ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงหมูหลุม

โดย : นายปรีชา นันทพรไพจิตร วันที่ : 2017-05-09-09:56:59

ที่อยู่ : 117/1 หมู่ 10 ตำบลท่าไม้รวก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านโค้งตาบาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไป ไม่มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ประกอบกับมีปราชญ์ที่มีความรู้ด้านการเลี้ยงหมูหลุม จึงได้เกิดแนวคิดการเลี้ยงหมูหลุม เป็นอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับภาคครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1. ส่งเสริมอาชีพเสริมให้กับครัวเรือน

2. ได้ปุ๋ยจากการเลี้ยงหมู ไว้ใช้ในภาคการเกษตร

3. ครัวเรือนมีความรู้ด้านการเลี้ยงหมู

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ลูกหมู        

2. แกลบ        

3.  มูลโคแห้ง   

4.  รำแป้ง      

5.  ดินร่วน

6. เกลือ         

7. หัวเชื้อ EM   

8.  อาหารสุกร

อุปกรณ์ ->

1. จอบ           2. อิฐ             3. ปูน            4. ทราย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การสร้างโรงเรือน  เลือกพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง  อากาศถ่ายเทสะดวก  ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น  โครงไม้ไผ่  หลังคาหญ้าคา  ขนาด กว้างXยาวXสูง =4X5X1.8 เมตร  เลี้ยงคอกละ 20 ตัว  หลังคาควรมีแสงรอดผ่าน  หรือมีพื้นที่รองรับแสงแดดได้ 1 /3 ของพื้นที่คอกตลอดทั้งวัน  จะทำให้มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ทุกวัน

2. การเตรียมพื้นคอก

          2.1 ขุดหลุมลึก 90 ซม. ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนหมูที่เลี้ยง โดยมีพื้นที่ต่อตัว 1-1.5 เมตรต่อตัว

          2.2 ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้าน และให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 ซม. ไม่ต้องเทพื้น

          2.3 วัสดุเตรียมพื้นคอก โดยจัดทำเป็น 3 ชั้น ๆ ละ30 ซม. โดยใช้วัตถุดาดังนี้

                   -แกลบดิบ 4,300  กิโลกรัม

                   -มูลโคหรือกระบือ 320 กิโลกรัม

                   -รำอ่อน 185 กิโลกรัม

                   -น้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสีเขียว 1 ลิตร ซึ่งจะได้แบคทีเรีย กลุ่มแลคติค

          วิธีทำพื้นคอก

                   1.ใส่แกลบสูง 30 ซม.

                   2.ใส่มูลโค-กระบือ 8 ถุงปุ๋ย และรำข้าว 8 ถุงปุ๋ย ให้ทั่ว

                   3.ผสมน้ำจุลินทรีย์ ขนาด 2 ช้อนโต๊ะละลายน้ำ 10 ลิตรรดให้ทั่วพอชุ่ม

                   4.ชั้นต่อไปทำเหมือนเดิมจนครบ 3 ชั้น ทิ้งไว้ 7 วัน ปล่อยปล่อยให้เกิดการหมักของจุลินทรีย์  จึงนำลูกหมูหย่านมมาเลี้ยง  เมื่อเลี้ยงได้ระยะหนึ่งให้เติมวัสดุรองพื้นคอกด้วย  และคอยเติมให้เต็มเสมอ

3.พันธุ์สุกร

          ควรใช้สุกร 3สายเลือดจากฟาร์มที่ไว้ใจได้  และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี  หย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 เดือน น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม

4.อาหารและวิธีการเลี้ยง

          4.1ในระยะเดือนแรก ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด  สำหรับสุกรหย่านมมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับรำโรงสีชาวบ้าน ในอัตรา 1: 3 ให้กิน 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น  เป็นเวลา 15 วันแรก  หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จลงจนครบ 1 เดือนไม่ต้องให้อาหารสำเร็จรูปอีกต่อไป  โดยในตอนกลางวันให้กินอาหารเสริมประเภทพืช ผัก  และถ้ามีกากน้ำตาลให้หั่นพืชผักหมักกับกากน้ำตาลทิ้งไว้ 1 วัน แล้วให้กินจะเป็นการดียิ่ง

          4.2ในระยะเดือนที่ 2 จนถึงจำหน่าย  งดให้อาหารสำเร็จรูป  เกษตรกรนำกากปลาร้าต้มกับรำข้าว หรือใช้รำปลายข้าว ในอัตรา 1: 1 และเศษพืชผักเป็นอาหารเสริม  โดยมีระยะเวลาเลี้ยง 3 ถึง 3เดือนครึ่ง  ได้น้ำหนักประมาณ 80-100  กก.

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา