ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงเห็ดนางฟ้า

โดย : นายปรีชา สงคราม วันที่ : 2017-05-19-09:04:15

ที่อยู่ : 82 ม.4ตำบลบ้านในดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านในดง หมู่ 5 ตำบลบ้านในดง เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกพืชสวน เช่น มะม่วง มะนาว และพืชไร่ เช่น กล้วยหอมทอง ชะอม พริก มะเขือ เป็นต้น ชาวบ้านมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่รอบบริเวณบ้านปลูกพืชผักที่ใช้ประจำวันในครัวเรือน และมีความสนใจเรียนรู้การเพาะปลูกพืชผักใหม่ๆ อื่นๆ เช่นการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารที่มีประโยชน์ราคาไม่แพง แต่เป็นที่ต้องการของตลาด ผลิตดอกได้ทุกฤดูกาล และสามารถเรียนรู้วิธีการดูแลเห็ดนางฟ้าได้จากสื่อต่างๆ รวมถึงแหล่งเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าในพื้นที่อำเภอท่ายาง

วัตถุประสงค์ ->

1. สร้างอาชีพเสริมแก่ครัวเรือน

          2. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ครัวเรือน

          3. เพิ่มพูนความรู้ด้านการประกอบอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ถุงเชื้อเห็ด

อุปกรณ์ ->

1. สายยางฉีดน้ำ  2. ไฟฉายคาดหน้าผาก  3. โรงเรือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำก้อนเห็ดไปวางตั้งไว้ในที่โรงเรือน ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และเป็นที่ร่ม ยังไม่ต้องรดน้ำ

          2. สังเกตดูที่ก้อนเชื้อว่า เชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนหรือยัง ( เดินเต็มก้อนหมายถึง เส้นใยเห็ดจะเดินไปจนถึงก้นถุง ให้ยกถุงดูด้วยว่ามันถึงที่ก้นถุงแล้วจริงๆ ) หลังจากเต็มแล้วจึงนำไปเปิดดอก

          3. ควรเปิดจุกสำลีออกหลังจากที่เชื้อเดินเต็มแล้วภายในเวลา 3-7 วัน 

          4. นำก้อนเชื้อเห็ดไปวางเรียงซ้อนกันโดยให้ก้อนขนานกับพื้น  หรือจะใช้วิธีการแขวนก็ได้

          5. รดน้ำวันละ ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง คือ เช้า และเย็น (ดีที่สุดคือ เช้า กลางวันและเย็น แต่ถ้าอากาศร้อนต้องรดตอนสาย และตอนบ่ายด้วย) อากาศในโรงเรือนต้องถ่ายเท อุณหภูมิ ไม่ควร เกิน 30 องศา

          5. เห็ดจะเริ่มออกดอกภายในระยะเวลา 5-10 วัน การเก็บดอกให้ดึงออกให้หมดทั้งช่อ ห้ามเก็บเฉพาะดอกที่ใหญ่และปล่อยดอกเล็กๆ ไว้ เพราะมันจะไม่โตแล้วก็จะเหี่ยว

          6. ถ้าดึงออกไม่หมดมีรากเห็ดขาดอยู่ที่ถุง ใช้ปลายช้อนสะอาดๆ (เช็ดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 %) แคะออกให้หมด (ถ้าปล่อยไว้ จะเน่า มีแมลงมาตอมและเห็ดจะออกได้ช้าลง)

          7. ดอกเห็ดสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นในช่องธรรมดาหรือช่องแช่ผักก็ได้ โดยใส่ถุงพลาสติกหูหิ้วมัดปากถุงไม่ต้องแน่นมาก จะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 2-3 วันขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดด้วย

10. ข้อพึงระวัง

          1. หนูและแมลงสาบ ควรกำจัดโดยใช้ยาเบื่อ หรือ กับดัก ไม่ควรใช้สารเคมีฉีดที่เป็นอัตรายต่อผู้บริโภคเพราะอาจจะทำให้เห็ดเป็นพิษและทำให้เห็ดเน่าได้

          2. ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อ และดอกเห็ดทำให้ผลผลิตลดลง ไรจะระบาดเมื่อความชื้นในโรงเรือนต่ำ ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้เกิดการหมักหมม และ การป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า โดยการรักษาความสะอาดโรงเรือนอยู่เสมอ การใช้สารเคมีกำจัด ไม่ควรทำเพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

          3. แมลงหวี่ จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก แมลงหวี่จะมาตอมและวางไข่และขยายพันธุ์ควรย้ายก้อนเหล่านั้นออกจากโรงเรือนแล้วทำลายทิ้งเพื่อป้องการการแผ่ขยายไปยังก้อนเชื้ออื่นๆ

          4. โรคจุดเหลือง เกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บ หรือเพราะน้ำที่รดนั้นสกปรก ไม่สะอาด ควรแยกเห็ดที่เป็นโรคออกแล้วนำไปทำลาย

          5. ราเมือก ลักษณะเป็นสีเหลือง กลิ่นคาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกันโดยเอาก้อนที่หมดอายุแล้วและเศษวัสดุในโรงเรือนออกอย่าให้หมักหมม

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา