ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงแพะแบบกึ่งขังคอก

โดย : นายมะยีดิง มิง วันที่ : 2017-04-20-16:10:11

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 5 ตำบลกระหวะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94140 หมายเลขโทรศัพท์ 08-0890-5348

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายมะยีดิง  มิง  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา / เลี้ยงสัตว์) เมื่อว่างเว้นจากการทำนาก็เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ เพื่อเป็นรายได้เสริม และเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน โดยได้รับสืบทอดความเชี่ยวชาญมาจากปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ สั่งสมความเชี่ยวชาญการทำนา การเลี้ยงสัตว์ จากการอบรมของหน่วยงานต่าง ๆ และการศึกษาด้วยตัวเอง

วัตถุประสงค์ ->

1) เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

2) เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) อาหาร ประเภทหญ้า  ใบไม้

2) น้ำ

อุปกรณ์ ->

1) รางน้ำ

2) ถังรองน้ำ

3) รางอาหาร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

     การเลี้ยงแบบกึ่งขังคอก
ลักษณะคล้ายกับการเลี้ยงแบบปล่อย แต่จะมีการสร้างคอกหรือโรงเรือนสำหรับกักขังในตอนกลางคืน มักโรงเรือนที่มีแต่หลังคาเท่านั้น ตอนเช้าจะต้อนให้แพะออกหากินตามทุ่งหรือที่มีหญ้า
1. สถานที่เลี้ยงแพะ  การเลือกทำเล สถานที่ตั้งโรงเรือนเลี้ยงแพะ ควรเป็นที่เนินหรือเป็นบริเวณที่น้ำไม่ท่วมขังมีแหล่งน้ำสะอาดสำหรับใช้เลี้ยงแพะได้ตลอดทั้งปี สำหรับให้แพะได้แทะเล็ม สำหรับขนาดของโรงเรือนหรือคอกสำหรับเลี้ยงแพะจะขึ้นอยู่กับฝูงแพะ
ลักษณะของโรงเรือนแพะ โดยทั่วไปในการเลี้ยงแพะเพื่อผลิตเนื้อนั้น โรงเรือนเป็นเพียงสถานที่ที่อาศัยพักหลักนอนและกักขังแพะในช่วงตอนกลางคืน หรือเมื่อสภาพอากาศแวดล้อมภายนอกไม่เหมาะสมที่จะปล่อยแพะออกไปแทะเล็มหญ้า โรงเรือนและคอกจะมีความสำคัญ และจำเป็นต่อลูกแพะ หลักการสำคัญในการจัดสร้างโรงเรือนแพะ คือ ควรเป็นสถานที่ที่ทำให้แพะได้อาศัยอยู่อย่างสุขสบายสามารถอำนวยความสะดวกต่อการจัดการเลี้ยงดูและการให้การสุขาภิบาลที่ดีแก่แพะได้ ลักษณะโรงเรือนแพะเนื้อมักเป็นโรงเรือนที่มีคอกแบบขังรวม คอกละไม่เกิน 10 ตัว ทั้งนี้ผู้เลี้ยงต้องคัดแพะที่มีขนาดใกล้เคียงกันอยู่ในคอกเดียวกันเพื่อป้องกันการทำอันตรายต่อกัน

2. แหล่งอาหารที่ใช้เลี้ยงแพะ  แพะเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองเก่งและสามารถกินอาหารได้หลายชนิด แต่ไม่ชอบกินพืชอาหารชนิดเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ จะเลือกกินพืชอาหารหลายชนิดสลับกันไป พืชอาหารบางชนิดที่โคกระบือไม่กิน แต่แพะยังกิน แพะชอบกินใบของไม้พุ่มมาก รองลงไปคือ หญ้าและถั่ว แพะจะเลือกกินใบและยอดอ่อนของพืชก่อน และจะไม่กินก้านหรือลำต้น

การจัดการเลี้ยงดูแพะในช่วงการเจริญเติบโตระยะต่าง ๆ มีการจัดการเลี้ยงดูที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติดังนี้

พ่อพันธุ์ ผู้เลี้ยงควรคัดเลือกแพะเมื่ออายุ 3 เดือน โดยเลือกตัวที่มีลักษณะดี แข็งแรงสมบูรณ์ และไม่มีอาการผิดปกติไว้เป็นพ่อพันธุ์ แล้วแยกเลี้ยงให้มีความสมบูรณ์ แต่จะต้องระวังไม่ให้อ้วนและให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แพะเพศผู้จะเริ่มแสดงอาการเป็นหนุ่มเมื่ออายุ 4 – 5 เดือน แต่จะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุมากกว่า 8 เดือน ช่วงใกล้ฤดูผสมพันธุ์ แพะเพศผู้จะปัสสาวะรดตัวเองโดยเฉพาะบริเวณท้องและอก ต่อมาพ่อแพะจะแสดงอาการม้วนปาก นอกจากนี้ต่อมกลิ่นที่ฐานเขาจะทำงานส่งกลิ่นเพศผู้ออกไป แพะสาวจะเริ่มเป็นสัดเมื่ออายุ 3–4 เดือน แต่ในช่วงนี้จะยังไม่ให้ผสมพันธุ์เพราะแพะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จะรอจนกว่าแพะมีอายุประมาณ 8–10 เดือน จึงจะจัดให้มีการผสมพันธุ์

ข้อพึงระวัง ->

ไม่ควรขุนแพะ โดยให้อาหารมากจนเกินไป จะทำให้เกิดปัญหากระเพาะไม่ทำงาน ถึงตายได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปัตตานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา