ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลานิล

โดย : นายปัญญา พูลสวน วันที่ : 2017-05-09-13:31:19

ที่อยู่ : 129 หมู่ 7 ตำบลวังไครั

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านหนองหว้า  หมู่ที่ 7  ตำบลวังไคร้ อำเภอท่ายาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไป ไม่มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ประกอบกับมีปราชญ์ที่มีความรู้ด้านการเลี้ยงปลานิล   จึงได้เกิดแนวคิดการเลี้ยงปลานิล เป็นอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับภาคครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1. ส่งเสริมอาชีพเสริมให้กับครัวเรือน

2. เพื่อเป็นการลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน

3. ครัวเรือนมีความรู้ด้านการเลี้ยงปลานิล

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

           1.  ลูกปลานิล    2.  อาหารปลา

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ถึงแม่ว่าปลานิลจะเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย  แต่ในการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้รับผลดีเป็นที่น่าพอใจ  จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิธีการเพาะเลี้ยงเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

          1.    บ่อบ่อที่จะใช้เลี้ยงลูกปลานิล  ควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาดตั้งแต่  400  ตารางเมตรขึ้นไป  ระดับของน้ำในบ่อควรลึกประมาณ  1  เมตร  ตลอดปี  ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต  และใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกันไปด้วย  เพราะถ้าเป็นบ่อซึ่งมีขนาดเล็กแล้ว  ลูกปลาที่เกิดขึ้นใหม่จะทวีจำนวนแน่นบ่ออย่างรวดเร็ว  ทำให้ลูกปลาเหล่านี้มีขนาดไม่โต  โดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อ  ดังนั้น  จึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆ  ซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆ  สำหรับให้แม่ปลาได้วางไข่

          ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำ  เช่น  คู  คลอง  แม่น้ำ  ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออก  เพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้  และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกมาอีกด้วย  แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลง  และต้องมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย

          2.    การเตรียมบ่อ

                   ก.  บ่อใหม่  หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่  ดินมักมีคุณภาพเป็นกรด  ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ  ในอัตรา  1  กิโลกรัม  ต่อเนื้อที่  10  ตารางเมตร  

                   ข. บ่อเก่าจำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ  โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด  เช่น  ผักตบชวา  จอก  บัว  และหญ้าต่างๆ  เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรค์ต่อการหมุนเวียนของอากาศ  ซ้ำยังจะเป็นที่หลบซ่อนอยู่อาศัยของศัตรูที่เป็นอันตรายต่อปลา  และเป็นการจำกัดเนื้อที่ซึ่งปลาต้องใช้อยู่อาศัยอีกด้วยก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง  ต้องกำจัดศัตรูของปลานิลให้หมดเสียก่อน  ได้แก่  พวกปลากินเนื้อ  เช่น  ปลาช่อน  ปลาชะโด  ปลาบู่  และปลาดุก  ถ้ามีสัตว์จำพวกเต่า  พบ  เขียด  งู  ก็ควรกำจัดให้พ้นบริเวณบ่อนั้นด้วยวิธีกำจัดอย่างง่ายๆ  คือ  โดยการระบายน้ำออกให้แห้งบ่อ  แล้วจับสัตว์ชนิดต่างๆ  ขึ้นให้หมด  แต่ถ้าบ่อนั้นไม่อยู่ใกล้ทานน้ำ  ไม่สะดวกแก่การระบายน้ำออกก็ควรใช้โล่ติ๊นสด  ในอัตราส่วน  1  กิโลกรัม  ต่อปริมาณน้ำ  100  ลูกบาศก์เมตร  วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียด  นำลงแช่น้ำสัก  1  หรือ  2  ปี๊บ  ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลายๆ  ครั้งจนหมด  แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ  ศัตรูประหลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมาหมด  แล้วเก็บออกทิ้งเสียอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้  ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยงควรทิ้งบ่อนั้นไว้ประมาณ  7-10  วัน  เพื่อรอฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัวไปหมดเสียก่อน

                   ค.  การใส่ปุ๋ย  โดยทั่วๆ  ไปแล้ว  ปลาจะกินอาหารซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและจากที่ให้สมทบเป็นจำนวนเกือบเท่าๆ กัน  ดังนั้นในบ่อเลี้ยงปลา  ควรดูแลให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เสมอ  จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ  ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่  มูลวัว  มูลควาย  มูลหมู  มูลเป็ดและมูลไก่  นอกจากปุ๋ยมูลสัตว์ดังกล่าวแล้ว  ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดต่างๆ  ก็ใช้ได้

                อัตราการใส่ปุ๋ย  ในระยะแรกนั้นควรใส่ประมาณ  250-300  กิโลกรัมต่อไร่  ในระยะหลังๆ  ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก   วิธีการใส่ปุ๋ย  ถ้าเป็นปุ๋ยคอก    ควรตากให้แห้งเสียก่อน  เพราะถ้าเป็นปุ๋ยที่ยังสดอยู่  จะทำให้น้ำในบ่อมีแก๊สพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมาก  ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อปลา  การใส่ปุ๋ยคอกควรใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อให้ละลายไปทั่วๆ  อย่าโยนให้ตกอยู่ในที่เดียวส่วนปุ๋ยพืชสดนั้น  ควรเทสุมเป็นกองไว้ตามมุมบ่อ  1  หรือ  2  แห่ง  โดยมีไม้ไผ่ปักล้อมไว้เป็นคอก รอบกองปุ๋ยพืชสดนั้น  เพื่อป้องกันมิให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย

                บ่อที่มีอาหารธรรมชาติมากหรือน้อย  จะสังเกตได้โดยการดูสีของน้ำถ้าน้ำในบ่อมีสีเขียวแสดงว่ามีอาหารจำพวกพืชเล็กๆ  ปนอยู่มาก  แต่ถ้าน้ำในบ่อมีสีค่อนข้างคล้ำ  มักจะมีอาหารจำพวกไรน้ำมาก  พวกพืชเล็กๆ  และไรน้ำมาก  พวกพืชเล็กๆ  และไรน้ำเหล่านั้น  นับว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างดี

          3.    การปล่อยปลาลงเลี้ยง

                    ก.  จำนวนปลาที่ปล่อย   เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว  ดังนั้นจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มากนัก  สำหรับบ่อขนาดเนื้อที่  1  งาน  (400  ตารางเมตร)  ควรใช้พ่อแม่ปลานิลเพียง  50  คู่  หรือถ้าเป็นลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กก็ควรปล่อยเพียง  400  ตัว  หรือ  1  ตัวต่อ  1  ตารางเมตร

                    ข.  เวลาปล่อยปลา  เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปล่อยปลา  ควรเป็นเวลาเช้าหรือเวลาเย็น  เพราะระยะเวลาดังกล่าวนี้อุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนเกินไป  ก่อนที่จะปล่อยปลา  ควรเอาน้ำในบ่อใส่ปนลงไปในภาชนะที่บรรจุปลา  แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ  2-3  นาที  เพื่อให้ปลาคุ้นกับน้ำใหม่เสียก่อน  จากนั้นจึงค่อยๆ  จุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลานิลลงบนผิวน้ำพร้อมตะแคงภาชนะปล่อยให้ปลาแหวกว่ายออกไปอย่างช้าๆ             

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา