึงระวัง ->

  ถ้าช่วงเวลากลางวันมีอากาศร้อนอบอ้าว ควรเปิดประตู และจั่วโรงเรือน ระบายอากาศ

สภาพอากาศแต่ละพื้นที่อาจจะแตกต่างกันไป แต่ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ควรมีการเพิ่มธาตุอาหารโดยการใช้แร่ธาตุเสริมดอกเห็ด ฉีดพ่นบริเวณปากถุงก้อนเชื้อเห็ด จะทำให้ดอกเห็ดสมบูรณ์มากขึ้น และยึดอายุของก้อนเชื้อเห็ดด้วย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา