ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปลาร้า

โดย : นายน้อย คำเวียง วันที่ : 2017-05-09-10:05:04

ที่อยู่ : 56 หมู่ 1 ตำบลวังไคร้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านแม่ประจันต์  หมู่ที่ 1 ตำบลวังใคร้ อำเภอท่ายาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไป ไม่มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ประกอบกับมีปราชญ์ที่มีความรู้ด้านการทำปลาร้า จึงได้เกิดแนวคิดการทำปลาร้า เป็นอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับภาคครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1. ส่งเสริมอาชีพเสริมให้กับครัวเรือน

2. เพื่อเป็นการลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน

3. ครัวเรือนมีความรู้ด้านการทำปลาร้า

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  ปลาตะเพียง 

2.  เกลือ 

3. รำ 

อุปกรณ์ ->

ไห

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. คัดเลือกปลาที่มีขนาดพอเหมาะ ไม่ควรใช้ปลาที่มีน้ำหนักกว่า 1 กิโลกรัม หรือตัวใหญ่มากเกินไป เพราะจะต้องใช้เวลาหมักนาน ส่วนชนิดปลาที่ใช้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

2. นำมาล้างน้ำทำความสะอาดสิ่งที่อาจปนมากับตัวปลาก่อน 1-2 น้ำ

3. หากเป็นปลามีเกล็ด ให้ขอดเกล็ดด้วยช้อนให้หมดก่อน หากเป็นปลามีก้านครีบแข็ง และยาว รวมถึงมี เงี่ยง ซึ่งจะต้องตัดก้านครีบ และเงี่ยงออกก่อน และอาจตัดหัวปลาทิ้งด้วยก็ได้ หลังจากนั้น นำปลามาควักไส้ออกให้หมด ก่อนจะล้างทำความสะอาด 2-3 น้ำ

4. นำปลาที่ล้างแล้วใส่ชามหรือถัง พร้อมเติมเกลือ และข้าวคั่วหรือรำข้าว และน้ำอุ่น ก่อนจะคลุกผสมกันให้ทั่ว

5. นำส่วนผสมที่คลุกได้ที่แล้วเทใส่ถังหมักหรือไหหมัก ก่อนจะรัดปิดปากถังหรือไหให้แน่น พร้อมหมักทิ้งไว้ในร่มนาน 6-10 เดือน หรือมากกว่าตามขนาดของปลาที่ใช้

ข้อพึงระวัง ->

ลักษณะปลาร้าที่หมักได้ที่

                   1. ลำตัว และเนื้อปลาอ่อนนุ่ม ไม่แข็งทู่หรือเปื่อยยุ่ย

                   2. เนื้อปลาด้านในมีสีน้ำตาลหรือสีแดงอมชมพู

                   3. มีกลิ่นหอมของการหมัก ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า

                   4. เนื้อปลามีรสเค็ม โดยมีเกลือประมาณ ประมาณ 11-16% มีความมันของน้ำมันปลา และไม่มีรสเปรี้ยว

                   5. น้ำปลาร้ามีสีน้ำตาลอมดำ มีรสเค็ม ไม่มีรสเปรี้ยว

                   6. สีของรำหรือข้าวคั่วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ไม่ดำคล้ำ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา