ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นายบรรจบ เพ็ชรแก้ว วันที่ : 2017-07-24-13:41:11

ที่อยู่ : 23/4หมู่ที่ 2ตำบลไพรวัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากประเทศไทยประสบกับปัญหาข้าวยากหมากแพง ทำให้ประชาชนหลายคนต้องมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบากแต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้คนไทยทุกคนนั้นหลุดพ้นจากความยากลำบากคือเศรษฐกิจพอเพียงคำว่า   “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงจัดตั้งโครงการขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่เดือดร้อน อาทิเช่น ของแพง ราคาสินค้าขึ้นราคา ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยต้องใช้จ่ายแบบประหยัด บางครั้งจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินก็อาจจะหมดไปและทำให้ไม่มีเงินเก็บออม จนประชาชนบางกลุ่มต้องเดือดร้อนเพราะรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย แต่ถ้าประชาชนชาวไทยรู้จักหันมาใช้จ่ายอย่างพอเพียง รู้จักเก็บออมมากขึ้น รู้จักการทำมาหากินที่สุจริต และดำรงชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกคนก็จะอยู่ภายใต้ความพอเพียงได้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ นายบรรจบ เพ็ชรแก้ว จึงได้เริ่มเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าและทำการเพาะมาเป็นเวลาสักระยะหนึ่ง เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง และเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้ง ทางภาครัฐที่ให้การสนับสนุน และดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด จนเกิดความชำนาญ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวเพิ่มขึ้น และที่สำคัญดูแลรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก 

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา อาหารเสริม

2.แม่เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ

3.ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 3/4 x 12 1/2 หรือ 8x12 นิ้ว

4.คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว

5.สำลี ยางรัด

6.ถึงนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน

7.โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย

         

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมวัสดุเพาะส่วนมากจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ หรือใช้ฟางข้าวก็ได้  ตามฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกในการหมักและผสมวัสดุจึงนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา  ซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก

อัตราส่วนในการผสมวัสดุอื่นๆ

               1.ขี้เลื่อย          100    กิโลกรัม

               2.รำละเอียด      6       กิโลกรัม

               3.ปูนขาว          1       กิโลกรัม

               4.ดีเกลือ           0.2    กิโลกรัม

               5.ยิปซัม           0.2    กิโลกรัม

               6.น้ำสะอาด       60-70 %

          วัสดุทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมได้เมื่อชั่งหรือตวงวัสดุทั้งหมดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน และหมั่นตรวจดูความชื้นบ่อยๆ เพื่อไม่ให้วัสดุเปียกแฉะจนเกินไป  ซึ่งจะทำให้มีผลในการทำให้เชื้อเห็ดไม่เดิน

          วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ
          นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น  ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมแล้วปรับความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้งเพิ่ม) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2-3 ส่วน ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวเป็นก้อน แสดงว่าแห้งไป ให้เติมน้ำเล็กน้อย

          ลักษณะเชื้อเห็ดที่ดี
          จะต้องไม่มีเชื้อราอื่นๆ เจือปน เช่น ราดำ ราเขียว ราส้ม ปนเปื้อน อยู่ในขวดเชื้อนั้น เพราะจะทำให้ถุงเพาะเชื้อเห็ดติดโรคราอื่นได้  โดยสังเกตเส้นใยของเชื้อเห็ดจะต้องมีเส้นใย สีขาวบริสุทธิ์และดินเต็มขวด

          วิธีการเพาะเห็ด

          1.บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อน  น้ำหนัก 8-10 ขีด กระแทกกับพื้นพอประมาณ และทุบให้แน่นพอประมาณ 2 ใน 3 ของถุง ใส่คอขวด รัดด้วยหนังยางจุกสำลี

          2.นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศาเซลเซียส  3 ชั่วโมง  แล้วนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด

ข้อพึงระวัง ->

1.หัวเชื้อควรเลือกหัวเชื้อที่เจริญเต็มเมล็ดธัญพืชใหม่ๆเพราะเชื้อในระยะนี้กำลังแข็งแรงและเจริญเติบโตรวดเร็ว

          2.สถานที่เขี่ยเชื้อเห็ดควรเขี่ยในห้องที่สะอาดและสามารถป้องกันลมได้เพื่อช่วยลดเชื้อปลอมปนทำให้เปอร์เซ็นต์ของก้อนเชื้อที่เสียต่ำลง

          3.ในการเขี่ยเชื้อเห็ด ควรใช้ลวดแข็งๆ เผาไฟให้ร้อน ในถึงก้อนเชื้อประมาณ 15-20 เมล็ดแล้วปิดด้วยจุกสำลี เพื่อฆ่าเชื้อ  แล้วกวนตีเมล็ดข้าวฟ่างให้ร่วน เพื่อสะดวกในการเทเมล็ดข้าวฟ่างลงในถึงก้อนเชื้อ

          4.การใส่หัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่างลงและหุ้มกระดาษไว้ตามเดิม

          5.นำก้อนที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วไปพักในห้องบ่มที่สะอาด ควรฉีดยาฆ่าแมลงไว้ที่พื้น

          6.บ่มก้อนเชื้อไว้ประมาณ 25-35 วัน แล้วย้ายโรงเปิดดอก

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา