ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำน้ำตาลมะพร้าว

โดย : นายถาวร พูลสวัสดิ์ วันที่ : 2017-05-14-10:58:59

ที่อยู่ : 92 หมู่ 4 ตำบลหนองปลาไหล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผลผลิตน้ำตาลมะพร้าว เรียกว่าน้ำตาลปึก หรือน้ำตาลปี๊บ อันเป็นไปตามภาชนะที่บรรจุใส่น้ำตาลที่

ได้มาจากต้นมะพร้าว  เรียกว่าเป็นผลผลิตเดียวที่สร้างรายได้แก่ชุมชน  ซึ่งนอกจากให้ผลผลิตแก่เจ้าของสวนมะพร้าวแล้ว  อาชีพทำน้ำตาลมะพร้าวยังก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องให้แก่ผู้รับจ้างขึ้นต้นมะพร้าวเพื่อเอาน้ำตาลจากต้นมาเคี่ยว   ผลิตภัณฑ์มวลรวมของน้ำตาลสามารถสร้างรายได้ นายถาวร  พูลสวัสดิ์ ได้ใช้ความเชี่ยวชาญในการทำน้ำตาลมะพร้าวมาประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวมาตลอด และนอกจากนี้ยังเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อำเภอเขาย้อยอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

2. เพื่อลดภาระค่าจ่ายในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

น้ำตาลใส, น้ำตาลทรายขาว

อุปกรณ์ ->

พะอง, กระทะ, กระบอกรอน้ำตาล, ไม้พะยอม, มีดปาดตาล, ฟืน, เตาตาล, อุปกรณ์ใช้บรรจุน้ำตาล

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ขึ้นปาดจั่นมะพร้าวเพื่อรองน้ำตาลในช่วงเย็นหรือช่วงหัวค่ำ โดยใส่ไม้พะยอมในกระบอกกรอง

น้ำตาลและอาศัยอากาศที่เย็นในเวลากลางคืนช่วยลดการบูดเสียและการเปลี่ยนรสชาติของน้ำตาลสดในกระบอก

 2. ในช่วงเช้าให้รีบเก็บรวบรวมน้ำตาลสด แล้วนำมากรองเอากากไม้พะยอมออกด้วยผ้าขาวบางแล้ว

นำไปต้มให้เดือนประมาณ  10  นาที  ก็จะได้น้ำตาลสดพร้อมดื่มหรือนำไปเคี่ยวเป็นน้ำตาลปึกต่อไป  สามารถเก็บไว้ได้  ประมาณ 3 วัน ในขั้นตอนนี้ชาวบ้านบอกว่าจะไม่เติมน้ำหรือสารปรุงแต่งใด ๆ เพราะจะทำให้รสชาติน้ำตาลสดเปลี่ยนได้ น้ำตาลสดจากบ้านคลองน้ำเชียวจึงเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ให้รสชาติหอม หวาน อร่อย

3. นำน้ำตาลสดที่ได้ปล่อยให้เย็นตัวแล้วลงเคี่ยวในกระทะบนเตาเคี่ยวน้ำตาล โดยผสมน้ำตาลทรายขาวลงไปด้วย ในอัตราส่วนน้ำตาลทรายขาว 3 กิโลกรัมต่อน้ำตาลสด 10 กิโลกรัม เพื่อให้น้ำตาลปึกที่ได้มีลักษณะขาวนวลและสามารถแข็งตัวเป็นก้อน โดยต้องเคี่ยวให้แห้งแต่ไม่ต้องจนไหม้หรือน้ำตาลเปลี่ยนสีเป็นสีเข้ม

    4. นำน้ำตาลเหลวที่ได้ไปหยอดลงเป้าเหล็กเพื่อให้น้ำตาลเป็นปึก ทิ้งให้แข็งตัวประมาณ 2 ชั่วโมง   จึง

เก็บใส่บรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป

    5. การทำเตาสำหรับเคี่ยวน้ำตาล เป็นภูมิปัญญาในการปั้นเตาโดยใช้วิธีก่ออิฐ ฉาบปูน และสร้างปล่อง

ไฟสูงประมาณ 5 เมตร มีเตาสำหรับเคี่ยวน้ำตาลประมาณ 3-5 ลูก โดยที่ควันไฟในแต่ละเตาจะถูกระบายออกปล่องไฟทั้งหมดไม่รบกวนผู้กำลังเคี่ยวน้ำตาล และสามรถเคี่ยวน้ำตาลได้พร้อมกันทุกเตา ซึ่งเชื้อเพลิงที่ใช้ไม้ฟืน  ทางมะพร้าว  หรือขยะในครัวเรือนถือเป็นการกำจัดขยะในตัว

ข้อพึงระวัง ->

ขั้นตอนการผลิตต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องของความสะอาด เป็นต้น

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา