ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้

โดย : นายณรงค์ แสงประเสริฐ วันที่ : 2017-05-19-09:58:15

ที่อยู่ : 1๓๘/๒ หมู่ ๑ ตำบล เขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านหนองโรง หมู่ที่ ๑ ตำบล เขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็น หมู่บ้านเกษตรกรรม อาชีพส่วนใหญ่ การปลูกมะนาว กล้วย อ้อย และปลูกผักสวนครัว ต้องพึ่งพายากำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง ปุ๋ยและสารเคมี ต่างๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงมาก อีกทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมี ก็เข้ามามีบทบาทค่อนข้างเยอะเกษตรกรส่วนใหญ่เลยเริ่มไม่ค่อยรู้จักความพอเพียง เพราะมุ่งเห็นแต่ผลกำไร ต้องการให้ได้ผลผลิตมาก ลืมมองย้อนถึงต้นทุนที่สูงตามไปด้วย  หลังจากที่ ได้เข้าร่วมอบรมและเป็นสมาชิก   ในหลายๆ โครงการกับทางสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชน  ทำให้ได้รับความรู้ต่างๆ มากมาย จึงนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ วิธีการทำปุ๋ยหมักให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ เพื่อเป็นการลดต้นทุน ลดรายจ่ายและสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมขน ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อต้องการรักษาสภาพดิน ลดต้นทุนการเกษตร และสร้างงานสร้างรายได้ให้กับผู้สนใจ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้ 1.)ผักหรือผลไม้ ๔๐ กก.  2.)กากน้ำตาล ๑๐ กก.3.) น้ำ ๑๐ ลิตร    4) สารเร่ง พด.๒ ๑ ซอง                                                                       

อุปกรณ์ ->

ถังน้ำสำหรับใช้หมัก      

กระบวนการ/ขั้นตอน->

      ๑.นำผักหรือผลไม้ มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกผสมกับกากน้ำตาล ใส่ลงในถังหมัก

๒.นำสารเร่งพด.2  จำนวน 1 ซอง ผสมน้ำ  10 ลิตร คนให้เข้ากัน นาน 5 นาที

๓.นำสารละลายในข้อ 2. ผสมลงในถังหมัก คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันปิดฝาไม่ต้องสนิท หมักนาน 7 วัน จะได้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ    ๕๐  ลิตร                                                                      

ข้อพึงระวัง ->

           1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้

           2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที

           3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก

           4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา